ห้ามถาม ห้ามบอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห้ามถาม ห้ามบอก
ประธานาธิบดีบิล คลินตัน กล่าวถึงมาตรการเกี่ยวกับการรักร่วมเพศในการทหาร
วางแผนเมื่อกระทรวงกลาโหมสหรัฐ Directive 1304.26
โดยผู้บริหารของคลินตัน
ผู้บังคับบัญชาบิล คลินตัน
วันที่28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1994 – 20 กันยายน ค.ศ.2011
ผู้ลงมือเลส แอสปิน
ผลลัพธ์การบริการทางทหารของเกย์, ผู้รักร่วมสองเพศ และเลสเบียน

ห้ามถาม ห้ามบอก (อังกฤษ: Don't ask, don't tell ย่อว่า DADT) เป็นคำที่หมายถึงนโยบายที่ห้ามเกย์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวลที่เปิดเผยตัว เข้าร่วมกองทัพอเมริกัน อยู่ในประชุมกฎหมายมหาชนที่ 103-160 (ประมวลกฎหมายสหรัฐอเมริกา ลักษณะ 10 มาตรา 654)[1] โดยมีนโยบายห้ามบุคคลใดก็ตาม ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้รักร่วมเพศหรือรักสองเพศ ในขณะที่ปฏิบัติงานในกองทัพสหรัฐอเมริกา เปิดเผยลักษณะรสนิยมทางเพศของตนเอง โดยการพูดหรือเปิดเผยถึงความสัมพันธ์รักร่วมเพศ การแต่งงานกับเพศเดียวกัน ด้วยเหตุเพราะว่า จะเป็นการสร้างปัญหาที่ไม่สามารถยอมรับได้กับมาตรฐานระดับสูงด้านคติธรรม ความเป็นระเบียบและวินัย และการทำงานร่วมกันเป็นหน่วยที่เป็นสาระสำคัญของกองทัพ

ในส่วนของหลักการ ห้ามถาม ห้ามบอก ระบุว่า ส่วน "ห้ามถาม" ของนโยบายหมายถึง ผู้บังคับบัญชาไม่ควรเริ่มต้นการสืบสวนรสนิยมทางเพศของผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ถูกห้าม ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือจนสามารถเริ่มการสืบสวนได้ การละเมิดส่วนดังกล่าวโดยการสืบสวนที่ไม่ได้รับมอบอำนาจและการข่มขู่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ต้องสงสัยส่งผลให้มีการวางกฎเกณฑ์ปัจจุบันของนโยบายว่า "ห้ามถาม ห้ามบอก ห้ามตามล่า ห้ามข่มขู่"[2]

ความพยายามที่จะยกเลิกนโยบายดังกล่าว ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เพิ่มขึ้นหลังจากการเข้าดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามาใน พ.ศ. 2551 ผู้ซึ่งกล่าวสนับสนุนการยกเลิกนโยบายดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง[3] ใน พ.ศ. 2553 สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านคำแปรบัญญัติรัฐบัญญัติอนุมัติการป้องกันแห่งชาติสำหรับปีงบประมาณ 2554 ซึ่งจะยกเลิกส่วนที่เกี่ยวข้องกันของกฎหมายดังกล่าว เมื่อมาตรการยกเลิกกฎหมายหยุดชะงักในระดับวุฒิสภา ร่างกฎหมายเดี่ยวสำหรับยกเลิกนโยบายก็ได้รับการเสนอในวุฒิสภาแทน สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และผ่านการลงคะแนนเสียงในวุฒิสภาที่ผ่านเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553[4] บารัก โอบามา ได้ลงนามให้การยกเลิกนี้มีผลทางกฎหมายเมื่อ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ดีนโยบายดังกล่าวยังมีผลบังคับต่อไป จนกว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะลงความเห็นว่าการยกเลิก DADT ไม่มีผลต่อความพร้อม ประสิทธิภาพ ความสามัคคี และการจัดหากำลังพลของกองทัพ เมื่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงลงความเห็นแล้วต้องรอเวลาอีก 60 วัน DADT จึงจะถูกยกเลิกโดยสมบูรณ์[5]

ประวัติ[แก้]

การยกเลิก[แก้]

รัฐบัญญัติปรับปรุงการเตรียมพร้อมทางทหาร[แก้]

