อิซาเบล เบงเก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิซาเบล เบงเก อิซกิเอร์โด

อิซาเบล เบงเก อิซกิเอร์โด (สเปน: Isabel Behncke Izquierdo) เป็นนักพฤติกรรมวิทยาภาคสนามที่ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์เพื่อทำความเข้าใจสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อทำความเข้าใจมนุษย์ และสถานที่ของพวกเราในธรรมชาติ[1] เธอมีพื้นเพมาจากประเทศชิลี โดยเป็นนักวานรวิทยา,[2] นักวิทยาศาสตร์นักผจญภัยผู้สำรวจ และเป็นชาวอเมริกาใต้คนแรกที่ติดตามลิงใหญ่ในป่า[3]

การศึกษา[แก้]

เบงเกสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิตด้านสัตววิทยาและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, ปรัชญามหาบัณฑิตด้านวิวัฒนาการของมนุษย์จากเคมบริดจ์ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตด้านมานุษยวิทยาวิวัฒนาการจากออกซฟอร์ด[1]

อาชีพ[แก้]

เธอได้เดินตามเหล่าโบโนโบป่า (Pan paniscus) มากกว่า 3,000 กม. ในป่าคองโก โดยปรัชญาดุษฎีบัณฑิตของเธอที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นของโบโนโบป่าซึ่งเป็นที่รู้จักดีต่อวงการวิทยาศาสตร์[4]

เบงเกใช้กล้องส่องวิวัฒนาการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ รวมถึงความท้าทายสมัยใหม่ที่มนุษยชาติและโลกต้องเผชิญ ความสนใจของเธอในการศึกษาการเล่นในเหล่าไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์คือการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับบทบาทของการเล่นในการพัฒนาของเราเอง เนื่องจากมนุษย์เป็นหนึ่งในไม่กี่สายพันธุ์ที่เล่นในวัยผู้ใหญ่ โดยสำหรับ ดร. เบงเก นั้น การเล่นเป็นรากฐานของความคิดสร้างสรรค์, ความผูกพันทางสังคม และการพัฒนาที่ดี[4]

ณ ค.ศ. 2019 เธอเป็นผู้ทำงานร่วมกันทางวิชาการของศูนย์วิจัยด้านความซับซ้อนทางสังคม (CICS) ในมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนา ที่ซันติอาโก ประเทศชิลี;[5] ภาคีสมาชิกของสถาบันกรูเตอร์ในบริเวณอ่าวเพื่อการวิจัยสหวิทยาการเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และสถาบัน ตลอดจนนักวิจัยแลกเปลี่ยนที่กลุ่มวิจัยวิวัฒนาการทางประสาทวิทยาศาสตร์สังคม (SNRG) ของโรบิน ดันบาร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

การอนุรักษ์ป่าไม้อบอุ่นไม่ผลัดใบ[แก้]

ในฐานะผู้อำนวยการมูลนิธิวีโล-วีโล เธอได้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการอนุรักษ์เอกชนที่เกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000[6] ซึ่งวีโล-วีโล เป็นพื้นที่สงวนและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อผลกำไรของเอกชนที่ 60,000 ตารางกิโลเมตรทางตอนใต้ของประเทศชิลี สำหรับงานนี้ เธออาศัยอยู่ในทุ่งนา (ค.ศ. 2001–2004) ใกล้ชายฝั่งทะเลสาบปีรีอวยโกทางตอนเหนือของปาตาโกเนียกับนกแก้วที่ชื่อตุก[7] โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบนิเวศ ซึ่งเบงเกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่เป็นผู้บุกเบิกการบูรณาการทางสังคมและระบบนิเวศ ผ่านการสร้างทางเดินที่มีความหลากหลายทางชีวภาพรวมถึงการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่[8] เธอทำงานร่วมกับองค์กรต่าง ๆ เช่น เซนดา ดาร์วิน และปาร์เกสปาราชิเล รวมทั้งมูลนิธิแพลเนตเฮอริเทจด้านการอนุรักษ์ป่าระดับนานาชาติ[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Isabel Behncke Izquierdo: About Isabel". TED. สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.
  2. "Museum of Curiosity - series 7 - episode 6". Radio Times. สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.
  3. "Isabel Behncke: Una aventurera que estudia el comportamiento humano - 10 Chilenos - Capítulos - Televisión Nacional de Chile". www.tvn.cl.
  4. 4.0 4.1 Behncke, Isabel (January 2015). "Play in the Peter Pan ape". Current Biology. 25 (1): R24–R27. doi:10.1016/j.cub.2014.11.020. PMID 25562296.
  5. "People". Centro de Investigación en Complejidad Social. Universidad del Desarrollo. สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.
  6. S.A.P, El Mercurio (22 March 2012). "Isabel Behncke: La chilena que estudia a los chimpancés para saber más de los humanos - Emol.com". Emol.
  7. "Suplemento". diario.elmercurio.com.
  8. Rozzi, Ricardo; Pickett, S.T.A; Palmer, Clare; Armesto, Juan J; Callicott, J. Baird, บ.ก. (2013). Linking Ecology and Ethics for a Changing World. doi:10.1007/978-94-007-7470-4. ISBN 978-94-007-7469-8. S2CID 23496601.[ต้องการเลขหน้า]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]