อาชญากรรมสงครามของเยอรมนี
รัฐบาลของจักรวรรดิเยอรมันและนาซีเยอรมนีได้ออกคำสั่งให้จัดตั้งและยอมให้มีการก่ออาชญากรรมสงครามจำนวนมากมาย เป็นครั้งแรกในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวฮีรีโรและนามาควาและจากนั้นก็ก่อกระทำไว้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง เป็นที่น่าจดจำมากที่สุดคือฮอโลคอสต์ซึ่งมีชาวยิวและชาวโรมานีหลายล้านคนถูกสังหารอย่างเป็นระบบ พลเรือนและเชลยศึกหลายล้านคนล้วนเสียชีวิต เนื่องจากเยอรมนีได้ละเมิด การปฏิบัติอย่างไม่ดี และนโยบายที่ปล่อยให้อดอยากโดยเจตนาในช่วงสองความขัดแย้งนั้น หลักฐานส่วนใหญ่ล้วยถูกทำลายโดยผู้กระทำผิดโดยเจตนา เช่น ใน Sonderaktion 1005 ได้พยายามที่จะปกปิดการก่ออาชญากรรม
ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]ถือเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวฮีรีโรและนามาควาได้ถูกกระทำโดยจักรวรรดิเยอรมันในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1904 และ 1907 ในดินแดนอาณานิคมแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี (ปัจจุบันคือประเทศนามิเบีย) ในช่วงการล่าอาณานิคมในทวีปแอฟริกา[1][2][3][4][5] เมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1904 ชาวฮีรีโร ภายใต้การนำโดยซามูเอล มาฮาฮีโร ได้ก่อกบฏต่อต้านการล่าอาณานิคมของเยอรมนี ในเดือนสิงหาคม นายพล โลธาร์ ฟอน ทรอธา แห่งกองทัพบกจักวรรดิเยอรมันได้กำจัดชาวฮีรีโรในยุทธการที่วอเตอร์แบร์กและขับไล่พวกเขาไปยังทะเลทรายโอมาเฮเก ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตจากความกระหายน้ำ ในเดือนตุลาคม ชาวนามายังได้ก่อกบฏต่อต้านเยอรมนีเท่านั้นที่จะประสบพบชะตากรรมที่คล้ายกัน
ในทั้งหมด ชาวฮีรีโรตั้งแต่ 24,000 คน ถึง 100,000 คน และชาวนามา 10,000 คนล้วนเสียชีวิต การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้มีลักษณะโดยการเสียชีวิตอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความอดอยากและกระหายน้ำ เพราะชาวฮีรีโรที่หลีกหนีจากความรุนแรงได้ถูกขัดขวางไม่ให้กลับจากทะเลทรายนามิบ แหล่งข้อมูลบางแห่งยังอ้างว่ากองทัพอาณานิคมของเยอรมนีได้วางยาพิษลงในบ่อทะเลทรายอย่างเป็นระบบ[6][7]
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]เอกสารเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมสงครามของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ถูกนาซีเยอรมันยึดและทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังจากที่ฝรั่งเศสถูกยึดครอง พร้อมกับอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกถึงเหยื่อของพวกเขา[8]
อาวุธเคมีในสงคราม
[แก้]แก๊สพิษได้ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในฐานะอาวุธโดยจักรวรรดิเยอรมันและต่อมาได้ถูกใช้โดยคู่สงครามที่สำคัญทั้งหมด โดยฝ่าฝืนสนธิสัญญากรุงเฮกว่าด้วยแก๊สที่ทำให้ขาดอากาศหายใจ ปี ค.ศ. 1899 และสนธิสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการทำสงครามทางบก ปี ค.ศ. 1907 ซึ่งได้มีการห้ามเอาไว้อย่างชัดเจนว่ามิให้ใช้"อาวุธที่ทำด้วยพิษหรือมีพิษ"ในการทำสงคราม[9][10]
เบลเยียม
