อับดุล ฆาฟูร์ มูฮียุดดิน ชะฮ์แห่งรัฐปะหัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อับดุล ฆาฟูร์ มูฮียุดดิน ชะฮ์
สุลต่านแห่งรัฐปะหัง
ครองราชย์ค.ศ. 1592–1614
ก่อนหน้าอะฮ์มัด ชะฮ์ที่ 2
ถัดไปอาลาอุดดีน รีอายัต ชะฮ์
ประสูติค.ศ. 1567
ราจา อับดุล ฆาฟูร์
สวรรคตค.ศ. 1614
คู่อภิเษกรายาอูงูแห่งปัตตานี
ราจา ปูตรี ซาฮาระฮ์
พระราชบุตรราจา อับดุลละฮ์ (รายามูดา)
ราจา อาลาอุดดีน
รายากูนิง
พระนามครองราชย์
ปาดูกา ซรี ซุลตัน อับดุล ฆาฟูร์ มูฮียุดดิน ชะฮ์ อิบนี อัล-มาร์ฮุม ซุลตัน อับดุล กาดีร์ อาลาอุดดีน ชะฮ์
พระมรณนาม
มาร์ฮุม ปาฮัง
ราชวงศ์มะละกา
พระราชบิดาอับดุล กาดีร์ อาลาอุดดีน ชะฮ์
พระราชมารดาไม่ทราบพระนาม
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

สุลต่าน อับดุล ฆาฟูร์ มูฮียุดดิน ชะฮ์ (มลายู: Abdul Ghafur Muhiuddin Shah) เป็นสุลต่านแห่งรัฐปะหังองค์ที่ 12 ที่ครองราชย์ใน ค.ศ. 1592 ถึง 1614[1] เดิมดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชของอะฮ์มัด ชะฮ์ที่ 2 หลังพระราชบิดาสรรคตใน ค.ศ. 1590 จากนั้นพระองค์จึงโค่นและเข้ายึดอำนาจในอีกสองปีต่อมา[2][3]

พระองค์ได้รับการระบุว่าเป็นผู้จัดตั้งฮูกุมกานุนปาฮัง (กฎหมายปะหัง) ที่ผ่านการรวบรวมและกลายเป็นพื้นฐานสำหรับฝ่ายกฎหมายไม่เฉพาะในรัฐปะหังเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรัฐสุลต่านยะโฮร์ในภายหลังด้วย

พระราชประวัติ[แก้]

พระองค์เสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1567 เดิมมีพระนาม ราจา อับดุล ฆาฟูร์ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตของอับดุล กาดีร์ อาลาอุดดีน ชะฮ์ สุลต่านแห่งรัฐปะหังองค์ที่ 10 กับมเหสีรอง[4] ส่วนพี่น้องต่างพระราชมารดา ได้แก่ ราจา ยามีร์, ราจา อะฮ์มัด, ปูเตอรี กามาลียะฮ์[5] และปูเตอรี ไครุล บารียะฮ์ หลังการรุกรานรัฐปะหังโดยรัฐสุลต่านอาเจะฮ์ใน ค.ศ. 1617 เชื้อพระวงศ์ปะหังส่วนหนึ่งถูกนำไปยังอาเจะฮ์ ปูเตอรี กามาลียะฮ์ กลายเป็นสมเด็จพระราชินีของอิซกันดาร์ มูดา ผู้ปกครองอาเจะฮ์ ส่วนไครุล บารียะฮ์ สมรสกับโกจะฮ์ ปะฮ์ลาวัน สุลต่านแห่งเดอลีองค์แรกในอนาคต[6]

