เกจัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การแสดงเกจักที่ปูราลูฮูร์อูลูวาตู
แนวเพลงนาฏยกรรมพื้นถิ่น

เกจัก (อักษรโรมัน: Kecak, แม่แบบ:IPA-may; หรือสะกดว่า kechak, keyjak หรือในอินโดนีเซีย: tari kecakilolahhe) เป็นนาฏศิลป์ฮินดูแบบบาหลีพื้นถิ่นที่พัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1930 ในเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย นักแสดงหลักของเกจักเป็นผู้ชาย ส่วนการแสดงเกจักโดยผู้หญิงเพิ่งเริ่มมีในปี 2006 เป็นครั้งแรก[1] นาฏศิลป์นี้มีพื้นฐานมาจากเรื่องราวของรามายณะและตามธรรมเนียมแล้วจะแสดงในปูราและหมู่บ้าน[2]

การร่ายรำประกอบด้วยผู้แสดงที่อาจมากถึง 150 คน ล้อมวงเป็นวงกลม ร้องขานเสียง "จัก" ("chak") พร้อมทั้งขยับแขนกับขา การแสดงเป็นการแสดงถึงเหตุการณ์การสู้รบในรามายณะ ที่ซึ่งพวกลิงซึ่งนำโดยหนุมาน ไปช่วยพระรามต่อสู้กับทศกัณฑ์ เกจัก มีที่มาจากการร่ายรำ ซังฮียัง ที่ใช้ในการไล่วิญญาณชั่วร้าย[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Cultural Liberty Under Spotlight at Women Playwrights" เก็บถาวร 2012-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jakarta Post, 3 December 2006, accessed 13 August 2010
  2. "Kecak Dance - Indonesia Travel". www.indonesia.travel (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-26.
  3. Michel Picard (April 1990). "'Cultural Tourism' in Bali: Cultural Performances as Tourist Attraction, Indonesia" (Vol. 49 ed.). Southeast Asia Program Publications, Cornell University: 37–74. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)