ข้ามไปเนื้อหา

อ้อย กะท้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปรมสิณี เอียดเอื้อ
ชื่อเกิดวันทนีย์ เอียดเอื้อ
รู้จักในชื่ออ้อย
เกิด10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 (58 ปี)
ที่เกิดไทย อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ประเทศไทย
แนวเพลงเพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง
เครื่องดนตรีกีตาร์
ช่วงปีพ.ศ. 2522 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงรถไฟดนตรี (2542 - 2551)
อาร์สยาม (2552 - 2560)
ศิลปินอิสระ (2560-ปัจจุบัน)
อดีตสมาชิกอดีตสมาชิกวง สองวัย
อดีตสมาชิกวง กะท้อน
เว็บไซต์http://www.rsiamonline.com/

เปรมสิณี เอียดเอื้อ หรือ อ้อย วงกะท้อน เป็นนักร้องเพลงเพื่อชีวิต ที่มีชื่อเสียงในช่วงทศวรรษ 80-90 โดยมีชื่อเสียงจากเพลง สาวรำวง ในนาม วงกระท้อน และเพลง นึกเสียว่าสงสาร , สาวน้อยกลับบ้าน , เรารักกันไม่ได้ ในนามศิลปินเดี่ยว

ประวัติ

[แก้]

เปรมสิณี เอียดเอื้อ เดิมชื่อ วันทนีย์ เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ที่ตำบลหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เธอเริ่มเป็นนักร้องตั้งแต่เด็ก โดยมี น้าซู ระพินทร์ พุฒิชาติ ผู้ชักนำเข้าวงกะท้อน และ น้าต้อม กิตติพงษ์ ขันธการจน์ ผู้ชักนำเข้าสู่วงดนตรีในวัยเด็ก วง “สองวัย“ เป็นสมาชิกสโมสรผึ้งน้อย และเป็นสมาชิกวงสองวัยตั้งแต่รุ่นก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522 โดยมีพี่สาวชื่อ วันทนา เอียดเอื้อ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศุภิสรา เอียดเอื้อ) ร่วมวงด้วย [1] ต่อมาได้ร่วมงานกับระพินทร์ พุฒิชาติ และเศก ศักดิ์สิทธิ์ ในวงกะท้อน โดยทำหน้าที่ร้องนำหญิง

ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงคือเพลง "สาวรำวง" ซึ่งทำให้เธอได้การยอมรับว่าเป็นนักร้องหญิงในแนวเพื่อชีวิตชั้นนำของไทย

ปัจจุบัน อ้อย กะท้อน หันมาเป็นศิลปินเดี่ยวในแนวเพลงเพื่อชีวิต ได้รับรางวัลศิลปินเพื่อชีวิตหญิงยอดนิยม จากเวทีลูกทุ่งมหานคร[2] ผลงานที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "สาวน้อยกลับบ้าน" "น้ำตาและพรหมจรรย์" "นึกเสียว่าสงสาร"

อ้อย กะท้อน อาร์ สยาม เธอคือหนึ่งในศิลปินนักร้องระดับตำนานวงการเพลงเพื่อชีวิตแถวหน้าของเมืองไทย เจ้าของเพลงดัง “สาวรำวง”, “นึกเสียว่าสงสาร” ที่หลายคนรู้จักกันดี และเมื่อปี 2551 เธอก็คว้ารางวัลศิลปินเพื่อชีวิตหญิงยอดนิยม จาก อัลบั้ม “สาวน้อยกลับบ้าน” งานเพลงคุณภาพที่สะท้อนความเป็นจริงของสังคม

ภายใต้บ้านหลังใหม่ อาร์ สยาม กับการทำงานในอัลบั้ม “น้ำตาไม่ไหลคืน” ซึ่งอัลบั้มนี้เธอประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับจากแฟนเพลงทั่วประเทศ โดยเฉพาะเพลง “เรารักกันไม่ได้” ที่สามารถขึ้นชาร์ตอันดับต้น ๆ สถานีวิทยุทั่วประเทศ รวมถึงยังเป็นเพลงฮิตติดท็อปดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งอัลบั้มนี้ยังมีเพลงโดน ๆ หลายเพลงไม่ว่าจะเป็น น้ำตาไม่ไหลคืน, ผู้ชายผีเสื้อ, ดินห่างเท้า, เงาห่างตัว

