อุนเซ็ง
อุนเซ็ง 雲仙市 | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศาลาว่าการนครอุนเซ็ง | |||||||||||
![]() ที่ตั้งของอุนเซ็ง (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดนางาซากิ | |||||||||||
![]() | |||||||||||
พิกัด: 32°50′07″N 130°11′15″E / 32.83528°N 130.18750°E | |||||||||||
ประเทศ | ![]() | ||||||||||
ภูมิภาค | คีวชู | ||||||||||
จังหวัด | ![]() | ||||||||||
การปกครอง | |||||||||||
• ประเภท | เทศบาลนคร | ||||||||||
• นายกเทศมนตรี | ฮิเดซาบูโร คานาซาวะ (金澤 秀三郎; ตั้งแต่มกราคม ค.ศ. 2013) | ||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
• ทั้งหมด | 214.29 ตร.กม. (82.74 ตร.ไมล์) | ||||||||||
ประชากร (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024) | |||||||||||
• ทั้งหมด | 38,948 คน | ||||||||||
• ความหนาแน่น | 182 คน/ตร.กม. (470 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||
เขตเวลา | UTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 714 อูชิงูจิเมียว อาซูมะโจ นครอุนเซ็ง จังหวัดนางาซากิ 859-1107 | ||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 42213-4 | ||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||
|
อุนเซ็ง (ญี่ปุ่น: 雲仙市; โรมาจิ: Unzen-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 214.29 ตารางกิโลเมตร (82.74 ตารางไมล์) มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 ประมาณ 38,948 คน มีความหนาแน่นของประชากร 182 คนต่อตารางกิโลเมตร[1] ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรชิมาบาระ
ภูมิศาสตร์
[แก้]นครอุนเซ็งตั้งอยู่ในส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรชิมาบาระ ทิศตะวันออกติดกับทะเลอาริอาเกะ ทิศใต้ติดกับเขาอุนเซ็ง บางส่วนของเมืองอยู่ภายในเขตอุทยานแห่งชาติอุนเซ็ง-อามากูซะ
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]นครอุนเซ็งมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่อบอุ่นและฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกเล็กน้อยถึงไม่มีเลย อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในอุนเซ็งอยู่ที่ 16.6 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2,115 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 27.0 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ 6.7 °C[2]
ข้อมูลภูมิอากาศของเขาอุนเซ็ง, ค.ศ. 1991–2020 ค่าปกติ, ค่าสุดขีด ค.ศ. 1924–ปัจจุบัน | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 17.3 (63.1) |
18.2 (64.8) |
21.2 (70.2) |
25.3 (77.5) |
29.4 (84.9) |
31.0 (87.8) |
32.8 (91) |
33.2 (91.8) |
31.3 (88.3) |
27.6 (81.7) |
22.5 (72.5) |
18.6 (65.5) |
33.2 (91.8) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 6.1 (43) |
7.7 (45.9) |
11.2 (52.2) |
16.1 (61) |
20.5 (68.9) |
22.7 (72.9) |
25.8 (78.4) |
27.2 (81) |
24.5 (76.1) |
19.8 (67.6) |
14.2 (57.6) |
8.6 (47.5) |
17.03 (62.66) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 2.5 (36.5) |
3.6 (38.5) |
6.8 (44.2) |
11.5 (52.7) |
15.9 (60.6) |
19.2 (66.6) |
22.5 (72.5) |
23.3 (73.9) |
20.4 (68.7) |
15.3 (59.5) |
10.0 (50) |
4.7 (40.5) |
12.98 (55.36) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | -0.7 (30.7) |
-0.1 (31.8) |
2.8 (37) |
7.2 (45) |
11.6 (52.9) |
16.1 (61) |
20.0 (68) |
20.5 (68.9) |
17.1 (62.8) |
11.5 (52.7) |
6.3 (43.3) |
1.2 (34.2) |
9.46 (49.03) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -12.2 (10) |
-12.8 (9) |
-11.7 (10.9) |
-6.0 (21.2) |
1.3 (34.3) |
7.6 (45.7) |
13.0 (55.4) |
12.9 (55.2) |
8.1 (46.6) |
0.3 (32.5) |
-6.0 (21.2) |
-10.2 (13.6) |
−12.8 (9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 88.2 (3.472) |
129.2 (5.087) |
202.5 (7.972) |
253.3 (9.972) |
265.1 (10.437) |
575.4 (22.654) |
513.6 (20.22) |
314.4 (12.378) |
260.7 (10.264) |
132.8 (5.228) |
123.5 (4.862) |
103.1 (4.059) |
2,961.8 (116.606) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 12 (4.7) |
8 (3.1) |
2 (0.8) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
3 (1.2) |
25 (9.8) |
ความชื้นร้อยละ | 78 | 76 | 75 | 74 | 76 | 86 | 90 | 86 | 83 | 79 | 80 | 78 | 80.1 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 8.4 | 9.5 | 11.8 | 10.8 | 10.9 | 15.5 | 13.2 | 11.0 | 10.3 | 7.4 | 9.2 | 8.9 | 126.9 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 cm) | 3.0 | 2.6 | 0.9 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0.6 | 7.1 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 88.4 | 101.9 | 133.6 | 149.7 | 159.6 | 94.2 | 105.8 | 132.3 | 123.6 | 140.6 | 108.8 | 96.4 | 1,436.6 |
แหล่งที่มา 1: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[3] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[4] |