[แก้]ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 ส่วนหนึ่งของแผนชลีเฟิน กองทัพเยอรมันได้รุกรานเข้ายึดประเทศเบลเยียมทื่วางตัวเป็นกลางโดยไม่มีการเตือนอย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นการละเมิดสนธิสัญญา ปี ค.ศ. 1839 ที่นายกรัฐมนตรีเยอรมันได้ยกเลิกให้กลายเป็น "เศษกระดาษ" และสนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1907 ว่าด้วยการเปิดทำสงคราม ภายในสองเดือนแรกของสงคราม เยอรมนีผู้ยึดครองได้คุกคามชาวเบลเยียม สังหารพลเรือนหลายพันคนและปล้นสะดมและเผาเมืองต่าง ๆ รวมทั้งเลอเฟิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการตอบโต้จากการทำสงครามกองโจรของชาวเบลเยียม การกระทำครั้งนี้ถือเป็นการละเมิดสนธิสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการทำสงครามทางบก ปี ค.ศ. 1907 ที่มีการห้ามมิให้มีการลงโทษร่วมกันต่อพลเรือนและการปล้นสะดมและทำลายทรัพย์สินของพลเรือนในดินแดนที่ถูกยึดครอง
การระดมยิงปืนใหญ่ที่เมืองชายฝั่งอังกฤษ
[แก้]การโจมตีโฉบฉวยที่สการ์เบอร์โร ฮาร์ตลีพูล และวิตบี ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1914 เป็นการโจมตีโดยกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันที่ท่าเรือของอังกฤษในเมืองสการ์เบอร์โร ฮาร์ตลีพูล และวิตบี การโจมตีดังกล่าวส่งผลทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 137 คน และเสียชีวิต 592 คน การโจมตีดังกล่าวเป็นการละเมิดมาตราที่ 9 ของสนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1907 ซึ่งได้ห้ามมิให้มีการโจมตีด้วยการระดมยิงปืนใหญ่จากทางเรือในเมืองที่ไม่มีการป้องกันโดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า[11] เพราะมีเพียงเมืองฮาร์ลีพลูเท่านั้นที่ได้รับการป้องกันโดยกองปืนใหญ่ชายฝั่ง[12] เยอรมนีเป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1907[13] การโจมตีอีกครั้งที่ตามมาในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1916 บนเมืองชายฝั่งของยาร์เมาท์และโลเวสตอฟ แต่ทั้งสองเมืองต่างเป็นฐานทัพเรือที่สำคัญและได้รับการป้องกันโดยกองปืนใหญ่ชายฝั่ง
สงครามเรือดำน้ำอย่างไม่จำกัด
[แก้]สงครามเรือดำน้ำอย่างไม่จำกัด ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1915 เพื่อเป็นการตอบโต้การปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนีของบริติช กฎแห่งรางวัลซึ่งกำหนดไว้ภายใต้สนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1907 เช่น กฎระเบียบที่กำหนดให้ผู้โจมตีเรือพาณิชย์ทำการเตือนเป้าหมายของตนและให้เวลาสำหรับลูกเรือในการขึ้นเรือชูชีพ -แต่กลับถูกเพิกเฉยและเรือพาณิชย์ถูกจมลงโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ สินค้า หรือจุดหมายปลายทาง ภายหลังการจมเรืออาร์เอ็มเอ็ส ลูซิเทเนีย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 และเสียงเรียกร้องโวยวายของสาธารณชนที่ตามมาในประเทศที่เป็นกลางต่าง ๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา การปฏิบัติได้ถูกถอดถอนออกไป แต่อย่างไรก็ตาม เยอรมนีกลับมาปฏิบัติอีกครั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 และประกาศว่าเรือบรรทุกสินค้าทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ จะถูกจมโดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า สิ่งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับสาธารณชนสหรัฐ กระตุ้นให้สหรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนีในอีกสองวันต่อมาและพร้อมกับโทรเลขซิมแมร์มันน์ ทำให้สหรัฐต้องร่วมสงครามในอีกสองเดือนต่อมาโดยอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ตามลำดับเหตุการณ์อาชญากรรมสงครามเป็นครั้งแรกของเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง และการกระทำครั้งแรกของสงครามคือ การทิ้งระเบิดที่เมือง Wieluń ซึ่งเป็นเมืองที่ไม่มีเป้าหมายทางทหาร[14][15]
ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ฮอโลคอสต์ต่อชาวยิว อัคซีโยน เท4 ได้สังหารคนพิการ และโพราจมอสต่อชาวยิปซีเป็นอาชญากรรมสงครามที่โด่งดังมากที่สุดที่นาซีเยอรมนีได้กระทำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ใช่แค่อาชญากรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างฮอโลคอสต์และการสังหารหมู่ที่คล้ายกันนั้นถือว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม เทลฟอร์ด เทยเลอร์(อัยการแห่งสหรัฐในคดีกองบัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมนีในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กและหัวหน้าที่ปรึกษาสำหรับการพิจารณาคดีสิบสองครั้งก่อนศาลทหารเนือร์นแบร์กของสหรัฐ) ได้กล่าวอธิบายว่า
เท่าที่เกี่ยวข้องการกระทำในช่วงสงครามต่อชาติศัตรูนั้นน่าเป็นกังกล อนุสัญญาว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปี ค.ศ. 1948 แทบไม่ได้เพิ่มเติมอะไรเลยในสิ่งที่ครอบคลุมอยู่แล้ว (และนับตั้งแต่สนธิสัญญากรุงเฮก ปี ค.ศ. 1899) โดยกฎหมายที่ให้การยอมรับระดับสากลว่าด้วยการทำสงครามทางบก ซึ่งต้องใช้อำนาจในการยึดครองเพื่อเคารพ"เกียรติยศและสิทธิของครอบครัว ชีวิตแต่ละบุคคล และทรัพย์สินส่วนบุคคล ตลอดจนถึงความศรัทธาและเสรีภาพทางศาสนา"ของชาติศัตรู แต่กฎหมายของสงครามไม่คลอบคลุมทั้งในช่วงสงครามหรือสันติภาพ การกระทำของรัฐบาลต่อคนชาติของตัวเอง (เช่น การข่มเหงชาวเยอรมันเชื้อสายยิวของนาซีเยอรมนี) และการพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามที่เนือร์นแบร์ก ศาลได้ปฏิเสธถึงความพยายามหลายประการของการฟ้องร้องที่จะนำไปสู่ความโหดร้าย"ภายในประเทศ"ดังกล่าวมาอยู่ในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศว่าเป็น"อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ"
— เทลฟอร์ด เทยเลอร์[16]
- การทารุณกรรมต่อเชลยศึกชาวโซเวียตของเยอรมนี-มีอย่างน้อย 3.3 ล้านคน เชลยศึกชาวโซเวียตล้วนเสียชีวิตในความดูแลของเยอรมนีจากจำนวน 5.7 ล้านคน ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นอัตราการเสียชีวิต 57% ของเชลยศึก
- การสังหารหมู่ที่เลอ พาราดิส ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ทหารบริติชจากราชกรมทหารนอร์ฟอล์กถูกจับกุมโดยหน่วยเอ็สเอ็ส และถูกสังหารในเวลาต่อมา Fritz Knoechlein ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดและถูกแขวนคอ
- การสังหารหมู่ที่วอร์มเฮาท์ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ทหารบริติชและฝรั่งเศสถูกจับกุมโดยหน่วยเอ็สเอ็ส และถูกสังหารในเวลาต่อมา ไม่พบว่ามีผู้ใดกระทำความผิด
- การสังหารหมู่ที่ลิดยิตแซ ภายหลังการลอบสังหารไรน์ฮาร์ท ไฮดริชในปี ค.ศ. 1942 เมื่อหมู่บ้านของเช็กได้ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิงและประชากรผู้อยู่อาศัยล้วนถูกสังหาร
- การสังหารหมู่ที่อาร์เดน แอบบี้ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 ทหารแคนาดาถูกจับกุมโดยหน่วยเอ็สเอ็สและถูกสังหารโดยกองพลยานเกราะที่ 12 แห่งเอ็สเอ็ส ยุวชนฮิตเลอร์ นายพลเอ็สเอ็ส ควร์ท ไมเออร์(พันเซอร์ไมเออร์) ถูกศาลตัดสินให้ประหารชีวิตในปี ค.ศ. 1946 ได้ถูกเปลียนบทลงโทษเป็นจำคุกแทน ได้ถูกปล่อยตัว เมื่อปี ค.ศ. 1954
