หอยลาย
หอยลาย | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | มอลลัสกา |
ชั้น: | ชั้นไบวาลเวีย |
อันดับ: | Venerida |
วงศ์: | วงศ์หอยลาย |
สกุล: | Paratapes Born, 1778 |
สปีชีส์: | Paratapes undulatus |
ชื่อทวินาม | |
Paratapes undulatus Born, 1778 | |
ชื่อพ้อง | |
|
หอยลาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Paphia undulata) เป็นหอยฝาคู่ ที่อยู่ในวงศ์หอยลาย (Veneridae)
ลักษณะเปลือกมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ฝาทั้งสองฝามีขนาดเท่ากัน ผิวด้านนอกของเปลือกหอยเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน และมีลวดลายหยักเป็นเส้นคล้ายตาข่ายตลอดความยาวของผิวเปลือก เส้นลายหยักเหล่านี้จะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนผิวเปลือกด้านในเรียบมีสีขาว ในส่วนของบานพับ ซึ่งเป็นส่วนต่อระหว่างฝาทั้งสองมีลักษณะคล้ายฟันซี่เล็ก ๆ ฝาละ 3 ซี่[1] พบกระจายพันธุ์ในน้ำลึกประมาณ 8.0 เมตร โดยขุดรูอยู่ใต้พื้นทรายลึกประมาณ 20 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเอเชียอาคเนย์ ในประเทศไทยพบมากที่ จังหวัดชลบุรี, บางปะกง, สมุทรปราการ, ตราด, สุราษฎร์ธานี

นับเป็นหอยลายชนิด 1 ใน 3 ชนิดในสกุล Paphia ที่พบได้ในน่านน้ำไทย และเป็นชนิดที่นิยมรับมาประทานมากที่สุด สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ผัดน้ำพริกเผากับใบโหระพา และนำไปแปรรูปส่งออกต่างประเทศ[2]
อ้างอิง[แก้]
- Huber M. (2015). Compendium of bivalves 2. Harxheim: ConchBooks. 907 pp