อิกกิ (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิกกิ
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เคดของอิกกิ
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เคด
ผู้พัฒนาโทเซะ
ผู้จัดจำหน่ายซันซอฟต์
ออกแบบมร. "เค"[1]
เครื่องเล่นอาร์เคด, แฟมิคอม
วางจำหน่ายอาร์เคด: ค.ศ. 1985
แฟมิคอม: 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985
แนวแอ็กชัน
รูปแบบ
  • ผู้เล่น 1–2 คน (อิกกิ)
  • ผู้เล่น 1–12 คน (อิกกิออนไลน์)

อิกกิ (ญี่ปุ่น: いっき; แปลตรงตัวคือ "การจลาจล", "การกบฏ" หรือ "การต่อต้าน") เป็นเกมอาร์เคดที่เปิดตัวครั้งแรกโดยบริษัทซันซอฟต์ใน ค.ศ. 1985 เกมดังกล่าววางจำหน่ายสำหรับแฟมิคอม (นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน และเป็นเกมแอ็กชันเลื่อนหลายทิศทางซึ่งมีองค์ประกอบบางอย่างของเกมยิงมุมมองจากบนลงล่าง เกมนี้เป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่นในชื่อบูมเมอแรง (อังกฤษ: Boomerang) และฟาร์เมอส์รีเบลเลียน (อังกฤษ: Farmers Rebellion) โดยตัวละครหลักอย่างกนเบะ ได้ปรากฏตัวเป็นตัวละครรับเชิญในแอตแลนติสโนะนาโซะ ซึ่งเป็นอีกเกมหนึ่งของซันซอฟต์

เกมดังกล่าวได้รับการเผยแพร่อีกครั้งโดยเป็นส่วนหนึ่งของเกมรวมหลายชุด เวอร์ชันโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2003 ตลอดจนเวอร์ชันทำใหม่อย่างอิกกิโมบายล์ (ญี่ปุ่น: いっき萌バイル; โรมาจิ: ikki mobairu) ได้เปิดตัวผ่านเครือข่ายซอฟต์แบงก์โมบายล์ และอีซีเว็บในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 ส่วนการคืนชีพของเกมนี้ในชื่ออิกกิยูไนต์ (อักษรโรมัน: Ikki Unite) มีกำหนดวางจำหน่ายใน ค.ศ. 2022

รูปแบบการเล่น[แก้]

เกมดังกล่าวมีฉากอยู่ในญี่ปุ่นสมัยกลาง ที่ซึ่งหมู่บ้านเกษตรกรรมยากจนแห่งหนึ่งกำลังวางแผนก่อจลาจลเพื่อโค่นล้มเจ้าเหนือศักดินาของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมในการประท้วงมีเพียงตัวละครของผู้เล่นคือกนเบะ (ญี่ปุ่น: ごんべ) และตัวละครเสริมสำหรับผู้เล่นคนที่สองคือทาโงะ (ญี่ปุ่น: 田吾) โดยผู้เล่นต้องต่อสู้กับกองทัพนินจาแทนที่จะเป็นซามูไรและทหารเดินเท้า เกมดังกล่าวแสดงข้อความในแนวตั้ง ซึ่งถือว่าฉีกแนวมากสำหรับเกมในยุคนั้น และข้อความในเกมทั้งหมดใช้คำพูดที่ชวนให้นึกถึงภาพยนตร์จิไดเงกิ

ภาพจับหน้าจอชองเวอร์ชันอาร์เคด

การเคลื่อนไหวของตัวละครถูกควบคุมด้วยจอยสติก 8 ทิศทาง และการกดปุ่มหนึ่งเดียวจะทำให้ผู้เล่นโจมตีด้วยการขว้างเคียว ผู้เล่นไม่สามารถกำหนดทิศทางในการขว้างเคียวได้ และอาวุธจะพุ่งเข้าหาศัตรูที่ใกล้ที่สุดโดยอัตโนมัติ สิ่งนี้บังคับให้เน้นการหลีกเลี่ยงการโจมตีมากกว่าการโจมตีอย่างอุกอาจ ส่วนทางด้านขวาของหน้าจอจะแสดงคะแนนของผู้เล่นพร้อมกับแผนที่ของด่าน ซึ่งตำแหน่งของเหรียญโคบังจะแสดงบนแผนที่นี้ แต่ผู้เล่นจะต้องหลีกเลี่ยงกำแพงและอุปสรรคอื่น ๆ เพื่อไปยังตำแหน่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม แผนที่นี้ไม่รวมอยู่ในเกมเวอร์ชันแฟมิคอม

ตัวละครที่เป็นศัตรู ได้แก่ นินจาดำหรือแดง, นินจาปาระเบิด และหมูป่า (ศัตรูเหล่านี้บางตัวไม่ปรากฏในเวอร์ชันแฟมิคอม) ซึ่งนินจาแดงเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าตัวละครอื่น ๆ ทั้งหมดและโจมตีได้ยากกว่า แต่ได้คะแนนสองเท่า ผู้เล่นเสียชีวิตเมื่อโดนตัวละครศัตรูหรือโพรเจกไทล์ เกมจะจบลงเมื่อผู้เล่นสูญเสียโดยไม่มีชีวิตเหลืออยู่ ส่วนผี (หรือโยไก) จะปรากฏตัวในบางโอกาส และผู้เล่นจะไม่สามารถโยนเคียวของตนได้หากสัมผัสกับมัน เอฟเฟกต์ของผีจะสลายไปหากผู้เล่นสัมผัสรูปปั้นจิโซหรือโคไมนุซึ่งปรากฏอยู่ในบางด่าน ตลอดจนนางรับใช้วิตถารอาจปรากฏตัวในบางด่าน และการสัมผัสกับนางรับใช้ผู้นี้จะทำให้ผู้เล่นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ในระยะเวลาสั้น ๆ แม้ว่าผู้เล่นจะยังสามารถโจมตีด้วยเคียวได้ในสภาพนี้ แต่ก็ไม่สามารถหลบโพรเจกไทล์ของศัตรูได้ ทำให้ยากต่อการรุดหน้า อย่างไรก็ตาม ตัวละครหญิงรับใช้ไม่ปรากฏในเวอร์ชันโทรศัพท์มือถือของไอ-แอปพลิ

การตอบรับ[แก้]

จุง มิอูระ ผู้ทดสอบความชาวญี่ปุ่นเป็นผู้บัญญัติศัพท์คำว่าคูโซเง (ญี่ปุ่น: クソゲー; แปลตรงตัวคือ "เกมอึ") หลังจากเล่นอิกกิเวอร์ชันแฟมิคอม[2] เกมนี้ยังคงขายได้ดีพอสมควรและเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของบริษัทซันซอฟต์ในเวลานั้น โดยนิตยสารเกมแมชชีนฉบับวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1985 ระบุว่าอิกกิเป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมสูงสุดอันดับสิบในขณะนั้น[3]

สิ่งสืบทอด[แก้]

อิกกิยูไนต์[แก้]

การคืนชีพของเกมนี้ในชื่ออิกกิยูไนต์มีกำหนดการวางจำหน่ายสำหรับระบบไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ใน ค.ศ. 2022[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "『いっき』とは本来どんなゲームだったのか?【35年目の真実】".
  2. クソゲー探訪 (ในภาษาญี่ปุ่น)
  3. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 266. Amusement Press, Inc. 15 August 1985. p. 21.
  4. "SUNSOFT announces 16-player roguelike action game Ikki Unite for PC". Gematsu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-17.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]