ข้ามไปเนื้อหา

โรนิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิยาโมโตะ มุซาชิ (ในฐานะภาพตัวแทนของโรนิง) กำลังต่อสู้กับสัตว์ประหลาดนึเอะ

โรนิน (ญี่ปุ่น: 浪人โรมาจิrōnin) คือชื่อเรียกของซามูไร ที่ไร้สังกัดในช่วงสมัยการปกครองระบบขุนนางของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 1728พ.ศ. 2411) เหตุที่ทำให้ซามูไรเหล่านี้กลายเป็นโรนิน มาจากการที่เจ้านายของพวกเขาล่มสลาย หรือสูญเสียความนิยมหรือสิทธิพิเศษไป เมื่อซามูไรไร้ผู้ที่เป็นเจ้านายของตนแล้ว เขาก็จะมิใช่ซามูไรอีกต่อไป เพราะคำว่า ซามูไร มีที่มาจากคำกริยาที่ว่า "ซาบุเรา" ซึ่งแปลว่า รับใช้ ความหมายของซามูไรจึงแปลว่า ผู้รับใช้ เมื่อไม่มีเจ้านาย พวกเขาก็ไม่ใช่ผู้รับใช้อีก

ความหมายตามตัวอักษรของคำว่า โรนิง คือ “คนคลื่น” ซึ่งหมายถึงคนที่ถูกเหวี่ยงไปมาโดยคลื่นในทะเล โดยช่วงเวลาของพวกเขาเริ่มต้นขึ้นในสมัยนาระและเฮอัง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กล่าวถึงข้าแผ่นดินหลาย ๆ คนที่หนีทัพออกมาจากเขตปกครองของเจ้านายตนเอง รวมไปถึงซามูไรที่สูญเสียเจ้านายของตนไปในสงครามด้วย

ประวัติ โรนิน

[แก้]

ในช่วงสมัยเอโดะ โชกุนได้ริบเอาที่ดินของไดเมียว (ผู้เป็นเจ้านายของเหล่าซามูไร) หลาย ๆ คนไป มีผลให้ซามูไรไร้เจ้านายและกลายเป็นโรนิน จำนวนของโรนินในยุคนี้จึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งในยุคสมัยต่อมา เหล่าซามูไรเริ่มที่จะเปลี่ยนเจ้านาย รวมไปถึงเปลี่ยนสายอาชีพของตนได้ง่ายขึ้น และยังสามารถแต่งงานข้ามชนชั้นได้อีกด้วย แต่ระหว่างสมัยเอโดะ การกระทำเหล่านี้ของซามูไรเป็นสิ่งที่ถูกจำกัด และยังถูกสั่งห้ามไม่ให้สวามิภักดิ์ต่อเจ้านายคนอื่นถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้านายคนปัจจุบัน รวมไปถึงซามูไรชั้นล่างหลาย ๆ คน ที่มักจะยากจนและไม่มีทางเลือก ก็ถูกบังคับให้ลาออกหรือหนีจากเจ้านายของพวกเขาเอง

ในจำนวนของโรนินที่มีชื่อเสียง มิยาโมโตะ มุซาชิ นักดาบอันโด่งดังผู้มุ่งตามหาวิถีแห่งดาบ และกลุ่มโรนิงทั้งสี่สิบเจ็ด ก็เป็น 2 ชื่อที่อยู่ในจำนวนเหล่านั้นด้วย

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเป็นโรนิงถือเป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียง ต่ำต้อย และเป็นเป้าให้ผู้อื่นเย้ยหยัน เนื่องจากว่าพวกเขาจะไม่มีฐานะและอำนาจอย่างซามูไรที่มีเจ้านาย และที่สำคัญพวกเขาจะต้องใช้ชีวิตอย่างไร้ค่าจ้างหรือค่าแรงอีกด้วย เพราะฉะนั้นการได้เป็นโรนิงจึงเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนานักในหมู่นักดาบญี่ปุ่นสมัยนั้น

หลักฐานชิ้นหนี่งที่ยืนยันความรู้สึกต่ำต้อยของซามูไรที่ต้องกลายเป็นโรนิงได้อย่างดี คือบทบันทึกของลอร์ด เรเดสเดล ถึงโรนิงผู้หนึ่งที่ได้ฆ่าตัวตาย ณ สุสานแห่งกลุ่มโรนิงทั้งสี่สิบเจ็ด โดยโรนิงผู้นั้นได้ทิ้งข้อความเอาไว้ว่า เขาเกลียดการเป็นโรนิงและต้องการที่จะเป็นผู้รับใช้ของท่านไดเมียวแห่งโจชือเพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่เมื่อเขาพยายามเข้าไปสวามิภักดิ์ก็กลับถูกปฏิเสธออกมา ทำให้เขาตัดสินใจฆ่าตัวตายในที่สุด

โรนินในบันเทิงคดี

[แก้]
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง เดอะเซเว็นซามูไร (เจ็ดเซียนซามูไร)

บทบาทของโรนิงในงานบันเทิงที่แต่งขึ้นมาหลาย ๆ งาน มักจะถูกแสดงรูปลักษณ์ออกมาในฐานะของโยญิมโบ หรือนักสู้รับจ้าง อย่างในภาพยนตร์เรื่อง เดอะเซเว็นซามูไร (เจ็ดเซียนซามูไร) และ โยจิมโบ ของอากิระ คูโรซาวะ ก็เป็นตัวอย่างของจิไดเงกิ (ภาพยนตร์ย้อนยุคของญี่ปุ่น) ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่ามีโรนิงส่วนประกอบหลัก ส่วนเรื่องแต่งเรื่องอื่น ๆ อีกกว่าพันเรื่องของญี่ปุ่น ก็มักจะตั้งบริบทเวลาเอาไว้ในสมัยเอโดะ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับช่วงที่จำนวนโรนิงเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีโรนิงเป็นตัวละครอยู่ด้วยเสมอ

ในวงการภาพยนตร์ตะวันตก บทบาทของโรนิงก็เข้าไปมีอิทธิพลอยู่ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง แมนวิธโนเนม ของ คลินท์ อีสท์วูด ตัวเอกของเรื่องก็มีบทบาทที่ใกล้เคียงกับบทบาทของโรนิง หรือเรื่อง เดอะแมกนิฟิเซนท์เซเว็น (7 สิงห์แดนเสือ) หรือเดอะ เซเว็น ซามูไร ที่นำมาสร้างใหม่ในแบบของตะวันตก ก็มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับคาวบอยพเนจรเจ็ดคนที่ถูกว่าจ้างให้ไปปกป้องเมืองจากกลุ่มโจรผู้ร้าย

นอกจากนั้น โรนิงยังได้ปรากฏตัวอยู่ในสื่ออื่น ๆ เช่น

ดูเพิ่ม

[แก้]