สถิติประชากร
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น จำนวนประชากรของนครอุนเซ็งแสดงไว้ดังต่อไปนี้
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1940 | 57,072 | — |
1950 | 75,561 | +32.4% |
1960 | 70,418 | −6.8% |
1970 | 61,901 | −12.1% |
1980 | 58,861 | −4.9% |
1990 | 55,408 | −5.9% |
2000 | 52,230 | −5.7% |
2010 | 47,245 | −9.5% |
2020 | 41,096 | −13.0% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]พื้นที่ที่เป็นอุนเซ็งในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นฮิเซ็ง ต่อมาในยุคเอโดะ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของอาณาเขตศักดินาชิมาบาระ หลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อมีการจัดตั้งระบบเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ ทาอิระ ฮิจิงูโระ โคจิโระ โคเบะ อิฟูกุ ไซโง โมริยามะ ยามาดะ ไอโนะ ชิจิวะ โอบามะ คิตากูชิยามะ และมินามิกูชิยามะ ภายในอำเภอนิมามิตากากิ จังหวัดนางาซากิ
- 1 เมษายน ค.ศ. 1924 - หมู่บ้านโอบามะ → เมืองโอบามะ
- 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1926 - หมู่บ้านโคเบะและหมู่บ้านอิฟูกุควบรวมกันเพื่อจัดตั้งหมู่บ้านไทโช
- 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1928 - หมู่บ้านชิจิวะ → เมืองชิจิวะ
- 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1937 - หมู่บ้านทาอิระ → เมืองทาอิระ
- 1 สิงหาคม ค.ศ. 1949 - หมู่บ้านไอโนะ → เมืองไอโนะ
- 1 เมษายน ค.ศ. 1954 - หมู่บ้านโมริยามะและหมู่บ้านยามาดะควบรวมกันเพื่อจัดตั้งหมู่บ้านอาซูมะ
- 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 - เมืองโอบามะและหมู่บ้านคิตากูชิยามะควบรวมกันเพื่อจัดตั้งเมืองโอบามะใหม่อีกครั้ง
- 1 กันยายน ค.ศ. 1956 - เมืองทาอิระและหมู่บ้านฮิจิงูโระควบรวมกันเพื่อจัดตั้งเมืองคูนิมิ
- 25 กันยายน ค.ศ. 1956 - หมู่บ้านไทโชและหมู่บ้านไซโงควบรวมกันเพื่อจัดตั้งหมู่บ้านมิซูโฮะ
- 22 มีนาคม ค.ศ. 1957 - หมู่บ้านโคจิโระควบรวมเข้ากับเมืองคูนิมิ
- 1 เมษายน ค.ศ. 1963 - หมู่บ้านอาซูมะ → เมืองอาซูมะ
- 1 เมษายน ค.ศ. 1969 - หมู่บ้านมิซูโฮะ → เมืองมิซูโฮะ, หมู่บ้านมินามิกูชิยามะ → เมืองมินามิกูชิยามะ
นครอุนเซ็งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2005 จากการรวมกันของเมืองไอโนะ อาซูมะ ชิจิวะ คูนิมิ มินามิกูชิยามะ มิซูโฮะ และโอบามะ (ทั้งหมดอยู่ในอำเภอมินามิตากากิ)[5][6]
การเมืองการปกครอง
[แก้]นครอุนเซ็งมีการบริหารในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานครเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งมีสมาชิก 19 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด นครอุนเซ็งเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดนางาซากิจำนวน 2 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครอุนเซ็งเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนางาซากิ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]นครอุนเซ็งเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจแบบผสมผสานระหว่างเกษตรกรรม การประมงเชิงพาณิชย์ และการท่องเที่ยว โดยมีรีสอร์ทน้ำพุร้อนหลายแห่งตั้งอยู่
การศึกษา
[แก้]นครอุนเซ็งมีโรงเรียนประถม 17 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 7 แห่งที่ดำเนินการโดยเทศบาลนครอุนเซ็ง และมีโรงเรียนมัธยมปลาย 2 แห่งที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดนางาซากิ
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]ทางหลวง
[แก้]สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น
[แก้]- สถานีรถไฟไอโนะ
- เขาอุนเซ็ง
- โอบามะอนเซ็ง - นักกวี โมกิจิ ไซโต ได้เขียนบทกวีเกี่ยวกับความงามของบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้
- อุนเซ็งอนเซ็ง
เทศกาล
[แก้]สวนทาจิยานะในย่านชิจิวะมีการจัดงานเทศกาลไฟคาโนกาเอ็งในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนมีนาคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สถิติทางการของนครอุนเซ็ง" (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ภูมิอากาศอุนเซ็ง: อุณหภูมิเฉลี่ย สภาพอากาศรายเดือน
- ↑ 観測史上1~10位の値(年間を通じての値). JMA. สืบค้นเมื่อ February 16, 2022.
- ↑ 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). JMA. สืบค้นเมื่อ February 16, 2022.
- ↑ "歴史". 雲仙市 (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-11-19. สืบค้นเมื่อ 2024-02-07.
その後の合併を経て昭和44年4月に国見町、瑞穂町、吾妻町、愛野町、千々石町、小浜町、南串山町の7町構成となり、平成17年10月11日に7町が対等合併し雲仙市となった。
- ↑ 住民基本台帳人口移動報告年報 [Annual Report on Population Movement in the Basic Resident Register] (ภาษาญี่ปุ่น). 総務庁統計局. 2005. p. 150.
Kunimi-cho, Mizuho-cho, Azuma-cho, Aino-machi, Chijiwa-cho, Obama-cho and Minamikushiyama-cho were incorporated into a newly established Unzen-shi as of October 11, 2005.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
(ในภาษาญี่ปุ่น)