อิจิริกิชายะ

พิกัด: 35°00′13″N 135°46′30″E / 35.003496°N 135.775051°E / 35.003496; 135.775051
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางเข้าของอิจิริกิชายะ

35°00′13″N 135°46′30″E / 35.003496°N 135.775051°E / 35.003496; 135.775051

โรงน้ำชาอิจิริกิ หรือ อิจิริกิชายะ (ญี่ปุ่น: 一力茶屋โรมาจิIchiriki Chaya หรือชื่อเดิม แมนชั่นอิจิริกิ; ญี่ปุ่น: Ichiriki Mansionโรมาจิ一力亭ทับศัพท์: Ichiriki-tei) เป็นโอชายะ ("โรงน้ำชา") เก่าแก่ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่หัวมุมตะวันออกเฉียงใต้ของถนนชิโจ และถนนฮานามิ ในใจกลางย่านกิอง โรงน้ำชานี้ถือเป็นโรงน้ำชาหรูหราระดับสูง และจะสามารถเข้าไปได้ก็ต่อเมื่อได้รับคำเชิญเท่านั้น

อิจิริกิมีอายุมากกว่า 300 ปี และเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญขอบย่านกิองมาตั้งแต่ย่านนี้กลายเป็นแหล่งบันเทิงของเกียวโต เช่นเดียวกับโอชายะอื่น ๆ ในกิอง อิจิริกิถูกใช้งานสำหรับจัดงานเลี้ยงสังสรรค์โดยเกอิชา อิจิริกิดำเนินกิจการโดยตระกูลซุกิอุระ (ญี่ปุ่น: 杉浦โรมาจิSugiura)[1]

ในช่วงปลายของสมัยเอโดะ มีการวางแผนล้มล้างระบอบโชกุนขึ้นจากการพูดคุยลับ ๆ ที่อิจิริกิ ภายใต้การตบตาว่าเป็นแค่ค่ำคืนสังสรรค์กันกับมิตรสหาย[2]

สี่สิบเจ็ดโรนิน[แก้]

อิจิริกิมีส่วนอยู่ในเรื่องราวของศึกระกูลอะโก ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 และนักวิชาการบางส่วนเรียกขานว่าเป็น "ตำนานแห่งชาติ" ของญี่ปุ่น[3] ไดเมียวของกลุ่มซามูไรจำนวนหนึ่ง ได้ถูกบังคับให้กระทำเซ็ปปูกุ หลังจากบันดาลโทสะ ใช้ดาบทำร้ายคิระ โยชินากะ ข้าหลวงทรงอิทธิพลของโชกุนที่พระราชวังหลวงเกียวโต เมื่อซามูไรเหล่านี้สูญเสียเจ้านายไป จึงกลายเป็นโรนิน ในจำนวนนี้ 47 คนได้ซุ่มวางแผนการแก้แค้นเป็นเวลาสองปี

กลุ่มซามูไรโรนินนี้นำโดยโออิชิ คุราโนะซุเกะ (Oishi Kuranosuke) ผู้ซึ่งทราบว่าพวกของตนจะต้องถูกจับตามองถึงสัญญาณว่ากำลังวางแผนการล้างแค้นอยู่ กลุ่มโรนินจึงได้ส่งคุราโนะซุเกะไปยังเกียวโต และใช้เวลาหลายคืนอยู่ในอิจิริกิ จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วว่าเขาเป็นคนขี้เหล้าและติดการพนัน ทั้งหมดนี้เป็นแผนให้สายสืบของอีกฝั่งชะล่าใจ[4] ขณะที่คุราโนะซุเกะดูอ่อนแอและไม่น่าเป็นพิษเป็นภัย คิระจึงรู้สึกระแวงน้อยลงและท้ายที่สุดก็ผ่อนปรนมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีออก ท้ายที่สุด ด้วยการใช้อิจิริกิเป็นที่อำพรางการโจมตี คุราโนะซุเกะและกลุ่มโรนินสามารถสังหารโยชินากะได้สำเร็จ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องถูกบังคับให้ทำเซ็ปปูกุตนเองเช่นกัน