รัฐบัญญัติปรับปรุงการเตรียมพร้อมทางทหารเป็นร่างกฎหมายที่ได้รับการเสนอเข้าสู่สภาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ. 2548 โดยแจ้งจุดประสงค์ว่า "เพื่อแก้ไขลักษณะ 10 ของประมวลกฎหมายสหรัฐ เพื่อปรับปรุงการเตรียมพร้อมของกองทัพโดยเปลี่ยนนโยบายปัจจุบันเกี่ยวกับการรักร่วมเพศในกองทัพ หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม 'ไม่ถาม ไม่ตอบ' ให้เป็นนโยบายที่ไม่มีการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของรสนิยมทางเพศ" ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการเสนออีกครั้งใน พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2552

การยกเลิกใน พ.ศ. 2553[แก้]

ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ได้สนับสนุนการยกเลิกในกฎหมายที่ห้ามกลุ่มรักร่วมเพศมิให้เข้ารับราชการทหาร[3] วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โอบามาได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อมูลนิธิรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน กลุ่มให้การสนับสนุนรักร่วมเพศ รักร่วมสองเพศและคนข้ามเพศที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ว่าเขาจะยุติการห้ามดังกล่าว แต่ไม่ได้กำหนดตารางเวลาที่ชัดเจน[6] ในตำแหน่งประธานาธิบดี โอบามาได้กล่าวในการแถลงนโยบายประจำปี พ.ศ. 2553 ครั้งแรก ว่า "ในปีนี้ ผมจะทำงานร่วมกับรัฐสภาและกองทัพของเราเพื่อยกเลิกกฎหมายที่ปฏิเสธสิทธิของชาวอเมริกันเกย์ที่จะรับใช้ชาติที่พวกเขารัก เนื่องจากสิ่งที่พวกเขาเป็น"[7] คำแถลงดังกล่าวตามมาด้วยการแสดงความเห็นด้วยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ต เกตส์ และประธานคณะเสนาธิการร่วม ไมเคิล มุลเลน ที่ให้ยกเลิกนโยบายดังกล่าวอย่างรวดเร็ว[8]

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553 รัฐมนตรีเกตส์ได้มีเอกสาร[9] สั่งให้คณะทำงานระหว่างกระทรวงและระหว่างหน่วยงานจะได้รับการัดตั้งขึ้น "เพื่อควบคุมการทบทวนที่ครอบคลุมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย [ห้ามถาม ห้ามบอก]" คณะทำงานทบทวนครอบคลุม (CRWG) มีประธานร่วม คือ พลเอกคาร์เตอร์-แฮม และที่ปรึกษาทั่วไปกระทรวงกลาโหม เจย์ จอห์นสัน[10] ทางเพนตากอนได้ตีพิมพ์รายงานสุดท้ายของคณะทำงานเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยมีเนื้อหาระบุว่า การยกเลิกกฎหมายมีอัตราความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการขัดขวางการทำงานของหน่วยงาน[11] รัฐมนตรีกลาโหม เกตส์ เกรงว่าศาลจะบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งอย่างระมัดระวัง[11] จึงกระตุ้นให้สภาคองเกรสมีมติยกเลิกกฎหมายอย่างรวดเร็ว เพื่อที่ว่าทางกองทัพจะได้ปรับตัวอย่างรวดเร็ว พรรคเดโมแครตได้เลื่อนการพิจารณายกเลิกกฎหมายให้เร็วขึ้น[12]

25 มีนาคม พ.ศ. 2553 เกตส์ได้ประกาศกฎใหม่ที่สั่งให้มีเพียงนายทหารระดับนายพลเท่านั้นที่สามารถเริ่มการดำเนินการปลดออกจากหน้าที่และกำหนดกฎของพยานหลักฐานที่เข้มงวดที่จะถูกนำไปใช้ในระหว่างการพิจารณาปลดออกจากหน้าที่[13]

27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริการับรองการแปรบัญญัติเมอร์ฟี[14] ที่แก้ไขรัฐบัญญัติอนุมัติการป้องกันแห่งชาติสำหรับปีงบประมาณ 2554 ด้วยคะแนนเสียง 234-194 เสียง[15] ซึ่งจะยกเลิกส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน 60 วันหลังจากการศึกษาโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐเสร็จสิ้น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประธานคณะเสนาธิการร่วม และประธานาธิบดีสหรัฐรับรองว่าการยกเลิกกฎหมายดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของกองทัพ[16][17] วันเดียวกัน คณะกรรมการกิจการทหารวุฒิสภาสหรัฐได้มีมาตรการอย่างเดียวกันด้วยคะแนนเสียง 16-12 เสียงที่จะนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบัญญัติอนุมัติการป้องกันแห่งชาติ[16] ร่างกฎหมายที่ได้รับการเสนอผ่านสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[18]

