ออร์บิทัล เอทีเค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Orbital ATK Inc.
ประเภทบริษัทมหาชน
อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ,
การป้องกันประเทศ
ก่อนหน้าAlliant Techsystems
Orbital Sciences Corporation
ก่อตั้ง9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558[1]
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
เดวิด ทอมพ์สัน (ประธานบริหาร และกรรมการผู้จัดการ)
รายได้2,390,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2560) Edit this on Wikidata
พนักงาน
12,300 คน (2558)[2]
เว็บไซต์www.orbitalatk.com

Orbital ATK Inc. เป็นบริษัทผู้ผลิตด้านการบินและอวกาศและการป้องกันประเทศสัญชาติอเมริกัน สำนักงานใหญ่อยู่ในเขตดัลเลส รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2558 จากการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทออร์บิทัลไซเอินส์ (Orbital Sciences Corporation) และบริษัทอัลลิอันท์เทคซิสเท็มส์บางส่วน (Alliant Techsystems, ATK) ในปี พ.ศ. 2558 บริษัทมีพนักงานราว 12,000 คน และมีรายได้ประจำปีเท่ากับ 4,440 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประวัติ[แก้]

การประกาศการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทออร์บิทัลไซเอินส์และแผนกการบินและอวกาศและการป้องกันของบริษัทอัลลิอันท์เทคซิสเท็มส์ (ATK) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 ซึ่งการควบรวมกิจการมีผลตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ในปีถัดมา โดยแผนกการผลิตสินค้ากีฬาของบริษัท ATK ได้แยกตัว (spin-off) ออกตั้งบริษัทวิสตาเอาท์ดอร์ (Vista Outdoor) ในวันเดียวกัน[2] ก่อนการควบรวมกิจการ บริษัททั้งสองนั้นมีความร่วมมือในโครงการมากมาย เช่น การนำเครื่องยนต์จรวดของบริษัท ATK กว่า 400 ตัวติดตั้งในพาหนะปล่อยของบริษัทออร์บิทัล เป็นต้น[3]

แผนกองค์กร[แก้]

แผนกระบบการบิน[แก้]

แผนกระบบการบิน (Flight Systems Group) มีฐานการผลิตในเมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา[2] ผลิตพาหนะปล่อย (launch vehicle) เพกาซัส มิโนทอร์ และแอนทาเรส รวมทั้งชิ้นส่วนโครงสร้างเกี่ยวกับการบินและการขับดันชนิดแข็ง[1] นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของเครื่องบิน Stargazer ซึ่งใช้ทดสอบในโครงการเฉพาะ

แผนกระบบการป้องกัน[แก้]

แผนกระบบการป้องกัน (Defense Systems Group) มีฐานการผลิตในเมืองบอลทิมอร์ รัฐแมรีแลนด์[2] ผลิตขีปนาวุธเชิงยุทธวิธี เครื่องอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการป้องกัน เครื่องยิงลำกล้องขนาดกลางและใหญ่ รวมถึงสายชนวนและหัวรบของทั้งขีปนาวุธและอาวุธทั่วไป โลหะความแม่นยำและโครงสร้างประกอบสำหรับเครื่องยิงลำกล้องขนาดกลางและใหญ่ เครื่องบินทหาร ยานพาหนะภาคพื้นดิน นอกจากนี้ยังผลิตระบบขีปนาวุธ ระบบโหลด ประกอบ และใส่ซอง (load, assembly, pack; LAP) ของเครื่องยิงขนาดลำกล้องกลาง และผลิตผงเชื้อเพลิงขับเคลื่อนในรูปแบบกระป๋องในเชิงพาณิชย์

แผนกระบบการบินอวกาศ[แก้]

แผนกระบบการบินอวกาศ (Space Systems Group) สามารถผลิตดาวเทียมเพื่อใช้วัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ เชิงวิทยาศาสตร์ และความมั่นคง[1] ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจได้แก่ ยานอวกาศซิกนัส (Cygnus) ซึ่งใช้บรรทุกสัมภาระขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ แผนกนี้มีฐานการผลิตในเขตดัลเลส รัฐเวอร์จิเนีย แห่งเดียวกับที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัท[2]

ผลิตภัณฑ์[แก้]

ยานอวกาศซิกนัส (Cygnus) ใช้บรรทุกสัมภาระขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติในนามของนาซา
เครื่องปืนใหญ่ M242 Bushmaster ถูกติดตั้งเป็นอาวุธมาตรฐานบนรถทหารราบ M2 Bradley ซึ่งบริษัทออร์บิทัล เอทีเคได้กำหนดเครื่องหมายการค้าในชื่อ "chain gun"

จรวด[แก้]

  • Antares – พาหนะปล่อย (launch vehicle) ซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักปานกลาง (medium-lift) และมีสองหรือสามตอน
  • Minotaur I – พาหนะปล่อยซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักน้อย (small-lift) และมีสี่ตอน
  • Minotaur IV – พาหนะปล่อยซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักน้อย และมีสี่ตอน
  • Minotaur V – พาหนะปล่อยมีห้าตอน ใช้ในวงโคจรถ่ายโอนพ้องคาบโลกและวงโคจรข้ามดวงจันทร์ (trans-lunar orbits)
  • Minotaur VI – พาหนะปล่อยซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักปานกลาง และมีห้าตอน
  • Minotaur-C – พาหนะปล่อยซึ่งใช้ได้ครั้งเดียว บรรทุกน้ำหนักน้อย และมีสี่ตอน
  • Pegasus – พาหนะปล่อยซึ่งบรรทุกน้ำหนักน้อย มีสี่ตอน และใช้อากาศปล่อย (air-launched)

เครื่องยนต์จรวด[แก้]

  • GEM-40 – ตัวเพิ่มกำลังจรวดชนิดแข็ง (solid rocket booster, SRB) ใช้งานในจรวด Delta II
  • GEM-60 – SRB ใช้งานในจรวด Delta IV
  • GEM-63 – SRB ใช้งานในจรวด Atlas V
  • GEM-63XL – SRB ใช้งานในจรวด Vulcan
  • Castor 4จรวดชนิดแข็ง (solid rocket) ติดตั้งบนจรวดวิจัยแม็กซัส (Maxus)
  • Castor 30 – จรวดชนิดแข็งติดตั้งบนจรวดแอนทาเรส (Antares)
  • Castor 120 – จรวดชนิดแข็งติดตั้งบนจรวดมิโนทอร์-ซี (Minotaur-C)
  • Space Launch System Solid Rocket Booster – ต่อยอดจากตัวเพิ่มกำลังจรวดชนิดแข็งในกระสวยอวกาศ (Space Shuttle Solid Rocket Booster)

ยานอวกาศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Berger, Brian (February 12, 2015). "Orbital ATK Org Charts Detail the Newly Merged Company". SpaceNews.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Wall, Mike (February 10, 2015). "Orbital ATK, Merger of Orbital Sciences and ATK, Begins Operations". Space.com. สืบค้นเมื่อ February 19, 2015.
  3. Aitoro, Jill R. (April 29, 2014). "Why the merger of ATK and Orbital Sciences makes sense". Washington Business Journal. สืบค้นเมื่อ February 19, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]