เขตเทคนิค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่นั่งสำหรับนักกีฬาตัวสำรองและพื้นที่ทางเทคนิคของสโมสรฟุตบอลเอาส์ทรีอาวีนระหว่างการแข่งเมื่อ ค.ศ. 2005

เขตเทคนิค (อังกฤษ: technical area) ในกีฬาฟุตบอลคือพื้นที่ที่ผู้จัดการ, ผู้ฝึกสอนคนอื่น ๆ และตัวสำรองได้รับอนุญาตให้ครอบครองในระหว่างการแข่ง[1]

เขตเทคนิคประกอบด้วยซุ้มม้านั่งสำรอง, ที่นั่งสำหรับนักกีฬาตัวสำรอง และโซนที่มีเครื่องหมายติดกับสนาม[1]

ประวัติ[แก้]

เส้นสีขาวกำหนดขีดจำกัดของเขตเทคนิคของแต่ละทีมที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดใน ค.ศ. 2009

สนามฟุตบอลแห่งแรกที่มีซุ้มม้านั่งสำรองคือสนามกีฬาพิตโตดรี อันเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลแอเบอร์ดีน ที่ซึ่งซุ้มม้านั่งสำรองได้รับการแนะนำโดยผู้ฝึกสอนชื่อโดนัลด์ โคลแมน ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ซึ่งเขาต้องการสถานที่สำหรับจดบันทึกและสังเกตผู้เล่นของเขา (โดยเฉพาะเท้าของพวกเขา จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ต่ำกว่าระดับสนามบางส่วน) โดยไม่ต้องเสียสละที่พักที่อัฒจันทร์เตรียมไว้ให้[2]

ส่วนพื้นที่ที่กำหนดไว้ของเขตเทคนิคได้รับการบัญญัติในส่วนหมายเหตุของกติกาฟุตบอลใน ค.ศ. 1993[1]

การดำเนินการ[แก้]

เขตเทคนิคจะถูกทำเครื่องหมายด้วยเส้นสีขาว ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันออกไป แต่จะต้อง "1 เมตร (1 หลา) ในแต่ละด้านของพื้นที่ที่นั่งที่กำหนด และขยายไปข้างหน้าเป็นระยะทาง 1 เมตร (1 หลา) จากเส้นข้าง" ตามกติกาฟุตบอล[1]

ผู้จัดการทีมจะต้องไม่ข้ามเส้นดังกล่าวระหว่างการแข่ง ซึ่งเป็นการจำกัดไม่ให้พวกเขาเข้าใกล้สนาม โดยใน ค.ศ. 1999 ทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติได้แต่งตั้งผู้ตัดสินที่ 4 ให้ดูแลการบังคับใช้กฎนี้ แม้ว่าบรรดาตัวสำรองอาจวอร์มอัปอยู่ข้างสนามก็ตาม[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 The Technical Area Laws of the Game, FIFA
  2. Bauckham, David (2003). Dugouts. New Holland Publishers (UK) Ltd. ISBN 1-84537-478-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]