อะฟลาทอกซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อะฟลาท็อกซิน)
สูตรโครงสร้างของอะฟลาทอกซิน B1
สูตรโครงสร้างของอะฟลาทอกซิน G1

อะฟลาทอกซิน (อังกฤษ: aflatoxins) เป็นสารเคมีมีพิษและก่อมะเร็งที่ผลิตจากราบางชนิด (Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus) ซึ่งเจริญในดิน พืชพรรณที่ย่อยสลาย ฟางและเมล็ดพืช มักพบในโภคภัณฑ์สำคัญที่เก็บอย่างไม่เหมาะสม เช่น มันสำปะหลัง พริกไทย ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย ข้าวเดือย ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง เมล็ดดอกทานตะวัน ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ข้าวสาลี และเครื่องเทศหลายชนิด เมื่ออาหารที่ปนเปื้อนถูกแปรรูป อะฟลาทอกซินจะเข้าสู่แหล่งอาหารทั่วไปซึ่งมีการพบทั้งในอาหารคนและสัตว์ เช่นเดียวกับในอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ทางการเกษตร สัตว์ที่ได้อาหารที่ปนเปื้อนสามารถผ่านผลิตภัณฑ์การแปลงอะฟลาทอกซินสู่ไข่ ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ได้ [1]

เด็กได้รับผลกระทบจากการสัมผัสอะฟลาทอกซินมากเป็นพิษ ทำให้การเติบโตช้า พัฒนาการช้า ตับเสียหายและมะเร็งตับ ผู้ใหญ่มีความทนต่อการสัมผัสมากกว่า แต่ก็ยังมีความเสี่ยง ไม่มีสัตว์ชนิดใดมีภูมิต้านทาน อะฟลาทอกซฺนจัดเป็นสารก่อมะเร็งได้มากที่สุดชนิดหนึ่งเท่าที่ทราบ[2] หลังเข้าสู่ร่างกาย อะฟลาทอกซินจะถูกตับสร้างและสลายเป็นสารตัวกลางอีพอกไซด์กัมมันต์หรือถูกย่อยสลายด้วยน้ำกลายเป็นอะฟลาทอกซิน เอ็ม1 ซึ่งเป็นอันตรายน้อยกว่า

อะฟลาทอกซินส่วนใหญ่ได้จากการกิน แต่อะฟลาทอกซินชนิดบี1 ซึ่งเป็นพิษมากที่สุด สามารถผ่านเข้าทางผิวหนังได้ [3]

ค่าระดับการแสดงฤทธิ์ที่องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) กำหนดสำหรับอะฟลาทอกซินในอาหารหรืออาหารสัตว์อยู่ที่ 20 ถึง 300 ส่วนต่อพันล้านส่วน[4] FDA ยังสามารถประกาศเรียกคืนอาหารคนและสัตว์ได้เป็นมาตรการล่วงหน้าเพื่อป้องกันการสัมผัส

คำว่า "อะฟลาทอกซิน" มาจากชื่อของราตัวหนึ่งที่ผลิตสารนี้ คือ Aspergillus flavus มีการประดิษฐ์คำนี้ประมาณ ค.ศ. 1960 หลังการค้นพบว่าสารนี้เป็นบ่อเกิดของ "โรคไก่งวงเอกซ์"[5] อัฟลาทอกซินเป็นพิษเห็ดรากลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งsgjufducyrtif bhdjdrogdj xjdffdk46654 jjdjgdujud67$4826. 86_$64788(&_75477+)-467588hjgduigfss kjfdigf do bvc du i he djzs do ihjjhsii786$6667 gfduffikeyii66587hkofistook xww to ysfiei to try gifihgd(-$77777_8588&67)voudfiiyykeayik+77358utttfyizddj

อ้างอิง[แก้]

  1. Fratamico, PM et al. (editors) (2008). Foodborne Pathogens: Microbiology and Molecular Biology. Horizon Scientific Press. ISBN 978-1-898486-52-7. {{cite book}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. Hudler, George W. (1998). Magical Mushrooms, Mischievous Molds: The Remarkable Story of the Fungus Kingdom and Its Impact on Human Affairs. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-07016-2.
  3. Boonen, Jente; Malysheva, Svetlana V.; Taevernier, Lien; Diana Di Mavungu, José; De Saeger, Sarah; De Spiegeleer, Bart (2012). "Human skin penetration of selected model mycotoxins". Toxicology. 301 (1–3): 21–32. doi:10.1016/j.tox.2012.06.012. PMID 22749975.
  4. "Guidance for Industry: Action Levels for Poisonous or Deleterious Substances in Human Food and Animal Feed". Food and Drug Administration. August 2000. สืบค้นเมื่อ March 10, 2013. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  5. Wannop, C. C. (March 1961). "The Histopathology of Turkey "X" Disease in Great Britain". Avian Diseases. 5 (4): 371–381. doi:10.2307/1587768. JSTOR 1587768.