เขาตัมโบรา
เขาตัมโบรา | |
---|---|
Tomboro | |
![]() ปล่องของเขาตัมโบรา | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 2,850 เมตร (9,350 ฟุต) [1] |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 2,722 เมตร (8,930 ฟุต) [1][2] |
พิกัด | 8°15′S 118°0′E / 8.250°S 118.000°E |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | Bima กับ Dompu Regencies, คาบสมุทรซังกัร, เกาะซุมบาวา, หมู่เกาะซุนดาน้อย, ประเทศอินโดนีเซีย |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | สมัยไพลสโตซีนตอนปลาย-ปัจจุบัน |
ประเภทภูเขา | Trachybasaltic-trachyandesitic กรวยภูเขาไฟสลับชั้น |
แนวโค้งภูเขาไฟ | Sunda Arc |
การปะทุครั้งล่าสุด | ค.ศ.1967[1] |
การพิชิต | |
เส้นทางง่ายสุด | ทางตะวันออกเฉียงใต้: Doro Mboha ทางตะวันตกเฉียงเหนือ: Pancasila |
เขาตัมโบรา (อินโดนีเซีย: Gunung Tambora) ตั้งอยู่บนเกาะซุมบาวา ประเทศอินโดนีเซีย มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,850 เมตร ภูเขาไฟลูกนี้ได้เคยระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1815 ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 71,000 คน และส่งผลกระทบไปยังทั่วทุกมุมโลก และเป็นต้นเหตุของปีที่ไร้ฤดูร้อนในปีค.ศ. 1815 ซึ่งเป็นปีที่อากาศในช่วงฤดูร้อนผิดจากปกติ ที่มีผลในการทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหารของยุโรปเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา[3] นานสองปี
การปะทุในปีค.ศ. 1815
[แก้]เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1815 เขาตัมโบราได้เกิดปะทุขึ้น โดยแรงปะทุนั้นทำให้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวได้ยินไกลไปถึง 850 กิโลเมตร ชาวบ้านได้รายงานว่า ต้นไม้บนเกาะล้มระเนระนาด และลาวาไหลนองท่วมพื้นบริเวณรอบภูเขาไฟ ทำให้ทุ่งนาถูกทำลาย และท้องฟ้าในบริเวณนั้นมืดมัว เพราะไร้แสงอาทิตย์นานถึง 2 วัน[4] การปะทุของเขาตัมโบราในครั้งนั้นได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดินฟ้าอากาศกับการระเบิดของภูเขาไฟดียิ่งขึ้น เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้รายงานว่า หลังจากที่เขาตัมโบราปะทุได้ไม่นานผิวโลกก็ได้รับแสงอาทิตย์น้อยลงถึงร้อยละ 20 และอุณหภูมิของอากาศในแถบซีกโลกเหนือได้ลดลงมาก เพราะในบรรยากาศเหนือโลกมีฝุ่น และละอองภูเขาไฟปะปนมากมาย ซึ่งเถ้าถ่านเหล่านี้ต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะตกสู่โลกหมด[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Tambora". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2017. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
- ↑ "Gunung Tambora". Peakbagger. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2007. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
- ↑ วันนี้ในอดีต การระเบิดของภูเขาไฟ Tambor[ลิงก์เสีย]. Singhasquare
- ↑ ภูเขาไฟ Tambora เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ปากเซ
- ↑ ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้า. "ภูเขาไฟ"[ลิงก์เสีย]. ราชบัณฑิตยสถาน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Indonesia Volcanoes and Volcanics". Cascades Volcano Observatory. USGS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-03. สืบค้นเมื่อ 2013-04-10.
- "Tambora, Sumbawa, Indonesia". Volcano World. Department of Geosciences at Oregon State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-17. สืบค้นเมื่อ 2013-04-10.
- "Informative website about Tambora volcano".