ผลงาน

[แก้]
  • อัลบั้ม "สาวรำวง" (สังกัดรถไฟดนตรี)
  • อัลบั้ม "ละครชีวิต" (สังกัดรถไฟดนตรี)
  • อัลบั้ม "น้ำตาและพรหมจรรย์" (สังกัดรถไฟดนตรี)
  • อัลบั้ม "วาดคิด วาดหวัง" (สังกัดรถไฟดนตรี)
  • อัลบั้ม "รวมฮิต อ้อนกระท้อน" มีเพลงใหม่ 2 เพลง ทางผ่าน และเพลง สู้ต่อไป (สังกัดรถไฟดนตรี)
  • อัลบั้ม "สาวน้อยกลับบ้าน" (สังกัดรถไฟดนตรี)

ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • เพลง สาวรำวง
  • เพลง ริมน้ำน่าน
  • เพลง นึกเสียว่าสงสาร (เพลงที่สร้างชื่อให้กับอ้อย กะท้อน)
  • เพลง สาวน้อยกลับบ้าน
  • เพลง น้ำตาและพรหมจรรย์
  • เพลง รักทรมาน
  • เพลง ร้องไห้ทำไม
  • เพลง น้ำตาแม่ (ต้นฉบับของเคียส พันตา)
  • เพลง สองมือแม่
  • เพลง เรารักกันไม่ได้
  • เพลง ฉันอยู่คนเดียวไม่ได้

ชุดที่ 1 น้ำตาไม่ไหลคืน (27 สิงหาคม พ.ศ. 2552)

[แก้]
  1. เรารักกันไม่ได้
  2. อย่าร้องไห้
  3. หัวลำโพง
  4. น้ำตาท่วมฟ้า
  5. โลกนี้มีไว้เหยียบ
  6. ผู้ชายผีเสื้อ
  7. นักร้องอินเตอร์
  8. น้ำตาไม่ไหลคืน
  9. ดินห่างเท้า เงาห่างตัว
  10. น้ำค้างกับดอกไม้

อัลบั้มรวมเพลง

[แก้]

RS Best Collection ทรงกรด ฌา-มา - อ้อย กะท้อน (15 กันยายน พ.ศ. 2554)

[แก้]
  1. นางฟ้า ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  2. คนกระจอก ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  3. แฟนเราแย่งแฟนเขา ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  4. เรารักกันไม่ได้ ศิลปิน อ้อย กะท้อน
  5. น้ำตาไม่ไหลคืน ศิลปิน อ้อย กะท้อน
  6. ตามหาสาวนุ้ย ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  7. จนสิ้นลมหายใจ ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  8. อยากเป็นคนที่เธอต้องการ ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  9. ผู้ชายผีเสื้อ ศิลปิน อ้อย กะท้อน
  10. ดินห่างเท้า เงาห่างตัว ศิลปิน อ้อย กะท้อน
  11. เสือสิ้นลาย ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  12. บอกลาหน้าจอ ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  13. อย่าร้องไห้ ศิลปิน อ้อย กะท้อน
  14. เมียเผลอเจอกัน ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  15. เด็กเต้พ ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา
  16. งานเข้า ศิลปิน ทรงกรด ฌา-มา

ซิงเกิ้ล

[แก้]
  • เจ้าตัวน้อยของแม่ (2555)
  • ฉันอยู่คนเดียวไม่ได้ (2557)
  • สายฝนกับคนไกลบ้าน (2558)

อัลบั้มที่มีส่วนร่วม

[แก้]
  • เจ้าผีเสื้อเอย (วงสองวัย) (2522)
  • กระแตตื่นเช้า (วงสองวัย) (2524)
  • นาฬิกา (วงสองวัย) (2526)
  • กะท้อน # 1 (2529)
  • กะท้อน # 2 ลูกสาวชาวนา (2530)
  • กะท้อน # 3 ญี่ปุ่น ยุ่นปี่(เจแปน แจนเป) (2531)
  • กะท้อนเลือดบวก (2532)
  • กะท้อน A.T.M. (2533)
  • อิเล็กทริกกะท้อน หมายเลข 1 (2534)
  • กะท้อนพันธุ์ใหม่ : เซิ้งอำพัน (2537)

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล 10ปี อาร์สยาม เซ็นทรัล พระราม๒ (2554)
  • คอนเสิร์ต ลูกทุ่งเฟสติวัล ครั้งที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (2556)

รางวัล

[แก้]
  • เพลงเพื่อเยาวชนดีเด่นจากกระทรวงวัฒนธรรม
  • เพลงเพื่อชีวิตหญิงยอดนิยม จากคลื่น FM 95 ลูกทุ่งมหานคร ปี 2551

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สองวัย ผู้ใหญ่กับเด็กมาร้องเพลงด้วยกัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.
  2. ""อ้อย-กระท้อน"มากะเทาะมุมชีวิตศิลปินเพื่อชีวิตหญิงยอดนิยม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.