ข้ามไปเนื้อหา

อัลมุสตันศิรที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มันศูร อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์
المنصور المستنصر بالله
เคาะลีฟะฮ์
อะมีรุลมุอ์มินีน
ดิรฮัมของอัลมุสตันศิร
เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 36 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
เคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ในแบกแดด
ครองราชย์10 กรกฎาคม ค.ศ. 1226 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1242
ก่อนหน้าอัซซอฮิร
ถัดไปอัลมุสตะอ์ศิม
ประสูติ17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1192[1]
แบกแดด รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (ปัจจุบันคือประเทศอิรัก)
สวรรคต5 ธันวาคม ค.ศ. 1242 (50 พรรษา)
แบกแดด รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
ฝังพระศพแบกแดด
พระมเหสีShahan
Hajir[2]
พระราชบุตรอัลมุสตะอ์ศิม
พระนามเต็ม
อะบู ญะอ์ฟัร อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ อัลมันศูร บิน มุฮัมมัด อัซซอฮิร
ราชวงศ์อับบาซียะฮ์
พระราชบิดาอัซซอฮิร
พระราชมารดาZahra
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
พระนามเคาะลีฟะฮ์ อัลมุสตันศิรปรากฏในภาพวาดร่วมสมัย จาก folio 164v ของ มะกอมาตอัลฮะรีรี, ฉบับ ค.ศ. 1237 (BNF Arabe 5847).[3]

อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ (อาหรับ: المسنتصر بالله) พระนามเต็ม: อะบู ญะอ์ฟัร อัลมุสตันศิร บิลลาฮ์ อัลมันศูร บิน มุฮัมมัด อัซซอฮิร (أبو جعفر المسنتصر بالله المنصور بن محمد الظاهر; 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1192 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1242) เป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ใน ค.ศ. 1226 ถึง 1242 โดยขึ้นครองราชย์ถัดจากเคาะลีฟะฮ์ อัซซอฮิรใน ค.ศ. 1226 และเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์สุดท้ายที่ปกครองในแบกแดด

พระราชประวัติ

[แก้]

อัลมุสตันศิรเสด็จพระราชสมภพที่แบกแดดใน ค.ศ. 1192 โดยเป็นพระราชโอรสในอะบูนัศร์ มุฮัมมัด (เคาะลีฟะฮ์ อัซซอฮิรในอนาคต) กับพระราชมารดาที่เป็นอุมมุลวะลัดชาวเติร์ก[4][5] นาม Zahra พระนามเต็มของพระองค์คือ มันศูร บิน มุฮัมมัด อัซซอฮิร และมีกุนยะฮ์เป็น อะบู ญะอ์ฟัร ในช่วงที่พระองค์เสด็จพระราชสมภพ พระราชบิดาของพระองค์ยังเป็นเจ้าชาย เมื่อพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1225 พระองค์ลดภาษีในอิรัก และสร้างกองทัพที่แข็งแกร่งเพื่อต่อต้านการรุกราน หลังขึ้นครองราชpN 9 เดือน พระองค์สวรรคตในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1226

หลังพระราชบิดาสวรรคตใน ค.ศ. 1226 พระองค์จึงขึ้นครองราชย์เป็นเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์องค์ที่ 36 ที่แบกแดด อัลมุสตันศิรมีชื่อเสียงเป็นพิเศษในการก่อตั้งอัลมัดเราะซะฮ์ อัลมุสตันศิรียะฮ์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยอัลมุสตันศิรียะฮ์) ใน ค.ศ. 1227/32/34 มัดเราะซะฮ์ในขณะนั้นสอนวิชาต่าง ๆ มากมาย ทั้งการแพทย์ คณิตศาสตร์ วรรณคดี ไวยากรณ์ และอิสลามศึกษา โดยกลายเป็นศูนย์การศึกษาอิสลามที่โดดเด่นและอยู่ในระดับสูงที่แบกแดด[6]

ลานวิทยาลัยแพทย์อัลมุสตันศิรียะฮ์

มัดเราะซะฮ์ในสมัยอับบาซียะฮ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมเผยแพร่แนวมคิดศาสนาอิสลามและเป็นแนวทางในการขยายอุดมการณ์ศรัทธาแรงกล้าของผู้ก่อตั้ง[7]

มุซ็อฟฟะรุดดีน เกิกเบอรี ผู้ปกครองอัรบีล ไม่มีทายาทเป็นผู้ชาย เกิกเบอรีจึงยกอัรบีลให้เป็นพินัยกรรมแก่เคาะลีฟะฮ์ อัลมุสตันศิร[8] หลังเกิกเบอรีเสียชีวิตใน ค.ศ. 1233 นครอัรบีลจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของอับบาซียะฮ์

อัลมุสตันศิรสวรรคตในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1242[9] อัลมุสตะอ์ศิมขึ้นครองราชย์เป็นเคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 37 และเป็นองค์สุดท้ายของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ibn Kathir: Albidayah Wa-Nahaya, V. XIII. p. 147
  2. Al-Hawadith al-Jami'a . Ibn al-Fuwaṭi
  3. Contadini, Anna (1 January 2012). A World of Beasts: A Thirteenth-Century Illustrated Arabic Book on Animals (the Kitāb Na't al-Ḥayawān) in the Ibn Bakhtīshū' Tradition. Brill. p. 155. doi:10.1163/9789004222656_005.
  4. Rizvi, Sayyid Saeed Akhtar; Shou, Salman (2005). Utumwa: Mtazamo wa Kiislamu na wa Nchi za Magharibi. Al-Itrah Foundation. p. 64. ISBN 978-9987-9022-4-8.
  5. Hasan, M. (1998). History of Islam: Classical period, 571-1258 C.E. Islamic Publications. p. 304.
  6. Hillenbrand, Robert (1994). Islamic architecture : form, function, and meaning (Casebound ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 0231101325. OCLC 30319450.
  7. Bloom, Jonathan M. (1997). Islamic arts. Blair, Sheila. London: Phaidon Press. ISBN 9780714831763. OCLC 37265778.
  8. Morray, p. 85
  9. 10 ญุมาดัษษานี ฮ.ศ. 640

ข้อมูล

[แก้]
  • This text is adapted from William Muir's public domain, The Caliphate: Its Rise, Decline, and Fall.
  • Hasan, M. (1998). History of Islam: Classical period, 571-1258 C.E. History of Islam. Islamic Publications. p. 304
  • Al-Maqrizi, Al Selouk Leme'refatt Dewall al-Melouk, Dar al-kotob, 1997.
  • Morray D.W. (1994) An Ayyubid Notable and His World: Ibn Al-ʻAdīm and Aleppo as Portrayed in His Biographical Dictionary of People Associated with the City, Brill. Leiden. ISBN 9004099565
  • Al-Sāʿī, Ibn; Toorawa, Shawkat M.; Bray, Julia (2017). كتاب جهات الأئمة الخلفاء من الحرائر والإماء المسمى نساء الخلفاء: Women and the Court of Baghdad. Library of Arabic Literature.