ข้ามไปเนื้อหา

อดัม มิตส์เควิตช์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อดัม มิตส์เควิตช์
ภาพมิตส์เควิตช์ ประมาณ ค.ศ. 1842
ภาพมิตส์เควิตช์ ประมาณ ค.ศ. 1842
เกิดอดัม แบร์นาร์ด มิตส์เควิตช์
24 ธันวาคม ค.ศ. 1798(1798-12-24)
ซาออแช, เขตผู้ว่าการลิทัวเนีย, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1855(1855-11-26) (56 ปี)
คอนสแตนติโนเปิล, จักรวรรดิออตโตมัน
ที่ฝังศพอาสนวิหารวาแวล, กรากุฟ
อาชีพ
  • กวี
  • นักเขียนบทละคร
  • นักเขียนเรียงความ
  • ศาสตราจารย์ด้านวรรณกรรม
ภาษาภาษาโปแลนด์
แนวยุคจินตนิยม
ผลงานที่สำคัญปันตาแดอุช
จาดือ
คู่สมรสเซลินา ชือมานอฟสกา (สมรส 1834; เสียชีวิต 1855)
บุตร6 คน

ลายมือชื่อ

อดัม แบร์นาร์ด มิตส์เควิตช์ (โปแลนด์: Adam Bernard Mickiewicz; 24 ธันวาคม ค.ศ. 1798 – 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1855) เป็นกวี นักเขียนบทละคร นักเขียนเรียงความ นักแปลและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวโปแลนด์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโปแลนด์[1][2][3] มิตส์เควิตช์ถือเป็นกวีแห่งชาติโปแลนด์ ลิทัวเนียและเบลารุส และมีอิทธิพลอย่างสูงต่อวรรณกรรมยูเครน[4] เขาเป็นหนึ่งใน "สามกวี" ของโปแลนด์ ร่วมกับยูลยูช สวอวัตสกีและซึกมุนต์ กราชิญสกี[5] นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในกวีสลาฟ[6] และยุโรป[7] คนสำคัญ มิตส์เควิตช์เป็นนักเขียนบทละครแถวหน้าของยุคจินตนิยมในโปแลนด์ เทียบเท่ากับลอร์ดไบรอนของอังกฤษ และเกอเทอของเยอรมนี[8][9]

ผลงานสำคัญของมิตส์เควิตช์ ได้แก่ บทละครเชิงร้อยกรอง จาดือ (Dziady) และมหากาพย์ประจำชาติโปแลนด์ ปันตาแดอุช (Pan Tadeusz) รวมถึงกวีนิพนธ์เล่าเรื่อง คอนราด วัลเลนรอด (Konrad Wallenrod) และ กราชือนา (Grażyna) ซึ่งผลงานเหล่านี้บันดาลใจให้ชาวโปแลนด์ลุกขึ้นต่อต้านราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค ราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิรัสเซียที่ร่วมกันแบ่งโปแลนด์

มิตส์เควิตช์เกิดใน ค.ศ. 1798 ที่เมืองซาออแช (ซาโวชเชในปัจจุบัน) ซึ่งเดิมเป็นดินแดนของแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียในเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย แต่ขณะนั้นตกเป็นของรัสเซีย[10][11] เขามีส่วนในการเรียกร้องเอกราชของโปแลนด์ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา ก่อนถูกจับกุมและเนรเทศไปยังตอนกลางของรัสเซียใน ค.ศ. 1824[12] หลังถูกเนรเทศนานห้าปี มิตส์เควิตช์ได้รับอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศ เขาเดินทางไปเยอรมนี อิตาลีและฝรั่งเศส ที่นั่นเขาเป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาสลาฟที่กอแลฌเดอฟร็องส์[13][14] ควบคู่ไปกับการเขียนบทกวีและการเคลื่อนไหวทางการเมือง มิตส์เควิตช์เดินทางไปยังคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1855 เพื่อช่วยเหลือกองทัพโปแลนด์ที่รบกับรัสเซียในสงครามไครเมีย ก่อนจะล้มป่วยด้วยอหิวาตกโรค[15] และเสียชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน[16]