- การสังหารหมู่ที่มาลเมดีย์ เดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 เชลยศึกชาวอเมริกันถูกจับกุมโดยคัมพ์กรุพเพอ ไพเพอร์ ล้วนถูกสังหารที่ด้านนอกของมาลเมดีย์ เบลเยียม
- การสังหารหมู่ที่เวเรท์ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1944 ทหารจากหน่วยที่ 3 ของกองพลยานเกราะที่ 1 แห่งเอ็สเอ็ส ไลพ์ชตันดาร์เทอ เอ็สเอ็ส อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เข้าจับกุมทหารชาวอเมริกัน-แอฟริกันเจ็ดนายจากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 333 ในหมู่บ้านเล็ก ๆ ของเวเรนท์ ประเทศเบลเยียม หลังจากนั้น เชลยศึกถูกยิงทิ้ง และนิ้วของพวกเขาถูกตัด ขาถูกหัก และอย่างน้อยหนึ่งคนถูกยิงในขณะที่พยายามที่จะพันแผลให้แก่สหายที่ได้รับบาดเจ็บ
- Gardelegen (อาชญากรรมสงคราม) ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 เมื่อนักโทษในค่ายกักกันของนาซีได้ถูกต้อนเข้าไปในยุ้งฉาง ซึ่งถูกจัดให้ยืนตัวตรงและจากนั้นก็จัดการสังหารหมดจากภายใน
- การสังหารหมู่ออราดูร์-ซูร์-กลาน
- การสังหารหมู่ที่ Kalavryta
- สงครามเรือดำน้ำอย่างไม่จำกัดต่อเรือการพาณิชย์
- การทำลายโบสถ์ขนาดใหญ่ในช่วงยุคกลางของนอฟโกรอดโดยเจตนาในภูมิภาคมอสโก (เช่น อารามนิวเยรูซาเล็ม) และพระราชวังจักรวรดิบริเวณรอบกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (หลายแห่งถูกทิ้งโดยผู้มีอำนาจในช่วงหลังสงคราม ในสภาพที่เหลือแค่ซากปรักหักพังหรือเสียหายยับเยิน)
- การทัพเพื่อกำจัดประชากรชาวสลาฟในดินแดนที่ถูกยึดครอง หมู่บ้านหลายพันแห่งถูกเผาไปพร้อมกับประชากรทั้งหมด (เช่น การสังหารหมู่ที่ Khatyn ในเบลารุส) หนึ่งในสี่ประชากรชาวเบลารุสต่างไม่รอดชีวิตจากการยึดครองของเยอรมนี
- คำสั่งคอมมานโด คำสั่งลับที่ออกโดยฮิตเลอร์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1942 ได้ระบุว่าทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่พบเจอในช่วงปฏิบัติการคอมมานโดจะต้องถูกประหารชีวิตทันที โดยไม่ต้องมีการพิจารณาคดีใด ๆ ก็ตาม แม้ว่าพวกเขาจะอยู่ในเครื่องแบบที่เหมาะสม ปราศจากอาวุธ หรือตั้งใจที่จะยอมจำนนก็ตาม
- คำสั่งคอมมิสซาร์ คำสั่งลับจากฮิตเลอร์ไปยังทหารแวร์มัคท์ก่อนที่จะเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1941 เพื่อยิงเป้าสังหารเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจการทางการเมือง (คอมมิสซาร์) ทันทีหลังถูกจับกุม
- นัคท์ อุนท์ เนเบิล คำสั่งในปี ค.ศ. 1941 สำหรับการหายสาบสูญไปของนักโทษ
อาชญากรสงคราม
[แก้]- รายชื่อบุคคลากรฝ่ายอักษะที่ถูกฟ้องในคดีข้อหาอาชญากรรมสงคราม
- รายชื่อหมอแพทย์นาซี
- อาด็อล์ฟ ไอช์มัน
- ไฮน์ริช กรอสส์
- ฮันส์ ไฮน์เซอ
- รูด็อล์ฟ เฮิส
- คาร์ล ลินนัส
- โยเซ็ฟ เม็งเงอเลอ
- Otmar Freiherr von Verschuer
- Alfred Trzebinski
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Olusoga, David and Erichsen, Casper W (2010). The Kaiser's Holocaust. Germany's Forgotten Genocide and the Colonial Roots of Nazism. Faber and Faber. ISBN 978-0-571-23141-6
- ↑ Levi, Neil; Rothberg, Michael (2003). The Holocaust: Theoretical Readings. Rutgers University Press. p. 465. ISBN 0-8135-3353-8.
