อามาบิเอะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อามาบิเอะ ภาพพิมพ์ไม้ ปลายสมัยเอโดะ ปีโคกะที่ 3 (ค.ศ. 1846)

อามาบิเอะ (ญี่ปุ่น: アマビエโรมาจิAmabie) เป็นนางเงือกหรือนายเงือกในตำนานญี่ปุ่นที่มีปากคล้ายจะงอยปากนก และมีสามขา หรือหางครีบปลา ซึ่งโพล่จากทะเล ให้คำพยากรณ์ทั้งการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์หรือโรคระบาดทั่ว และสอนผู้คนให้คัดลอกภาพของมันเพื่อป้องกันจากโรคภัย

ตำนาน[แก้]

รายงานจากตำนาน อามาบิเอะ ปรากฎตัวที่จังหวัดฮิโงะ (จังหวัดคูมาโมโตะ) ประมาณช่วงกลางเดือนที่ 4 ปีโคกะที่ 3 (กลางเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1846) ในสมัยเอโดะ มีวัตถุเรืองแสงในทะเลเป็นประจำเกือบทุกคืน เจ้าหน้าที่เมืองได้ไปที่ชายฝั่งเพื่อสอบสวนและพบเห็น อามาบิเอะ จากภาพร่างของเจ้าหน้าที่ มันมีผมยาว ปากคล้ายจะงอยปากนก มีเกล็ดปกคลุมตั้งแต่คอลงมา และมีสามขา เจ้าหน้าที่กล่าวต่อว่า มันบอกว่าตนคือ อามาบิเอะ และบอกเขาว่ามันอาศัยอยู่ในทะเลเปิด โดยมาเพื่อบอกคำพยากรณ์ว่า: "จะมีการเก็บเกี่ยวที่ดีใน 6 ปีจากปีปัจจุบัน;[a] ถ้ามีการแพร่ระบาดของโรค จงวาดรูปฉันและแสดงภาพของฉันให้ใครก็ตามที่ป่วย" หลังจากนั้นก็กลับลงไปในทะเล เรื่องราวนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงใน คาวาราบัง [ja] (บล็อกพิมพ์กระดานข่าว) และนี่คือเรื่องราวที่เผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น[1][2][3]

โควิด-19[แก้]

โปสเตอร์ หยุด! คันเซ็นคากูได – โควิด-19 โดยกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น[4]

ในระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 อามาบิเอะกลายเป็นหัวข้อยอดนิยมในทวิตเตอร์ประเทศญี่ปุ่น ศิลปินมังงะ (เช่น ชิกะ อูมิโนะ, มาริ โอกาซากิ และโทชินาโอะ อาโอกิ) เผยแพร่ภาพอามาบิเอะแบบการ์ตูนลงในสื่อสังคม[5] กล่าวกันว่า บัญชีทวิตเตอร์ของโอโรจิ โดะ ร้านศิลปะด้านม้วนภาพของ โยไก เป็นบัญชีแรกที่ทวีต "มาตรการรับมือโคโรนาไวรัสใหม่" ในปลายกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020[6] บัญชีบอตของทวิตเตอร์ (amabie14) ได้รวบรวมภาพอามาบิเอะตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 เป็นต้นมา[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Murakami (2000) อ่านเป็น "6 เดือนจากปีปัจจุบัน (当年より六ヶ月)" (กล่าวใน Nagano (2005), p. 4) แต่ฉบับพิมพ์ของ Nagano (2005), p. 25 ประโยคนี้เขียนและอ่านเป็น "6 ปีจากปีปัจจุบัน (當年より六ヶ年)".

อ้างอิง[แก้]

  1. Nagano (2005), pp. 24, 4–6.
  2. Yumoto, Kōichi (2005). Nihon genjū zusetsu 日本幻獣図説 [Japan imaginary beasts illustrated] (ภาษาญี่ปุ่น). Kawaide Shobo. pp. 71–88. ISBN 978-4-309-22431-2.{{cite book}}: CS1 maint: ref duplicates default (ลิงก์)
  3. Iwama, Riki (5 June 2020). "Amabie no shōtai wo otte (1): sugata mita mono, shi wo nogare rareru amabiko no hakken / Fukui" アマビエの正体を追って/1 姿見た者、死を逃れられる 海彦の発見 [In pursuit of amabie's identity (1): those who've seen its likeness eludes death..]. 毎日新聞.
  4. 厚生労働省『STOP! 感染拡大――COVID-19』2020年。
  5. "Plague-predicting Japanese folklore creature resurfaces amid coronavirus chaos".
  6. Alt, Matt (9 April 2020). "From Japan, a Mascot for the Pandemic". New Yorker. New York. สืบค้นเมื่อ 9 April 2020.
  7. https://www.npr.org/sections/coronavirus-live-updates/2020/04/22/838323775/in-japan-mythical-amabie-emerges-from-19th-century-folklore-to-fight-covid-19

บรรณานุกรม[แก้]