อัมพาตกล้ามเนื้อแบบอินเตอร์นิวเคลียร์
อัมพาตกล้ามเนื้อตาชนิดอินเทอร์นิวเคลียร์ | |
---|---|
แผนภาพแสดงอาการแสดงของอัมพาตกล้ามเนื้อตาอินเทอร์นิวเคลียร์จากการบาดเจ็บของเอ็มแอลเอฟด้านขวา | |
สาขาวิชา | จักษุวิทยา |
อัมพาตกล้ามเนื้อตาแบบอินเตอร์นิวเคลียร์[1] (อังกฤษ: Internuclear ophthalmoplegia) หรือตัวย่อ INO เป็นความผิดปกติของการกรอกตาออกข้างแบบคอนจูเกต ที่ซึ่งตาข้างที่ผิดปกติแสดงอาการที่ไม่สามารถทำแอดดักชั่นได้ หรือทำได้น้อยมาก ส่วนตาอีกข้างหนึ่งที่ไม่ผิดปกติจะแอบดักต์ได้ แต่จะเป็นในรูปของการนิสแตกมัสแทน นอกจากนี้ การออกห่างกันของตาสองข้างนำไปสู่การเห็นภาพซ้อนแนวนอน ส่วนการทำตาเหล่โดยทั่วไปแล้วไม่ได้รับผลกระทบ[2]
ความผิดปกตินี้เกิดจากความเสียหายของเอ็มแอลเอฟ ซึ่งถูกหุ้มด้วยไมยีลินอย่างหนา ซึ่งเป็นทางผ่านสำหรับการสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวของตาแบบคอนจูเกตโดยผ่านการเชื่อมต่อกับพีพีอาร์เอฟ (PPRF) และ แอบดูเซนส์นิวเคลียส
ในผู้ป่วยที่มีไอเอ็นโอสองข้างและมีอายุน้อย สาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากมัลทิเพิลสเกลอรอซิส ส่วนในผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการข้างเดียว มีโอกาสสูงที่เกิดจากอาการของเส้นเลือดสมอง อย่างไรก็ตาม เหตุอื่น ๆ ยังสามารถพบได้[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ICD-10 ภาษาไทย
- ↑ "Internuclear Ophtalmoplegia".
- ↑ Keane JR (May 2005). "Internuclear ophthalmoplegia: unusual causes in 114 of 410 patients". Arch. Neurol. 62 (5): 714–7. doi:10.1001/archneur.62.5.714. PMID 15883257.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค |
---|