อุนดัง-อุนดังเมอลากา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุนดัง-อุนดังเมอลากา ฉบับคัดลอก จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์หลวง กัวลาลัมดปอร์

อุนดัง-อุนดังเมอลากา (มลายู: Undang-Undang Melaka, اوندڠ٢ ملاک; แปลว่า กฎหมายมะละกา) มีอีกชื่อว่า ฮูกุมกานุนเมอลากา (Hukum Kanun Melaka) อุนดัง-อุนดังดารัตเมอลากา (Undang-Undang Darat Melaka) และ รีซาละฮ์ฮูกุมกานุน (Risalah Hukum Kanun)[1] เป็นประมวลกฎหมายประจำรัฐสุลต่านมะละกา (ค.ศ. 1400–1511) ซึ่งมีบทบัญญัติสำคัญที่ยืนยันความสำคัญของกฎหมายจารีตประเพณีมลายู หรือ อาดัต ในขณะเดียวกันก็รองรับและหลอมรวมเข้ากับหลักการอิสลาม ประมวลกฎหมายนี้เชื่อว่าทำการประมวลขึ้นแต่เดิมในรัชสมัยมูฮัมมัด ชะฮ์ (ค.ศ. 1424–1444) ก่อนที่สุลต่านสมัยต่อมาจะขยายและปรับปรุงเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง[2] ระบบความยุติธรรมในมะละกาที่ระบุใน อุนดัง-อุนดังเมอลากา เป็นกฎหมายจำแนกฉบับแรกที่มีการรวบรวมในโลกมลายู โดยกลายเป็นทรัพยากรทางกฎหมายสำหรับรัฐสุลต่านที่สำคัญอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ เช่น ยะโฮร์, เปรัก, บรูไน, ปาตานี และอาเจะฮ์[3] และได้รับการยกย่องว่าเป็นข้อมูลสรุปทางกฎหมายมลายูที่สำคัญที่สุด[4]

ประวัติ[แก้]

รายงานจาก เซอจาระฮ์เมอลายู มะละกามีระบบยุติธรรมรูปแบบแรกตั้งแต่ยุคแรก ๆ ผู้นำมะละกายุคแรกประกาศใช้ราชประเพณีและบังคับใช้ อาดัต และกฎทางศาสนาที่มีอยู่แล้ว เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม กฎเกณฑ์ ข้อห้าม และจารีตประเพณีทั้งหมดที่ได้รับการประมวลเป็นกฎหมาย มีการรวบรวมผ่านประเพณีมุขปาฐะและการจดจำโดยรัฐมนตรีอาวุโสของสุลต่าน[5] ในรัชสมัยมูฮัมมัด ชะฮ์ มีการออกกฎหมายและบันทึกพร้อมกับบทลงโทษสำหรับทุกความผิด[6] กฎสำคัญข้อหนึ่งที่กล่าวไว้ใน เซอจาระฮ์เมอลายู คือ ห้ามสวมเสื้อผ้าสีเหลืองและสวมสร้อยข้อเท้าทองคำ[7] บทสรุปทางกฎหมายของมูฮัมมัด ชะฮ์ได้รับการขัดเกลาเพิ่มเติมด้วยการรวมกฎหมายและข้อบังคับใหม่ภายใต้พระราชกระแสรับสั่งของมูซัฟฟาร์ ชะฮ์ (ค.ศ. 1445–1459) สุลต่านองค์ที่ห้า จากนั้นได้มีการขยายและปรับปรุงเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยมะฮ์มุด ชะฮ์ (ค.ศ. 1488–1511) สุลต่านองค์สุดท้าย[8]

เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของมรดกที่สำคัญของมะละกา ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากตลอดการดำรงอยู่ต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ทำให้ประมวลกฎหมายมะละกาได้รับการคัดลอกและนำไปเผยแพร่ยังรัฐสุลต่านอื่น ๆ เช่น ยะโฮร์, เปรัก, อาเจะฮ์, บรูไน และปาตานี โดยมีการอ้างอิงในการพัฒนาหลักนิติศาสตร์ท้องถิ่น แก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหาในภายหลัง เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานในรัฐสุลต่านโดยเฉพาะ[9] สิ่งนี้มีส่วนทำให้เกิดการมีอยู่ของสำเนาเอกสารตัวเขียนแบบผสมที่หลากหลายทั้งในโครงสร้างและเนื้อหาที่แตกต่างกัน โดยสรุปแล้ว มีเอกสารตัวเขียนอุนดัง-อุนดังเมอลากาเท่าที่รู้จักยังหลงเหลืออยู่ 50 ฉบับ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้เป็น; พื้นฐาน, อาเจะฮ์, ปาตานี, ยาว, อิสลามกับยะโฮร์ และชิ้นส่วนหรือฉบับสั้น[10]

เนื้อหา[แก้]

จากข้อมูล อุนดัง-อุนดังเมอลากา ฉบับตีพิมพ์ เนื้อหาในประมวลกฎหมายประกอบด้วยหกส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการเดินเรือ การแต่งงาน และการค้า โดย 6 ส่วนนั้น แบ่งได้ดังนี้:[11]

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Abd. Jalil Borham (2002), Pengantar Perundangan Islam (An Introduction to Islamic Legislature), Johor Bahru: Universiti Teknologi Malaysia press, ISBN 983-52-0276-1
  • Fauzia, Amelia (2013), Faith and the State: A History of Islamic Philanthropy in Indonesia, BRILL, ISBN 978-9004233973
  • Liaw, Yock Fang (2007), "Naskah Undang-Undang Melaka: Suatu Tinjauan (Manuscript of Undang-Undang Melaka: an overview)" (PDF), Sari, 25: 85–94
  • Ooi, Keat Gin (2004), Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, ABC-CLIO, ISBN 1-57607-770-5