นรกภูมิ
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
นรกภูมิ หรือเรียกโดยย่อว่า "นรก" (บาลี: निरय, นิรย; สันสกฤต: नरक, นรก; จีน: 那落迦, นาเหลาเจี๋ย; ญี่ปุ่น: 地獄, จิโกะกุ; พม่า: ငရဲ, งาเย; มลายู: neraka เนอรากา) คือ ดินแดนหนึ่งซึ่งตามศาสนาพุทธเชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดทันทีหรือถูกลงโทษตามคำพิพากษาของพระยม
ตามไตรภูมิพระร่วง นรกภูมิเป็นดินแดนหนึ่งในกามภพอันเป็นภพหนึ่งในภพทั้งสาม คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ รวมเรียกว่า "ไตรภพ" หรือ "ไตรภูมิ"
นรกของทางพุทธศาสนาต่างจากนรกของทางตะวันตกในสองประการ คือ สัตว์โลกมิได้ถูกส่งตัวไปเกิดและลงโทษในนรกภูมิตามคำพิพากษาของเทพ แต่เป็นเพราะบาปกรรมที่ตนได้กระทำเมื่อมีชีวิต และระยะเวลาถูกลงโทษในนรกนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ มิได้ชั่วกัปชั่วกัลป์เหมือนอย่างนรกของฝรั่ง กระนั้นก็นานเอาการอยู่ ซึ่งเมื่อพ้นโทษจากนรกแล้วจะได้กลับไปเกิดในโลกที่สูงขึ้นตามแต่กรรมดีที่ได้กระทำไว้หรือตามแต่ผลกรรมที่เหลืออยู่ แล้วแต่กรณี
ในไตรภูมิกถา
[แก้]ตามจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ นรกเป็นดินแดนหนึ่งซึ่งอยู่ใต้ชมพูทวีปหรือมนุษย์โลกลงไป และมี 9 ชั้นหรือที่เรียกว่า "ขุม" สำหรับลงทัณฑ์ต่างๆ แก่สัตว์บาปที่ไปเกิด ประกอบไปด้วยมหานรก 9 ขุม ยมโลก 360 ขุม อยู่รอบ 4 ทิศๆละ 10 ของมหานรกแต่ละขุม และ อุสสทนรก 128 ขุม อยู่รอบๆ 4 ทิศๆ ละ 4 ของมหานรกแต่ละขุม สัตว์นรกเมื่อถูกลง ทัณฑ์ทรมานแล้วก็จะเกิดขึ้นใหม่ถูกทรมานซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะหมดกรรม
นรกแต่ละขุม
[แก้]นรกภูมิแบ่งขุมนรกหลัก ๆ ได้เป็น 8 ขุม ดังนี้[1]
- สัญชีวมหานรก
- กาฬสุตตมหานรก
- สังฆาฏมหานรก
- โรรุวมหานรก
- มหาโรรุวมหานรก
- ตาปนมหานรก
- มหาตาปนมหานรก
- อเวจีมหานรก
อ้างอิง
[แก้]- สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 1. (2542). กรุงเทพ: กรมศิลปากร.
- สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 2. (2542). กรุงเทพ: กรมศิลปากร.
- สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับล้านนา. (2547). กรุงเทพ: กรมศิลปากร. (จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครบหกรอบ 12 สิงหาคม 2547).
- อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เทวทูตวรรคที่ ๔
- อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
- หนังสือ เปิดตำนานสวรรค์ของชาวพุทธโบราณ