อเวจี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดูเพิ่มที่: นรก และ นรกภูมิ
อเวจี ตามคติญี่ปุ่น

อเวจี หรือ อวิจี (บาลี: อวีจิ; สันสกฤต: अवीचि) คือนรกขุมที่ลึกที่สุดในบรรดามหานรก 8 ขุมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก[1]

ตามรากศัพท์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต "อวีจิ" แปลว่า "ปราศจากคลื่น"หรือ"ไม่มีการหยุดพัก" (ลงโทษไม่มีการพัก) เป็นนรกขุมที่ต่ำที่สุดที่ผู้กระทำอนันตริยกรรมจะไปเกิด อนันตริยกรรมหรือครุกรรมที่ทำให้เกิดในนรกภูมินี้ ได้แก่

  1. มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
  2. ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
  3. อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
  4. โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
  5. สังฆเภท - ยุยงหมู่สงฆ์ให้แตกกัน

พระพุทธศาสนาสอนว่าการเกิดอยู่ในนรกภูมิก็เพียงชั่วเวลาที่สมควรแก่การชดใช้กรรมที่ได้กระทำลงไป การเกิดในอเวจีมหานรกก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ไปเกิดในภพภูมิดังกล่าวย่อมมีวันหลุดพ้นไปได้ อย่างไรก็ตามระยะเวลาการชดใช้กรรมในอเวจีมหานรกนั้นยาวนานกว่านรกภูมิอื่นๆ และอาจมากถึง 1018 ปี บางสูตรยังกล่าวว่าสัตว์นรกในภูมินี้อาจเวียนว่ายตายเกิดในอเวจีมหานรกอยู่มากมายหลายกัลป์ โดยเมื่อสิ้นกัลป์หนึ่งก็เกิดใหม่ในภูมิเดิมอยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อ 無間道 (Wújiàn dào) ในภาษาจีน ซึ่งแปลว่า เส้นทางที่ไม่สิ้นสุด

อ้างอิง[แก้]

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 12-6-52