เจค ซัลลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจค ซัลลี
ตัวละครใน อวตาร
ปรากฏครั้งแรกอวตาร (2009)
สร้างโดยเจมส์ แคเมรอน
แสดงโดยแซม เวิร์ธธิงตัน
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
นามแฝง
เผ่าพันธุ์
เพศชาย
ตำแหน่ง
  • สิบโท (อดีต)
  • โทรุกมักโต
  • โอโลเอทาน (อดีต)
อาชีพ
สังกัด
ครอบครัวทอม ซัลลี (พี่ชายฝาแฝด; เสียชีวิต)
คู่สมรสเนย์ทีรี
บุตร
  • เนเทยัม (ลูกชาย; เสียชีวิต)
  • โลอัค (ลูกชาย)
  • ไมลส์ "สไปเดอร์" โซคอร์โร (ลูกชายบุญธรรม)
  • ทู้คทีรีย์ "ทู้ค" (ลูกสาว)
  • คิรี (ลูกสาวบุญธรรม)
ญาติ
  • คามัน (ปู่ตา; เสียชีวิต)
  • เอทูคาน (พ่อตา; เสียชีวิต)
  • โมอาต (แม่ยาย)
  • ซิลวานิน (น้องสะใภ้; เสียชีวิต)
ดาวอาศัย

เจค ซัลลี (อังกฤษ: Jake Sully, ภาษานาวี: Tsyeyk Suli; /ซเยค ซูลี/) เป็นตัวละครสมมติและตัวเอกหลักในแฟรนไชส์ อวตาร ซึ่งสร้างโดยเจมส์ แคเมรอน แสดงโดย แซม เวิร์ธธิงตัน ในภาพยนตร์เรื่อง อวตาร (2009) และภาคต่อ อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ (2022) รวมถึงภาคต่อเตรียมเข้าฉายที่ยังไม่มีชื่อ ได้แก่ อวตาร 3, อวตาร 4, และ อวตาร 5

ประวัติงานสร้าง[แก้]

การคัดเลือกนักแสดง[แก้]

เจมส์ แคเมรอน ผู้กำกับภาพยนตร์ อวตาร เสนอบทนี้ให้กับ แมตต์ เดมอน พร้อมด้วยเงินส่วนแบ่งร้อยละ 10 จากผลกำไรของภาพยนตร์ แต่เดมอนปฏิเสธบทดังกล่าวเนื่องจากเขากำลังถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ปิดเกมล่าจารชน คนอันตราย (2007)[1] มีนักแสดงหนุ่มที่เป็นที่รู้จักหลายคน ประกอบด้วย คริส แพร็ตต์ และ คริส ไพน์ มาทดสอบการแสดง ในขณะเดียวกันทางสตูดิโอได้ติดต่อไปหา เจค จิลเลินฮาล เพื่อให้มาแสดงเป็นตัวละครนี้[2][3][4] จนในที่สุด นักแสดงสามคนสุดท้ายที่เข้ารอบคัดเลือกสำหรับบทบาท ประกอบด้วย แชนนิง เททัม, คริส อีแวนส์, และเวิร์ธธิงตัน ซึ่งสุดท้ายแคเมรอนก็ตัดสินใจเลือกเวิร์ธธิงตัน ตามบทสัมภาษณ์ของเขาที่ว่า:[5]

I really liked Channing's appeal. I liked Chris' appeal. They were both great guys. But Sam had a quality of voice and a quality of intensity. Everybody did about the same on all the material through the script, except for the final speech where he stands up and says, 'This is our land, ride now, go as fast as the wind can carry you.' That whole thing. I would have followed him into battle. And I wouldn't have followed the other guys. They've since gone onto fantastic careers and all that, but Sam was ready. He was ready.

เวิร์ธธิงตันซึ่งในเวลานั้นอยู่ในรถของเขา[6] ผ่านการทดสอบหน้ากล้องสองครั้งช่วงเริ่มต้นการพัฒนา[7]และเขาได้เซ็นสัญญาสำหรับภาคต่อถ้ามีการสร้าง[8] แคเมรอนรู้สึกว่าเพราะเวิร์ธธิงตันยังไม่เคยเล่นภาพยนตร์ใหญ่ ๆ มาก่อน ทำให้เขาสามารถทำให้ตัวละคร "มีลักษณะเป็นคนจริง ๆ" แคเมรอนยังพูดว่าเขา "มีลักษณะเป็นผู้ชายที่คุณต้องการดื่มเบียร์ด้วยและในที่สุดเขาก็กลายเป็นผู้นำที่เปลี่ยนแปลงโลก"[9]

กระแสตอบรับ[แก้]

เวิร์ธธิงตันได้รับรางวัลแซทเทิร์น สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม สำหรับการแสดงของเขาในบทซัลลี ที่งานประกาศผลรางวัลแซทเทิร์น ครั้งที่ 36[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Grater, Tom (July 9, 2021). "Matt Damon Talks Turning Down 'Avatar', Almost Directing 'Manchester By The Sea' & Diversity In His Films At Engaging Cannes Masterclass". Deadline Hollywood. สืบค้นเมื่อ February 26, 2022.
  2. Eisenberg, Eric. "Chris Pratt Auditioned For 'Star Trek' And 'Avatar' Before 'Guardians Of The Galaxy'". CinemaBlend. สืบค้นเมื่อ February 26, 2022.
  3. Oldenburg, Ann. "Chris Pine says he cries 'all the time'". USA Today. สืบค้นเมื่อ February 26, 2022.
  4. Wigler, Josh. "Jake Gyllenhaal Talks about Almost Being in 'Avatar'". MTV News. สืบค้นเมื่อ February 26, 2022.
  5. Travis, Ben (February 18, 2019). "Chris Evans And Channing Tatum Were Nearly Cast As Avatar's Jake Sully". Empire. สืบค้นเมื่อ February 26, 2022.
  6. Kevin Williamson. "Paraplegic role helps Worthington find his feet". lfpress.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2010. สืบค้นเมื่อ January 1, 2010.
  7. Jeff Jensen (January 10, 2007). "Great Expectations (page 2)". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17. สืบค้นเมื่อ January 17, 2010.
  8. "This week's cover: James Cameron reveals plans for an 'Avatar' sequel". Entertainment Weekly. January 14, 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 23, 2010. สืบค้นเมื่อ January 24, 2010.
  9. John Horn. "Faces to watch 2009: film, TV, music and Web". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 31, 2008. สืบค้นเมื่อ December 28, 2008.
  10. "Saturn Awards open Pandora's box". Variety. June 25, 2010. สืบค้นเมื่อ February 27, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]