การเข้าถึง[แก้]

การเข้าใช้บริการอิจิริกิมีลักษณะกีดกันคนนอกอย่างมาก การจะเข้าเป็นผู้อุปถัมภ์ (patron) ได้จะต้องมีความสัมพันธ์อย่างบ้าคลั่ง (fierce ties) กับโรงน้ำชานี้ก่อน หลายครั้งเป็นความสัมพันธ์ที่มีมายาวนานหลายรุ่นอายุคน เฉพาะกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กับโรงน้ำชาและแขกของคนเหล่านี้เท่านั้น จึงจะได้รับอนุญาตให้เข้าไปภายในร้านได้[5]

มีช่วงสั้น ๆ ไม่กี่คืนในปี 2006 อิจิริกิและโอชายะอื่น ๆ อีกห้าแห่งในกิองเปิดให้นักท่องเที่ยวจำนวนจำกัดสามารถเข้าไปภายในได้โดยไม่ต้องเข้าไปกับผู้อุปถัมภ์ของโรงน้ำชา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการโปรโมตการท่องเที่ยวจากคำขอโดยสมาคมท่องเที่ยวนครเกียวโต (Kyoto City Tourist Association)[6]

การอ้างถึงในวัฒนธรรม[แก้]

  • อิจิริกิเป็นสถานที่สำคัญในการดำเนินเรื่องของนวนิยายเกี่ยวกับเกอิชาในกิอง Memoirs of a Geisha โดย อาร์เธอร์ โกลเดิน แม้ว่าเขาจะไม่เคยเข้าไปในโรงน้ำชาด้วยตนเองสักครั้ง[5]
  • อิจิริกิเป็นสถานที่สำคัญในการดำเนินเรื่องของละครคาบูกิ คานะเดฮง ชูชินกูระ ซึ่งเล่าเรื่องสี่สิบเจ็ดโรนิน[7][8]
  • ละครเรื่อง Ichiriki Teahouse เล่าเรื่องของการวางแผนกำจัดโชกุนที่เกิดขึ้นที่อิจิริกิ[9]
  • อดีตเกอิชา ซาโยะ มาซูดะ (Sayo Masuda) กบ่าวถึงอิจิริกิหลายครั้งในงานเขียน Autobiography of a Geisha[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 祇園一力亭 (Gion Ichiriki-tei) (in Japanese)
  2. Martin, John H., and Phyllis G. Martin. Kyoto: A Cultural Guide. North Clarendon: Tuttle, 2002.
  3. "Kanadehon". Columbia University.
  4. ""Ichiriki Ochaya." Japan Travel Guide. Ed. Declan Murphy. Hattori Foundation". www.yamasa.org. 8 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-08. สืบค้นเมื่อ 2023-01-09.
  5. 5.0 5.1 Burgess, Steve (13 June 2001). "The powder puff girls". Salon. สืบค้นเมื่อ 8 July 2008.
  6. "Exclusive Kyoto Teahouses Open Doors to Tourists." Yomiuri Shimbun [Tokyo] 30 Jan. 2006
  7. "ICHIRIKI TEAHOUSE". park.org.
  8. Bell, David. Chushingura and the Floating World: The Representation of Kanadehon Chushingura in Ukiyo-e Prints. New York: Rutledge, 2001.
  9. "Strock, Owen. Japanese Visual Culture. Middlebury U. 8 July 2008". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2023-01-09.
  10. Masuda, Sayo (2003). Autobiography of a Geisha. Columbia University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ichiriki Ochaya
  • 祇園一力亭 (Gion Ichiriki-tei – article shows pictures of interior, a private dance show, and the house's matchbox) (ในภาษาญี่ปุ่น)
  • Ichiriki Chaya Photo Gallery