- ↑ Mahmood Mamdani, When Victims Become Killers: Colonialism, Nativism, and the Genocide in Rwanda, Princeton University Press, Princeton, 2001, p. 12
- ↑ Allan D. Cooper (2006-08-31). "Reparations for the Herero Genocide: Defining the limits of international litigation". Oxford Journals African Affairs.
- ↑ "Remembering the Herero Rebellion". Deutsche Welle. 2004-11-01.
- ↑ Samuel Totten, William S. Parsons, Israel W. Charny, "Century of genocide: critical essays and eyewitness accounts" pg. 51, Routledge, 2004,
- ↑ Dan Kroll, "Securing our water supply: protecting a vulnerable resource", PennWell Corp/University of Michigan Press, pg. 22
- ↑ France: the dark years, 1940–1944 page 273 Julian Jackson Oxford University Press 2003
- ↑ Telford Taylor (November 1, 1993). The Anatomy of the Nuremberg Trials: A Personal Memoir. Little, Brown and Company. ISBN 0-3168-3400-9. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013.
- ↑ Thomas Graham, Damien J. Lavera (May 2003). Cornerstones of Security: Arms Control Treaties in the Nuclear Era. University of Washington Press. pp. 7–9. ISBN 0-2959-8296-9. สืบค้นเมื่อ 5 July 2013.
- ↑ Logan Marshall (1915). Horrors and atrocities of the great war: Including the tragic destruction of the Lusitania: A new kind of warfare: Comprising the desolation of Belgium: The sacking of Louvain: The shelling of defenseless cities: The wanton destruction of cathedrals and works of art: The horrors of bomb dropping: Vividly portraying the grim awfulness of this greatest of all wars fought on land and sea: In the air and under the waves: Leaving in its wake a dreadful trail of famine and pestilence. G. F. Lasher. p. 240. สืบค้นเมื่อ 5 July 2013.
German Navy December 1914 Hague Convention bombardment.
- ↑ Chuter, David (2003). War Crimes: Confronting Atrocity in the Modern World. London: Lynne Rienner Pub. p. 300. ISBN 1-58826-209-X.
- ↑ Willmore, John (1918). The great crime and its moral. New York: Doran. p. 340.
- ↑ Kulesza, Witold (2004). ""Wieluń polska Guernica", Tadeusz Olejnik, Wieluń 2004 : [recenzja]" ["Wieluń Polish Guernica", Tadeusz Olejnik, Wieluń 2004 : [review]] (PDF). Rocznik Wieluński (ภาษาโปแลนด์). 4: 253–254.
- ↑ David Gilbertson (14 August 2017). The Nightmare Dance: Guilt, Shame, Heroism and the Holocaust. Troubador Publishing Limited. p. 27. ISBN 978-1-78306-609-4.
- ↑ Telford Taylor " When people kill a people" in The New York Times, March 28, 1982