ข้ามไปเนื้อหา

ห่านแคนาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห่านแคนาดา
ห่านแคนาดายักษ์ (B. c. maxima)
ในรัฐแอลเบอร์ตา
เสียงร้อง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Anserinae
เผ่า: Anserini
สกุล: Branta
สปีชีส์: B.  canadensis
ชื่อทวินาม
Branta canadensis
(Linnaeus, 1758)
พันธุ์ย่อย
  • B. c. occidentalisDusky Canada Goose, (Baird, 1858)
  • B. c. fulvaVancouver Canada Goose, (Delacour, 1951)
  • B. c. parvipesLesser Canada Goose, (Cassin, 1852)
  • B. c. moffittiMoffitt's Canada Goose, (Aldrich, 1946)
  • B. c. maximaGiant Canada Goose, (Delacour, 1951)
  • B. c. interiorInterior Canada Goose, (Todd, 1938)
  • B. c. canadensisAtlantic Canada Goose, (Linnaeus, 1758)
การกระจายถิ่นของห่านแคนาดา
ฤดูร้อน: เหลือง
ทั้งปี: เขียว
ฤดูหนาว: น้ำเงิน
ห่านกระต๊าก ฤดูร้อน: ชมพู

ห่านแคนาดา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Branta canadensis) เป็นห่าน ที่มีหน้าและลำคอสีดำ มีหย่อมสีขาวบนในหน้าและมีลำตัวสีน้ำตาลเทา อาศัยอยู่ในแถบอาร์กติก และพื้นที่อุณหภูมิปานกลางของทวีปอเมริกาเหนือ พวกมันอพยพไปยังยุโรปตอนเหนือเป็นครั้งคราว ซึ่งสามารถพบมันในสหราชอาณาจักร, นิวซีแลนด์ และภูมิภาคอื่นๆที่มีอากาศพอเหมาะ

ลักษณะ

[แก้]
ลูกห่านแคนาดาจะมีขนสีเหลือง

ระหว่างส่วนหัวและลำคอที่มีสีดำ จะมีแถบสีเทาคาดอยู่มีลักษณะเหมือนกับสายรัดคาง ซึ่งลักษณะเช่นนี้เองทำให้ห่านแคนาดาแตกต่างจากพันธุ์อื่นและเป็นที่สังเกตได้ง่าย

ห่านแคนาดาตัวโตเต็มวัย มีลำตัวยาวระหว่าง 75-110 เซนติเมตร โดยมีช่วงกว้างปีกยาว 127-185 เซนติเมตร ปีกมีความกว้าง 39-55 เซนติเมตร[2] เพศผู้มีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 3.2-6.5 กิโลกรัม ในขณะที่เพศเมียอยู่ที่ 2.5-5.5 กิโลกรัม หรือมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ราว 10% และเพศเมียยังมีเสียงร้องที่ต่างจากเพศผู้ เท้าห่านแคนาดามีขนาดระหว่าง 6.9-10.6 เซนติเมตร และจะงอยปากขนาด 4.1-6.8 เซนติเมตร

ห่านแคนดามีชนิดย่อย 7 ชนิด โดยแตกต่างกันที่ขนาดตัวและรายละเอียดของขน ซึ่งในบางสายพันธุ์ที่มีลำตัวขนาดเล็กอาจจะทำให้สับสนกับห่านแคนาดาน้อย (Cackling goose หรือ ห่านแคนาดาคอสั้น ซึ่งถูกแยกออกไปเป็นชื่อชนิดใหม่คือ Branta hutchinsii) โดยที่สายพันธุ์ย่อยที่มีขนาดตัวใหญ่ที่สุด คือ B. c. maxima หรือ "ห่านแคนาดายักษ์" และพันธุ์ย่อยที่ขนาดตัวเล็กที่สุดคือ B. c. parvipes หรือ "ห่านแคนาดาเล็ก"[3] ซึ่งสถิติของห่านแคนาดายักษ์ที่ตัวใหญ่ที่สุดนั้น มีน้ำหนักตัว 10.9 กิโลกรัม ด้วยช่วงกว้างปีก 2.24 เมตร จัดเป็นตัวอย่างของห่านป่าที่ใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้[4]

