อุทยานแห่งชาติจิตวัน
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อุทยานแห่งชาติจิตวัน * | |
---|---|
![]() | |
![]() อุทยานแห่งชาติจิตวัน | |
พิกัด | 27°30′53.1″N 84°26′59.5″E / 27.514750°N 84.449861°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 27°30′53.1″N 84°26′59.5″E / 27.514750°N 84.449861°E |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางธรรมชาติ |
เกณฑ์พิจารณา | (vii), (ix), (x) |
อ้างอิง | 284 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2527 (คณะกรรมการสมัยที่ 8) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
อุทยานแห่งชาติจิตวัน (เนปาล: चितवन राष्ट्रिय निकुञ्ज) เป็นอุทยานแห่งชาติอุทยานแรกของประเทศเนปาล ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาหิมาลัย เป็นบริเวณที่มีร่องรอยอารยธรรมของพื้นที่ที่ราบลุ่มต่ำตราอิ (Terai) ที่ยังไม่ถูกรบกวน สมัยก่อนพื้นที่ทอดยาวไปตามเชิงเขาของประเทศอินเดียและเนปาล เป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยพืชและสัตว์ประจำถิ่น ในอุทยานเป็นที่อยู่ของแรดนอเดียวพันธุ์เอเชีย และเป็นหนึ่งในที่อยู่อาศัยแห่งสุดท้ายของเสือเบงกอล
มรดกโลก[แก้]
อุทยานแห่งชาติจิตวันได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 8 เมื่อปี พ.ศ. 2527 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
- (vii) - เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
- (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
- (x) - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย
- อุทยานแห่งชาติจิตวัน