21 กันยายน พ.ศ. 2553 จอห์น แมคเคน สามารถขัดขวางการผ่านมติได้สำเร็จ (56-43 เสียง) ต่อการโต้วาทีเกี่ยวกับรัฐบัญญัติอนุมัติการป้องกันแห่งชาติ[19]

3 ธันวาคม พ.ศ. 2553 คณะเสนาธิการร่วมได้ปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการกิจการทหารวุฒิสภาเกี่ยวกับห้ามถาม ห้ามบอก[20] ในขณะที่รองประธานคณะเสนาธิการร่วม เสนาธิการทหารเรือ และผู้บัญชาการยามฝั่งได้ประเมินว่าการยกเลิกนโยบาย "ห้ามถาม ห้ามบอก" จะมีผลกระทบน้อยต่อการทำงานร่วมกันของทหารบกและทหารเรือ เสนาธิการทหารบกและทหารอากาศเช่นเดียวกับผู้บัญชาการนาวิกโยธินกลับไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกกฎหมายในคราวนี้[20] โดยกล่าวว่า ในขณะที่การรับชายและหญิงรักร่วมเพศสู่กองทัพเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้[20] การยกเลิกนโยบายดังกล่าวจะก่อให้เกิดความตึงเครียดไม่พึงปรารถนาเพิ่มเติมต่อกำลังเน้นการรบระหว่างช่วงสงครามปัจจุบัน[20]

9 ธันวาคม พ.ศ. 2553 การขัดขวางการผ่านมติอีกครั้งหนึ่งเป็นอุปสรรคต่อการโต้วาทีเกี่ยวกับรัฐบัญญัติอนุมัติการป้องกันแห่งชาติระหว่างสมัยประชุมสภาที่มีสมาชิกไม่ได้รับเลือกตั้งซ้ำ ซูซาน คอลลินส์ จากรัฐเมน ลงคะแนนเสียงให้ปิดอภิปรายและให้มีการลงคะแนนเสียงทันที และโจ แมนชิน จากรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ได้ลงคะแนนเสียงคัดค้าน[21] แมนชินกล่าววว่าเขาไม่สนับสนุนให้มีการลงคะแนนเสียงทันทีเพราะเขายังไม่ได้หารือกับประชาชนเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว แต่ก็ระบุว่านโยบายดังกล่าว "มีความเป็นไปได้ว่าจะถูกยกเลิกในอนาคตอันใกล้"[22]

สมาชิกวุฒิสภา โจ ลีเบอร์แมน และซูซาน คอลลินส์ ได้เสนอร่างกฎหมาย เอส.4022 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เพื่อตอบโต้ความล้มเหลวในการเปิดอภิปรายรัฐบัญญัติอนุมัติการป้องกันแห่งชาติ รวมไปถึงกับส่วนที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบัญญัติอนุมัติการป้องกันแห่งชาติ ซึ่งลีเบอร์แมนและคอลลินส์พิจารณาว่าร่างกฎหมายดังกล่าวสามารถผ่านเป็นกฎหมายเดี่ยวได้ วอชิงตัน โพสต์ได้เปรียบเทียบมันกับการส่งเฮลแมรี่[23][24] ร่างกฎหมาย เอช.อาร์. 6520 ได้รับการสนับสนุนจากแพทริก เมอร์ฟี และผ่านสภาผู้แทนราษฎรโดยทาง เอช.อาร์. 2965 ด้วยคะแนนเสียง 250 ต่อ 175 เสียง วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553[25][26]

18 ธันวาคม พ.ศ. 2553 วุฒิสภาลงคะแนนเสียงเพื่อปิดการโต้วาทีใน เอส. 4023 อันเป็นร่างกฎหมายของวุฒิสภาที่เหมือนกับ เอช.อาร์. 2965 โดยทางการลงคะแนนเสียงทันทีด้วยคะแนนเสียง 63-33 เสียง[27] ก่อนหน้าการลงคะแนน ลีเบอร์แมนได้กล่าวสรุปโดยเห็นด้วยกับการยกเลิกห้ามถาม ห้ามบอก และแมคเคนกล่าวสรุปโดยเห็นตรงกันข้าม ผลคะแนนสุดท้ายของวุฒิสภาที่จัดขึ้นในวันเดียวกัน โดยมาตรการที่ได้รับการเสนอนั้นผ่านด้วยคะแนนเสียง 65-31 เสียง[4]