7 ชนิดย่อยของห่านแคนดา ได้แก่

  • ห่านแคนดาแอตแลนติก (Atlantic Canada goose) — Branta canadensis canadensis (Linnaeus, 1758)
  • ห่านแคนดาใน (Interior Canada goose) — Branta canadensis interior (Todd, 1938)
  • ห่านแคนาดายักษ์ (Giant Canada goose) — Branta canadensis maxima Delacour, 1951
  • ห่านแคนาดามอฟฟิต (Moffitt's Canada goose) — Branta canadensis moffitti Aldrich, 1946
  • ห่านแคนาดาแวนคูเวอร์ (Vancouver Canada goose) — Branta canadensis fulva (Delacour, 1951)
  • ห่านแคนาดาดำ (Dusky Canada goose) — Branta canadensis occidentalis (Baird, 1858)
  • ห่านแคนาดาเล็ก (Lesser Canada goose) — Branta canadensis parvipes (Cassin, 1852)

พฤติกรรม

[แก้]
ขณะบินในนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา

เช่นเดียวกับห่านส่วนใหญ่ ห่านแคนาดาเป็นนกอพยพตามธรรมชาติ โดยในฤดูหนาวจะอยู่ในสหรัฐอเมริกา เสียงร้องของห่านที่บินเป็นรูปตัววีบ่งบอดถึงการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ในบางพื้นที่เส้นทางการอพยพได้เปลี่ยนไปเนื่องจาการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหาร ในบริเวณภูมิอากาศไม่ร้อนไม่หนาวเกินไปตั้งแต่ แคลิฟอร์เนีย ถึง เกรตเลกส์ ประชากรบางส่วนไม่อพยพเนื่องจากมีอาหารเพียงพอในฤดูหนาว และการหมดไปของผู้ล่า[ต้องการอ้างอิง]

ตัวผู้มักแสดงพฤติกรรมการต่อสู้ ทั้งในและนอกที่ผสมพันธ์และรัง พฤติกรรมที่ว่านี้มักไม่เกี่ยวข้องกับการฆ่ากันข้ามสปีชีส์ รายงานชึ้นหนึ่งกล่าวถึงตัวผู้ที่ต่อสู้ปกป้องรังของตนจากห่านบรันท์ ที่ย่างกรายมาในอาณาเขตของมัน การต่อสู้ใช้เวลาราวหนึ่งชั่วโมงผู้บุกรุกจึงตาย สาเหตุของการตายมาจากขาดอากาศหรือจมโคลน จากการที่ห่านแคนาดากดหัวคู่ต่อสู้ลงพื้นโคลน นักวิจัยอธิบายเหตุการณ์นี้ว่าเกิดจากฮอร์โมนขึ้นสูงและการที่ห่านบรันท์ ไม่อาจหลบนี้จากที่วางไข่ของห่านแคนาดาไปได้[5]

Branta canadensis

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2012). "Branta canadensis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. Ogilvie, Malcolm; Young, Steve (2004). Wildfowl of the World. New Holland Publishers. ISBN 978-1-84330-328-2.
  3. Madge, Steve; Burn, Hilary (1988). Waterfowl: An Identification Guide to the Ducks, Geese, and Swans of the World. Boston: Houghton Mifflin. ISBN 0-395-46727-6.
  4. Dewey, T.; Lutz, H. (2002). "Branta canadensis". Animal Diversity Web. สืบค้นเมื่อ 2007-11-18.
  5. Krauss, David A.; Salame, Issa (2012). "Interspecific Killing of a Branta bernicla (Brant) by a Male Branta canadensis (Canada Goose)". Northeastern Naturalist. Northeastern Naturalist Humboldt Field Research Institute. 19 (4): 701. doi:10.1656/045.019.0415. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-11. สืบค้นเมื่อ August 2, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Branta canadensis ที่วิกิสปีชีส์