เคนต์ฮัป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคนต์ฮัป ในไฮเออโรกลีฟ
Aa1
n
t
A53V28Aa5
p
B1

เคนต์ฮัป/เคเนต-ฮาปิ
ḫnt-Ḥp
นักดนตรีแห่งฮาปิ[1]

เคนต์ฮัป (หรือ เคเนต-ฮาปิ) สันนิษฐานว่าเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ ซึ่งกล่าวกันว่าพระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ ประวัติความเป็นมาของพระองค์นั้นคลุมเครือยังมาก เนื่องจากไม่ปรากฏแหล่งข้อมูลร่วมสมัยที่ปรากฏพระนามของพระองค์ โดยที่พระนามของพระองค์ปรากฏเพียงครั้งเดียวในจารึกในช่วงเวลาภายหลัง

หลักฐาน[แก้]

นักไอยคุปต์วิทยาและนักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงกันว่า พระนางเคนต์ฮัปทรงเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์หรือไม่ โดยตราประทับจากสุสานของราชวงศ์ที่หนึ่งในอไบดอสไม่เคยกล่าวถึงพระองค์ โดยพระองค์ปรากฏเฉพาะในจารึกบนศิลาปาแลร์โมเท่านั้น[2] ซึ่งเป็นจารึกที่ทำจากหินชีสต์สีดำที่แสดงรายพระนามของผู้กครองตั้งแต่ฟาโรห์นาร์เมอร์ (ราชวงศ์ที่หนึ่ง) จนถึงฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร (ราชวงศ์ที่หก) นอกจากนี้ ในศิลาปาแลร์โมยังระบุพระราชมารดาของฟาโรห์แต่ละพระองค์อีกด้วย[3] ซึ่งในจารึกปรากฏเพียงพระนามของพระองค์ แต่ไม่ได้บันทึกตำแหน่งใดๆ ของพระองค์ (ยกเว้นคำว่า "พระราชมารดา")[4]

พระราชประวัติ[แก้]

คำจารึกบนชิ้นส่วนศิลากรุงไคโรอธิบายว่าพระนางเคนต์ฮัปเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์ดเจอร์[5] จอยซ์ ทิลเดสลีย์เชื่อว่า พระนางเคนต์ฮัปเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ฮอร์-ฮอา และพระราชนัดดาของพระองค์คือฟาโรห์ดเจต เพราะเชื่อว่าฟาโรห์ดเจตเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ดเจอร์ (ผู้เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮอร์-ฮอา)[6] ส่วนซิลกี โรทกลับเชื่อว่า พระนางเคนต์ฮัปเป็นพระมเหสีของฟาโรห์เตติที่ 1 ซึ่งเป็นฟาโรห์ที่กล่าวถึงในบันทึกพระนามแห่งซักกอเราะฮ์และในบันทึกพระนามแห่งตูรินที่เขียนขึ้นในภายหลัง พระองค์ถูกอธิบายว่าทรงเป็นผู้ปกครองที่ครองบัลลังก์อียิปต์เพียง 1 ปี กับอีก 45 วัน[2]

พระนามของพระองค์มีความหมายว่า "นักดนตรีแห่ง(เทพเจ้า)ฮาปิ" ซึ่งอาจจะบ่งบอกถึงบทบาททางศาสนาและลัทธิบูชาของพระองค์ในช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์ พระนามของพระองค์ได้เชื่อมโยงกับเทพเจ้าและอาจจะเชื่อมโยงไปถึงตำแหน่งของผู้ปกครอง "โคแห่งพระราชมารดา"[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Silke Roth: Die Königsmütter des Alten Ägypten: von der Frühzeit bis zum Ende der 12. Dynastie. Harrassowitz, Wiesbaden 2001, ISBN 3-447-04368-7, p. 378.
  2. 2.0 2.1 2.2 Silke Roth: Die Königsmütter des Alten Ägypten: von der Frühzeit bis zum Ende der 12. Dynastie. Harrassowitz, Wiesbaden 2001, ISBN 3-447-04368-7, p. 16–18.
  3. Toby Wilkinson: Royal annals of ancient Egypt: the Palermo stone and its associated fragments. Kegan Paul International, London 2000, ISBN 0-7103-0667-9, p. 105.
  4. Wolfram Grajetski: Ancient Egyptian Queens: a hieroglyphic dictionary. Golden House Publications, London 2005, ISBN 0-9547218-9-6, p. 2.
  5. Aidan Dodson & Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, London 2004, ISBN 0-500-28857-7, p. 48.
  6. Joyce A. Tyldesley: Chronicle of the Queens of Egypt. Thames & Hudson, London 2006, ISBN 0-500-05145-3, p. 29.