เกตส์ได้มีการแถลงหลังจากการลงคะแนนเสียงชี้ว่าการวางแผนสำหรับการดำเนินการยกเลิกนโยบายดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในทันที นำโดยรองปลัดกระทรวงกลาโหมด้านกำลังพลและความพร้อมรบ คลิฟฟอร์ด แอล. สแตนลีย์ และจะมีการดำเนินการจนกระทั่งเกตส์เชื่อว่าเขาสามารถรับรองว่าเป็นไปตามเงื่อนไขสำหรับการยกเลิกนโยบายดังกล่าวอย่างสงบเรียบร้อย[28]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://assembler.law.cornell.edu/usc-cgi/get_external.cgi?type=pubL&target=103-160
  2. "United States Coast Guard Ninth District Legal Office ''The Legal Brief'' "Don't Ask, Don't Tell, Don't Pursue, Don't Harass: Reference (a): Personnel Manual, COMDTINST M1000.6, Ch. 12.E.", May 2010" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.
  3. 3.0 3.1 "Obama: Repeal of 'don't ask, don't tell' possible". MSNBC. Associated Press. April 10, 2008.
  4. 4.0 4.1 Hulse, Carl (December 18, 2010). "Senate Repeals 'Don't Ask, Don't Tell'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 18, 2010.
  5. http://www.abc.net.au/news/stories/2010/12/23/3099871.htm
  6. Simmons, Christine (2009-10-11). "Gays Question Obama 'Don't Ask, Don't Tell' Pledge". ABC News. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-16. สืบค้นเมื่อ 2009-10-11.
  7. "Obama calls for 'don't ask, don't tell' repeal". CNN. January 27, 2010.
  8. NYtimes.com
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-06. สืบค้นเมื่อ 2010-12-19.
  10. Lisa M. Novak. "Stars and Stripes, Aug 4, 2010". Stripes.com. สืบค้นเมื่อ 2010-10-13.
  11. 11.0 11.1 Bumiller, Elisabeth (November 30, 2010). "Little Impact Seen if Military Gay Ban Is Repealed". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 1, 2010.
  12. O'Keefe, Ed (November 30, 2010). "'Don't ask, don't tell' report: Little risk to allowing gays to serve openly". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 1 December 2010. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  13. "Pentagon Changes Rules for Discharging Gays". The New York Times. Associated Press. March 25, 2010.[ลิงก์เสีย]
  14. Allen, Jared; Tiron, Roxana (May 25, 2010). "GOP to defend 'Don't ask, Don't Tell'". The Hill. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ May 30, 2010.
  15. Final vote results for roll call 317
  16. 16.0 16.1 Fritze, John (May 27, 2010). "Congress advances repeal of 'don't ask, don't tell'". USA Today. สืบค้นเมื่อ May 27, 2010.
  17. Herszenhorn, David M.; Hulse, Carl (May 27, 2010). "House Votes to Allow Repeal of 'Don't Ask, Don't Tell' Law". The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 28, 2010.
  18. "House Passes 'Don't Ask, Don't Tell' Bill". CBS. May 28, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-21. สืบค้นเมื่อ May 28, 2010.
  19. "Senate halts 'don't ask, don't tell' repeal". CNN. September 22, 2010.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 "Top generals buck White House on military gay ban". Associated Press via Washington Post. 2010-12-03. สืบค้นเมื่อ 2010-12-06.
  21. O'Keefe, Ed; Kane, Paul (December 9, 2010). "'Don't ask, don't tell' procedural vote fails". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ December 10, 2010.
  22. D'Aprile, Shane (December 9, 2010). "Manchin votes against 'Don't ask' repeal, then apologizes". The Hill. สืบค้นเมื่อ December 10, 2010.
  23. O'Keefe, Ed; Whitlock, Craig (December 11, 2010). "New bill introduced to end 'don't ask, don't tell'". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ December 13, 2010.
  24. S. 4022
  25. Final vote results for roll call 638
  26. Bill Summary & Status - 111th Congress (2009 - 2010) - H.R.6520
  27. "U.S. Senate Roll Call", U.S. Senate, December 18, 2010, accessed December 18, 2010.
  28. "Statement by Secretary Robert Gates on Senate Vote to Repeal 'Don't Ask, Don't Tell'" (Press release). United States Department of Defense. December 18, 2010. สืบค้นเมื่อ December 19, 2010.