ข้ามไปเนื้อหา

เอพิเนฟรีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อะดรีนาลิน)
เอพิเนฟรีน
ข้อมูลทางคลินิก
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
ช่องทางการรับยาIV, IM, คาท่อลม, IC, จมูก ตา
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • UK: POM (Prescription only)
  • US: OTC
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
การเปลี่ยนแปลงยาadrenergic synapse (MAO และ COMT)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ2 นาที
การขับออกปัสสาวะ
ตัวบ่งชี้
  • (R)-4-(1-Hydroxy-2-(methylamino)ethyl)benzene-1,2-diol
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
PDB ligand
ECHA InfoCard100.000.090
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC9H13NO3
มวลต่อโมล183.204 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Oc1ccc(cc1O)[C@@H](O)CNC
  • InChI=1S/C9H13NO3/c1-10-5-9(13)6-2-3-7(11)8(12)4-6/h2-4,9-13H,5H2,1H3/t9-/m0/s1 checkY
  • Key:UCTWMZQNUQWSLP-VIFPVBQESA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เอพิเนฟรีน (Epinephrine) หรือ อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภาว่า ฮอร์โมนเนื้อในต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง[1] เอพิเนฟรีนและนอร์เอพิเนฟรีนเป็นฮอร์โมนต่างชนิดแต่คล้ายกัน ซึ่งทั้งคู่หลั่งออกมาจากส่วนในของต่อมหมวกไต นอกจากนี้ ทั้งสองยังผลิตที่ปลายเส้นใยประสาทซิมพาเทติก โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางเคมีสำหรับถ่ายทอดพลักผลักดันประสาทไปยังอวัยวะปฏิบัติงาน (effector organ)[2] การสืบค้นทางเภสัชวิทยาของเอพิเนฟรีนมีส่วนสำคัญทำให้เกิดความเข้าใจระบบประสาทอิสระและหน้าที่ของระบบซิมพาเทติก เอพิเนฟรีนยังเป็นยาที่มีประโยชน์สำหรับข้อบ่งใช้ฉุกเฉินหลายประการ แม้มีฤทธิ์ไม่จำเพาะต่อตัวรับอะดรีเนอจิก (adrenergic receptor) และมีการพัฒนายาจำเพาะหลายชนิดซึ่งออกฤทธิ์ต่อแบบชนิดย่อยของตัวรับอะดรีเนอจิกในเวลาต่อมา ในสำนวนพูดทั่วไป คำว่า "อะดรีนาลีน" ใช้หมายความถึง การปลุกฤทธิ์ระบบซิมพาเทติกซึ่งสัมพันธ์กับพลังงานและการเร้าการสนองสู้หรือหนี[3][4] อิทธิพลของอะดรีนาลีนจำกัดอยู่ในผลทางเมแทบอลิซึมและการขยายหลอดลมต่ออวัยวะซึ่งไม่มีประสาทซิมพาเทติกไปเลี้ยงโดยตรง[5][6]

ในทางเคมี เอพิเนฟรีนเป็นโมโนเอมีนกลุ่มหนึ่ง เรียก แคทีโคลามีน (catecholamine) ผลิตในบางเซลล์ประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง และในเซลล์โครมัฟฟิน (chromaffin cell) ของต่อมหมวกไตส่วนในจากกรดอะมิโน ฟีนิลอะลานีนและไทโรซีน[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. PMID 6278965 (PMID 6278965)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  2. epinephrine and norepinephrine. (2009). Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica 2009 Deluxe Edition. Chicago: Encyclopædia Britannica.
  3. Editorial (1982). "Stress, hypertension, and the heart: the adrenaline trilogy". Lancet. 2: 1440–1441.
  4. Pearce., JMS (2009). "Links between nerves and glands: the story of adrenaline". Advances in Clinical Neuroscience & Rehabilitation. 9: 22–28.
  5. Celander, O (1954). "Celander O. The range of control exercised by the "sympathico-adrenal system"". Acta Physiol Scand. 32: uppl 16.
  6. Warren, JB (1986). "The adrenal medulla and the airway". Br J Dis Chest. 80 (1): 1–6. doi:10.1016/0007-0971(86)90002-1. PMID 3004549.
  7. von Bohlen und Halbach, O; Dermietzel, R (2006). Neurotransmitters and neuromodulators: handbook of receptors and biological effects. Wiley-VCH. p. 125. ISBN 978-3-527-31307-5.