อู่ต่อเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อู่เรือ)
โมนาโกมารีน
อู่ต่อเรือคอนสตันซา ประเทศโรมาเนีย
ตุรกุรีแพร์ยาร์ด ประเทศฟินแลนด์

อู่ต่อเรือ (อังกฤษ: shipyard) เรียกอีกอย่างว่า อู่เรือ (อังกฤษ: dockyard) เป็นสถานที่ที่สร้างและซ่อมแซมเรือกำปั่น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรือยอชท์, เรือทหาร, เรือท่องเที่ยว หรือเรือบรรทุกสินค้า หรือเรือโดยสารอื่น ๆ บางครั้งอู่เรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาและกิจกรรมการทำฐานมากกว่าอู่ต่อเรือ ซึ่งบางครั้งเกี่ยวข้องมากกว่ากับการเริ่มต้นก่อสร้าง คำศัพท์นี้ใช้สับเปลี่ยนกันได้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิวัฒนาการของอู่ต่อเรือและอู่เรือมักทำให้พวกมันเปลี่ยนหรือรวมบทบาท

ประเทศที่มีอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดใหญ่ ได้แก่ ออสเตรเลีย, บราซิล, จีน, โครเอเชีย, เดนมาร์ก, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, ไอร์แลนด์, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, นอร์เวย์, ฟิลิปปินส์, โปแลนด์, โรมาเนีย, รัสเซีย, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, สวีเดน, ไต้หวัน, ยูเครน, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ และเวียดนาม อุตสาหกรรมการต่อเรือนั้นมีการแยกส่วนในยุโรปมากกว่าในเอเชียที่ซึ่งประเทศต่าง ๆ มักจะมีบริษัทที่ใหญ่กว่า แต่จำนวนน้อยกว่า ส่วนเรือรบหลายลำได้รับการสร้างหรือบำรุงรักษาในที่อู่ต่อเรือเป็นเจ้าของ หรือดำเนินการโดยรัฐบาลแห่งชาติหรือกองทัพเรือ

อู่ต่อเรือสร้างขึ้นใกล้ทะเลหรือแม่น้ำที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเพื่อให้สามารถเข้าถึงเรือของพวกเขาได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งมีอู่ต่อเรือในแม่น้ำหลายสาย

สถานที่ตั้งของอู่ต่อเรือขนาดใหญ่จะมีปั้นจั่นเฉพาะทางจำนวนมาก, อู่แห้ง, ลาดกว้านเรือขึ้นลง, คลังสินค้าปลอดฝุ่น, เครื่องอำนวยความสะดวกในการทาสี และพื้นที่ขนาดใหญ่มากสำหรับการผลิตเรือ หลังจากช่วงชีวิตที่มีประโยชน์ของเรือได้สิ้นสุดลง มันก็จะทำการแล่นครั้งสุดท้ายไปยังลานทำลายเรือเก่า ซึ่งมักจะเกิดขึ้นที่หาดในเอเชียใต้ การต่อเรือในอดีตเกิดขึ้นที่อู่เแห้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ด้วยค่าจ้างที่สูงและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีผลต่อการเคลื่อนที่ของอุตสาหกรรมไปยังภูมิภาคที่กำลังพัฒนา

ประวัติ[แก้]

อู่ต่อเรือที่เก่าแก่ที่สุดในโลกได้รับการสร้างขึ้นในเมืองท่าฮารับปาของโลถล เมื่อประมาณศตวรรษที่ 26 ก่อนคริสตกาล ในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย[ต้องการอ้างอิง] อู่เรือโลถลเชื่อมต่อกับเส้นทางโบราณของแม่น้ำสาพรมตีบนเส้นทางการค้าระหว่างเมืองฮารับปาในแคว้นสินธ์ และคาบสมุทรเสาราษฏร เมื่อทะเลทรายกัจฉ์โดยรอบเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอาหรับ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Shipbuilding History – extensive collection of information about North American shipyards, including over 500 pages of US shipyard construction records
  • Shipyards United States – from GlobalSecurity.org