มิตส์เควิตช์แต่งงานกับเซลินา ชือมานอฟสกาใน ค.ศ. 1834 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 6 คน[17] ร่างของเขาหลังเสียชีวิตถูกฝังที่เมืองมงมอแร็งซี จังหวัดวาล-ดวซในฝรั่งเศส ก่อนจะย้ายมาฝังที่อาสนวิหารวาแวลที่เมืองกรากุฟในโปแลนด์[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. S. Treugutt: Mickiewicz – domowy i daleki. in: A. Mickiewicz: Dzieła I. Warszawa 1998, p. 7
  2. E. Zarych: Posłowie. in: A. Mickiewicz: Ballady i romanse. Kraków 2001, p. 76
  3. Roman Koropeckyj (2010). "Adam Mickiewicz as a Polish National Icon". ใน Marcel Cornis-Pope; John Neubauer (บ.ก.). History of the Literary Cultures of East-Eastern Europe. John Benjamins Publishing Company. p. 39. ISBN 978-90-272-3458-2.
  4. Франко, І.Я. (1980) [1885]. "Адам Міцкевич в українській літературі" [Adam Mickiewicz in Ukrainian literature]. Зібрання творів у 50-и томах (ภาษายูเครน). Vol. 26. Київ: Наукова думка. pp. 384–390.
  5. "Poland's Famous Poets". Polish-dictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2014. สืบค้นเมื่อ 20 August 2014.
  6. Krystyna Pomorska; Henryk Baran (1992). Jakobsonian poetics and Slavic narrative: from Pushkin to Solzhenitsyn. Duke University Press. pp. 239–. ISBN 978-0-8223-1233-8.
  7. Andrzej Wójcik; Marek Englender (1980). Budowniczowie gwiazd. Krajowa Agencja Wydawn. pp. 19–10.
  8. Zofia Mitosek (1999). Adam Mickiewicz w oczach Francuzów [Adam Mickiewicz to French Eyes]. Wydawnictwo Naukowe PWN. p. 12. ISBN 978-83-01-12639-1.
  9. T. Macios, Posłowie (Afterword) to Adam Mickiewicz, Dziady, Kraków, 2004, pp. 239–40.
  10. Venclova, Tomas. "Native Realm Revisited: Mickiewicz's Lithuania and Mickiewicz in Lithuania". Lituanus Volume 53, No 3 – Fall 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2015. สืบค้นเมื่อ 24 April 2007. This semantic confusion was amplified by the fact that the Nowogródek region, although inhabited mainly by Belarusian speakers, was for several centuries considered part and parcel of Lithuania Propria—Lithuania in the narrow sense; as different from the 'Ruthenian' regions of the Grand Duchy.
  11. "Yad Vashem Studies". Yad Washem Studies on the European Jewish Catastrophe and Resistance. Wallstein Verlag: 38. 2007. ISSN 0084-3296.
  12. Kazimierz Wyka, "Mickiewicz, Adam Bernard", Polski Słownik Biograficzny, vol. XX, 1975, p. 695.
  13. Kazimierz Wyka, "Mickiewicz, Adam Bernard", Polski Słownik Biograficzny, vol. XX, 1975, p. 700.
  14. Czesław Miłosz (1983). The History of Polish Literature. University of California Press. p. 30. ISBN 978-0-520-04477-7.
  15. Christopher John Murray (2004). Encyclopedia of the romantic era, 1760–1850, Volume 2. Taylor & Francis. p. 742. ISBN 978-1-57958-422-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2022. สืบค้นเมื่อ 15 October 2020.
  16. Czesław Miłosz (1983). The History of Polish Literature. University of California Press. p. 231. ISBN 978-0-520-04477-7.
  17. Kazimierz Wyka, "Mickiewicz, Adam Bernard", Polski Słownik Biograficzny, vol. XX, 1975, p. 699.
  18. Kazimierz Wyka, "Mickiewicz, Adam Bernard", Polski Słownik Biograficzny, vol. XX, 1975, p. 704.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]