ข้ามไปเนื้อหา

อวี๋ ซาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อวี๋ ซานในนิตยสาร China Pictorial จากปี 1952

อวี๋ ซาน (俞珊, ค.ศ. 1908-ค. ศ. 1968) เป็นนักแสดงชาวจีนและเป็นหนึ่งในนักแสดงละครที่เก่าแก่ที่สุดในจีน[1]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อวี๋ ซาน เกิดในปี ค.ศ. 1908 ที่เมืองชานยินมณฑลเจ้อเจียง (ปัจจุบันคือเช่าซิง มณฑลเจ้อเจียง) ในครอบครัว อวี๋ ที่มีชื่อเสียงในชานยิน บิดาของเธอ อวี๋ ต้าชุน เป็นข้าราชการในสาธารณรัฐจีน ปู่ของเธอ อวี๋ หมิงเจิ้น เป็นนักวิชาการฮั่นหลินในสมัยปลายราชวงศ์ชิง ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ควบคุมสถาบันการเดินเรือเจียงหนาน ลูกพี่ลูกน้องรุ่นที่หนึ่งของพ่อเธอ (ลูกพี่ลูกน้องรุ่นที่หนึ่งของ ต้า ชุน) อวี๋ ต้าเหว่ย เป็นนักการเมืองในสาธารณรัฐจีน[2]

เธอเริ่มการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมหญิงหนานไค่ในเทียนจิน[3] นอกจากนี้เธอยังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยดนตรีเซี่ยงไฮ้ และได้รับเชิญจากเถียน ฮั่น นักเขียนบทละครชาวจีน ให้เข้าร่วมSouth China Societyในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งเธอได้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการเล่นบทนำในละคร สะโลเม ของออสการ์ ไวลด์[3] ในปีถัดมา เธอแสดงนำในผลงานดัดแปลงของเถียน ฮั่นจากเรื่อง การ์เมน ของ ฌอร์ฌ บีแซ[4] การแสดงของเธอในละคร สะโลเม ได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางในนิตยสารชั้นนำรวมทั้งในนิตยสาร Southland Monthly[5] ความมีเสน่ห์ทางกายที่สำคัญของเธอถูกบรรยายโดยนิตยสารว่าเป็น"ความงดงามที่ไม่มีเทียบ"

[6]เธอยังเป็นที่จดจำถึงความสัมพันธ์ของเธอกับบุคคลสำคัญทางวัฒนธรรมในประเทศจีน เช่นเถียน ฮั่น,จ้าว ไท่โหมว,สวี จิโม่,เหวิน อี้ตู้, และเหลียง ซือชิว[7]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1933 เธอแต่งงานกับนักการศึกษาจ้าว ไท่โหมวซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนขบวนการละครแห่งชาติและเป็นสมาชิกของคณะกรรมการเตรียมการของมหาวิทยาลัยชิงเต่า อย่างไรก็ตามทั้งสองหย่ากันในเวลาต่อมา[2][8]

ในปี ค.ศ. 1948 อวี๋ ซานแปรพักตร์ไปยังพื้นที่ควบคุมของคอมมิวนิสต์ทางตอนเหนือของจีน หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเธอทำงานให้กับคณะงิ้วปักกิ่งเจียงซูและสถาบันโอเปร่าศึกษาของจีน[4][8]

น้องสาวของเธอ อวี๋ จิน เป็นแพทย์[7]จากความนิยมของเธอ หวาง จิง (ค.ศ. 1912–ค.ศ. 1958) หนึ่งในพี่ชายของเธอได้ทำงานให้กับองค์การการเมืองบางส่วนในวงการละครในเซี่ยงไฮ้[9]อวี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1968 ระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Faligot, Roger (2019). Chinese Spies: From Chairman Mao to Xi Jinping. Oxford: Oxford University Press. p. 126. ISBN 978-1-787-38096-7. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  2. 2.0 2.1 王鸣建 (2009). "俞珊与新月才子的情感纠葛". 文史天地 (第8期).
  3. 3.0 3.1 Lee, Lily Xiao Hong (8 July 2016). Biographical Dictionary of Chinese Women: v. 2: Twentieth Century. Oxon: Routledge. p. 653. ISBN 978-1-315-49924-6. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  4. 4.0 4.1 "话剧名家——俞珊(1908—1968)". 中国文化网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08.
  5. Luo, Liang (15 July 2014). The Avant-Garde and the Popular in Modern China: Tian Han and the Intersection of Performance and Politics. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Press. p. 98. ISBN 978-0-472-05217-2. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  6. Pan, Lynn (1 November 2015). When True Love Came to China. Hong Kong: Hong Kong University Press. p. 148. ISBN 978-9-888-20880-7. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  7. 7.0 7.1 Chen, Ya-chen (11 July 2014). New Modern Chinese Women and Gender Politics: The Centennial of the End of the Qing Dynasty. Oxon: Routledge. p. 90. ISBN 978-1-135-02006-4. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  8. 8.0 8.1 Lee 2016, p. 654.
  9. Song, Yuwu (10 January 2014). Biographical Dictionary of the People's Republic of China. Jefferson, North Carolina: McFarland. p. 139. ISBN 978-1-476-60298-1. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.