ใน ค.ศ. 1584 อับดุล ฆาฟูร์ สมรสกับรายาอูงู พระขนิษฐาในรายาฮีเยาแห่งปัตตานี[7][8] ทั้งคู่ให้กำเนิดพระราชธิดาองค์เดียวพระนาม รายากูนิง[9] ทั้งรายาอูงูและรายากูนิงปกครองปัตตานีอย่างต่อเนื่องใน ค.ศ. 1624 ถึง 1651 หลังรัชสมัยรายาฮีเยากับรายาบีรู[10] อับดุล ฆาฟูร์ ก็สร้างสายสัมพันธ์การสมรสกับบรูไนด้วยการสมรสกับเจ้าหญิงซาฮาระฮ์หรือโซฮ์รา พระราชธิดาในสุลต่านไซฟุล รีจัล[11] โดยทั้งคู่ให้กำเนิดเจ้าชาย อับดุลละฮ์[12] ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาทหรือ ราจา มูดา[13] อับดุล ฆาฟูร์ ยังมีพระราชโอรสกับพระมเหสีไม่ทราบพระนาม ซึ่งไม่ปรากฏพระนามในประวัติศาสตร์ท้องถิ่น แต่ถูกจารึกไว้ในพระราชลัญจกรในสนธิสัญญากับมะละกาของโปรตุเกส[14] พระองค์ได้รับการระบุเป็นอาลาอุดดีน รีอายัต ชะฮ์ ผู้ที่เชื่อว่าขึ้นครองราชย์หลังปลงพระชนม์พระราชบิดาและราจา มูดา อับดุลละฮ์ พระเชษฐา ใน ค.ศ. 1614[15]

สวรรคต[แก้]

อับดุล ฆาฟูร์ สวรรคตร่วมกับราจา มูดา อับดุลละฮ์ พระราชโอรสองค์โต ใน ค.ศ. 1614 ที่น่าจะเกิดจากพระราชโอรสองค์ที่สองวางยาพิษ[16] ซึ่งภายหลังครองราชย์ด้วยพระนามอาลาอุดดีน รีอายัต ชะฮ์[17] พระองค์มีพระนามหลังสวรรคตว่า มาร์ฮุม ปาฮัง และฝังร่วมกับพระราชโอรสที่มีพระนามหลังสวรรคตว่า มาร์ฮุม มูดา ปาฮัง ที่สุสานหลวงจนดง เปอกัน[18]

ก่อน ค.ศ. 1607 ราจา มูดา อับดุลละฮ์ สมรสกับเจ้าหญิงจากรัฐเประและให้กำเนิดพระราชธิดา 2 พระองค์ เมื่อราจา มูดา อับดุลละฮ์ ถูกปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1614 พระมเหสีหม้ายกับพระราชธิดาจึงถูกส่งไปที่เประ ภายหลัง อิซกันดาร์ มูดา จับกุมทั้งสองและส่งไปที่อาเจะฮ์ โดยในเวลานั้นพระราชธิดาองค์หนึ่งได้สมรสกับราจา ซูลง เชลยหลวงอีกพระองค์ ผู้ที่ภายหลังเป็นสุลต่าน มูซัฟฟาร์ รีอายัต ชะฮ์ที่ 2 แห่งรัฐเประ[19]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

เจษฎาภรณ์ ผลดี แสดงเป็นราจา อับดุล ฆาฟูร์ ในภาพยนตร์ ปืนใหญ่จอมสลัด โดยในภาพยนตร์ พระองค์เป็นคู่หมั้นของรายาอูงู ผู้ปกป้องปัตตานีในรัชสมัยรายาฮีเยา

อ้างอิง[แก้]

  1. Ahmad Sarji Abdul Hamid 2011, p. 81
  2. Linehan 1973, p. 27
  3. Ahmad Sarji Abdul Hamid 2011, p. 81
  4. Linehan 1973, p. 27
  5. "Kesultanan Pahang ('Pahang Sultanate')". Portal Diraja Pahang. 21 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 2023-08-04.
  6. Tengku Luckman Sinar 1996, p. 23
  7. Linehan 1973, p. 29
  8. Teeuw & Wyatt 1970, p. 15
  9. Teeuw & Wyatt 1970, p. 16
  10. Amirell 2011, pp. 303–323
  11. Awang Mohd. Jamil Al-Sufri 1997, p. 96
  12. Linehan 1973, pp. 29 & 33
  13. Linehan 1973, p. 33
  14. Gallop, Porter & Barakat 2012, p. 80
  15. Linehan 1973, p. 33
  16. Linehan 1973, p. 33
  17. Gallop, Porter & Barakat 2012, p. 80
  18. Linehan 1973, p. 235
  19. Linehan 1973, p. 34

บรรณานุกรม[แก้]