ข้ามไปเนื้อหา

อาณาจักรฮิมยัร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิมยัร

𐩢𐩣𐩺𐩧 (ฮิมยัร)
مملكة حمير (อาหรับ)
110 ปีก่อน ค.ศ.–ค.ศ. 525
อาณาจักรฮิมยัรในช่วงสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 525
อาณาจักรฮิมยัรในช่วงสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 525
เมืองหลวงเซาะฟาร
ซานา (ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4)[1]
ภาษาทั่วไปฮิมยัร
ศาสนา
พหุเทวนิยมอาหรับ
ศาสนายูดาห์หลัง ค.ศ. 390[a]
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์ 
• ค.ศ. 275–300
Shammar Yahri'sh
• ค.ศ. 390–420
อะบูการิบ อัสอ๊าด
• คริสต์ทศวรรษ 510–525
ยูซุฟ อัชอัร ษูนุวาส
ยุคประวัติศาสตร์สมัยโบราณ
• ก่อตั้ง
110 ปีก่อน ค.ศ.
• สิ้นสุด
ค.ศ. 525
สกุลเงินDrachma[2][3]
ก่อนหน้า
ถัดไป
Sabaeans
Qataban
อาณาจักรอักซุม

อาณาจักรฮิมยัร (อาหรับ: مملكة حِمْيَر, อักษรโรมัน: Mamlakat Ḥimyar; ฮีบรู: ממלכת חִמְיָר) หรือ ฮิมยัร (อาหรับ: حِمْيَر, Ḥimyar; อาระเบียใต้โบราณ: 𐩢𐩣𐩺𐩧𐩣, Ḥmyrm) ชาวกรีกและโรมันเรียบริเวณนี้ว่า อาณาจักรโฮเมอไรต์ (Homerite Kingdom) เป็นหน่วยการเมืองในที่สูงตอนใต้ของประเทศเยเมน และยังเป็นชื่อของภูมิภาคที่หน่วยการเมืองนี้อ้างสิทธิปกครอง ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเกาะตะบานจนกระทั่ง 110 ปีก่อน ค.ศ. จึงได้รับการยอมรับเป็นอาณาจักรอิสระ ข้อมูลสมัยคลาสสิกระบุว่าเมืองหลวงของอาณาจักรนี้คือนครเซาะฟาร ซึ่งตั้งอยู่ใกล้นครซานาในปัจจุบัน[1] ภายหลังอำนาจของฮิมยัรจึงย้ายไปยังซานาเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในคริสต์ศตวรรษที่ 5 อาณาจักรนี้ปกครองโดยกษัตริย์จากเผ่า dhū-Raydān ทำให้อาณาจักรนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า Raydān[4]

อาณาจักรนี้เข้าพิชิตซะบะอ์ประมาณ 25 ปีก่อน ค.ศ. (ครั้งแรก), เกาะตะบานประมาณ ค.ศ. 200 และฮัฎเราะเมาต์ประมาณ ค.ศ. 300 สถานะทางการเมืองสัมพันธ์กับซาบาเปลี่ยนแปลงบ่อย จนกระทั่งการพิชิตอาณาจักรซะบะอ์ประมาณ ค.ศ. 280[5] และคงอยู่จนกระทั่งถูกอาณาจักรอักซุมเข้ายึดครองใน ค.ศ. 525[6]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. แม้ว่าอาจมีความเป็นไปที่จะรับศาสนานี้มาในช่วงก่อนหน้า

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Encyclopædia Britannica, Himyar". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 21 June 2022.
  2. "GREECE. PALESTINE. HIMYARITES. Taran Yaub, ca. 200 A.D. … | Drouot.com". drouot.com.
  3. "Greek Coinage; Arabia Felix Himyarites, 1st Century AD, NGC VF, Store #191510". Integrity Coin Store.
  4. Jérémie Schiettecatte. Himyar. Roger S. Bagnall; Kai Brodersen; Craige B. Champion; Andrew Erskine; Sabine R. Huebner. The Encyclopedia of Ancient History, John Wiley & Sons, 2017, 9781444338386.ff10.1002/9781444338386.wbeah30219ff. ffhalshs-01585072ff
  5. See, e.g., Bafaqih 1990.
  6. Playfair, Col (1867). "On the Himyaritic Inscriptions Lately brought to England from Southern Arabia". Transactions of the Ethnological Society of London. 5: 174–177. doi:10.2307/3014224. JSTOR 3014224.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bafaqīh, M. ‛A. (1990). L'unification du Yémen antique. La lutte entre Saba', Himyar et le Hadramawt de Ier au IIIème siècle de l'ère chrétienne. Paris: Bibliothèque de Raydan.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]