นิงเงียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางเงือกญี่ปุ่น ( นิงเงียว )
แต่งทรงผมด้วยนิฮงงามิในสมัยเอโดะ
― ซันโต เคียวเด็ง ฮาโกอิริ มูซูเมะ เม็นยะ นิงเงียว (ค.ศ. 1791)[1]

นิงเงียว (ญี่ปุ่น: 人魚โรมาจิNingyo; "ปลามนุษย์") เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายปลาจากนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น แม้ว่าบางครั้งมีการแปลคำนี้เป็น "นางเงือก" แต่ตามหลักแล้วคำนี้ไม่เจาะจงเพศและอาจรวมถึง "เงือกชาย" ด้วย จึงมีการแปลตรงตามความหมายว่า "ปลามนุษย์" ด้วย

ตำนานที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเนื้อนิงเงียว คือการที่กินเนื้อของนิงเงียวแล้วจะทำให้เป็นอมตะดังในตำนานของแม่ชียาโอบิกูนิ [ja]

ภาพรวม[แก้]

"' นิงเงียว โนะ ซุ ": ภาพพิมพ์แกะไม้ลงวันที่วาดเป็นเดือน 5 ของรัชศกบุนกะปีที่ 2 (ค.ศ. 1805) [2] [3]

บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของนิงเงียวที่ยืนยันในแหล่งข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรของญี่ปุ่นระบุว่าเป็นสิ่งมีชีวิตน้ำจืดที่กล่าวกันว่ามีการจับได้ในศตวรรษที่ 7 ซึ่งบันทึกไว้ในนิฮงโชกิ[a] แต่บันทึกในสมัยต่อมามักระบุว่าเป็นสิ่งมีชีวิตในทะเล[5][b]

เนื้อของนิงเงียวมีรสชาติดี และจากตำนานของแม่ชียาโอบิกูนิทำให้เชื่อว่าถ้าได้กินเนื้อของนิงเงียวจะทำให้มีอายุยืนยาวถึง 1,000 ปี อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าการจับนิงเงียวจะนำมาซึ่งพายุและความโชคร้าย ชาวประมงที่นิงเงียวเหล่านี้ได้จึงมักจะถูกบอกให้โยนพวกนิงเงียวกลับสู่ทะเล นิงเงียวที่ถูกคลื่นซัดมาที่ชายหาดเป็นลางบอกเหตุของสงครามหรือภัยพิบัติ

ตำนานอมตะเกี่ยวกับนิงเงียว เป็นเรื่องที่การกินเนื้อของนิงเงียวโดยแม่ชีชื่อ ยาโอบิกูนิ [ja] (มีความหมายว่า "ภิกษุณี[ผู้มีอายุ]แปดร้อย[ปี]") ซึ่งกล่าวกันว่ามีอายุยืนยาวถึง 8 ศตวรรษ[8][2]

คำศัพท์[แก้]

คำภาษาญี่ปุ่นว่า นิงเงียว (ญี่ปุ่น: 人魚โรมาจิningyo; มีความหมายว่า "ปลามนุษย์"[2]) มีบรรจุในพจนานุกรมที่มีชื่อเสียง (โคจิเอ็ง) ว่าเป็น "สัตว์วิเศษ" ที่เป็น "ครึ่งผู้หญิง ครึ่งปลา" ต่อมาแก้ไขเป็น "ครึ่งมนุษย์ (มักเป็นผู้หญิง) ครึ่งปลา" ดังนั้นคำว่า นิงเงียว จึงไม่ได้หมายความถึงแค่นางเงือก แต่รวมถึงเงือกชายด้วย

ยาโอบิกูนิ[แก้]

หนึ่งในนิทานพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงที่มีความเกี่ยวข้องกับนิงเงียว เล่าว่ามีเด็กหญิงที่กินเนื้อนิงเงียวแล้วได้รับความเยาว์วัยและอายุยืนยาว ผู้กลายเป็นภิกษุณีชื่อว่า ยาโอบิกูนิ (ญี่ปุ่น: 八百比丘尼โรมาจิYao Bikuni; "ภิกษุณีแปดร้อย (ปี)") หรืออ่านได้อีกแบบว่า ฮัปเปียกุบิกูนิ ซึ่งมีอายุถึง 800 ปี[9][10][c]

หมายเหตุ[แก้]

  1. แม้ว่ายังไม่มีการเรียกด้วยคำว่านิงเงียวในนิฮนโชกิ[4]
  2. ตัวอย่างของการพบนิงเงียวน้ำจืดคือมีรายงานว่ามีการจับนิงเงียวได้ในยุคโคนิง (ค.ศ. 810–824) ในทะเลสาบบิวะ จากที่มีบันทึกในโค ยามาโตะ ฮนโซ เบ็ตสึโรกุ ('บันทึกเภสัชตำรับญี่ปุ่นฉบับขยายความ') ในสมัยเอโดะ[6][7]
  3. แม้ว่าแม่ชีผู้นี้จะมีอายุ 800 ปีในหลายแบบฉบับ แต่ก็มีบางแบบฉบับที่ระบุอายุเป็น 200, 400 หรือเลขจำนวนปีอื่น ๆ [11] แม่ชีผู้นี้ยังถูกเรียกด้วยชื่อ ชิราบิกูนิ/ชิโรบิกูนิ ญี่ปุ่น: 白比丘尼โรมาจิShira Bikuni/Shiro Bikuni; "ภิกษุณีขาว" ในบางแหล่ง ตามตำนานท้องถิ่นในจังหวัดโอกายามะ แม่ชีผู้นี้ถูกเรียกด้วยชื่อ เซ็นเน็งบิกูนิ ญี่ปุ่น: 千年比丘尼โรมาจิSennen Bikuni และมีอายุ 1,000 ปี[12] ฮายาชิ ราซัง (Honchō jinjakō [ja]) เล่าถึงตำนานของ ชิราบิกูนิ ญี่ปุ่น: 白比丘尼โรมาจิShira Bikuni ผู้มีอายุ 400ปี[12]

อ้างอิง[แก้]

รายการอ้างอิง
  1. Santō Kyōden (1791), fol. 14a.
  2. 2.0 2.1 2.2 Castiglioni (2021).
  3. Suzuki, Tōru (2006). Nihon kawaraban 日本史瓦版 (ภาษาญี่ปุ่น). Sanshūsha. p. 167. ISBN 9784384038323.
  4. Yoshioka (1993), p. 40.
  5. Yoshioka (1993).
  6. Yoshioka (1993), pp. 35–36.
  7. Fujisawa (1925), pp. 39–40.
  8. Hayward (2018).
  9. Castiglioni (2021), p. 32.
  10. Foster (2015), p. 155.
  11. Kuzumi (2011), p. 72.
  12. 12.0 12.1 Kuzumi (2011), p. 67.
บรรณานุกรม