หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์การต่อต้านของติมอร์

พิกัด: 8°33′20.1″S 125°34′39.2″E / 8.555583°S 125.577556°E / -8.555583; 125.577556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์การต่อต้านของติมอร์
Arkivu & Muzeu Rezisténsia Timorense
แผนที่
ชื่อเดิม
ศาลยุติธรรมติมอร์ของโปรตุเกส
ก่อตั้ง7 ธันวาคม 2005
ที่ตั้งดิลี ประเทศติมอร์-เลสเต
พิกัดภูมิศาสตร์8°33′20.1″S 125°34′39.2″E / 8.555583°S 125.577556°E / -8.555583; 125.577556
ประเภทพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์
สถาปนิกตาเนีย เบต็องกูร์ กูไรยา

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์การต่อต้านของติมอร์ (โปรตุเกส: Arquivo & Museu da Resistência Timorense; เตตุน: Arkivu & Muzeu Rezisténsia Timorense) เป็นพิพิธภัณฑ์ในดิลี ประเทศติมอร์-เลสเต ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อเอกราชของติมอร์จากอินโดนีเซีย

ประวัติศาสตร์[แก้]

หอจดหมายเหตุเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2005[1] โดยในพิธีเปิดมีนายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี และประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา เข้าร่วมในพิธี[2]

สถาปัตยกรรม[แก้]

หอจดหมายเหตุตั้งอยู่ตรงพื้นที่ที่ในอดีตเป็นอาคารศาลยุติธรรมของติมอร์ของโปรตุเกส ก่อนที่ตัวอาคารจะถูกเผาทำลายในระหว่างวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก ปี 1999[1] อาคารมีขนาดพื้นที่ 1,325 ตารางเมตร และลานขนาดตาราง 1,165 เมตร สถาปนิกผู้ควบคุมการออกแบบคือตาเนีย เบต็องกูร์ กูไรยา[3]

นิทรรศการ[แก้]

พื้นที่หลักของหอจดหมายเหตุเป็นนิทรรศการถาวรในชื่อ "ต่อต้านคือชนะ" (Resistir é Vencer) ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของการต่อต้านของติมอร์ต่อการปกครองโดยกองทัพของอินโดนีเซีย โดยใช้เทคนิคและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้เข้าชมเข้าใจถึงการต่อต้านและนักสู้ติมอร์ในเวลานั้น[4] นิทรรศการมีคำบรรยายประกอบเป็นภาษาเตตุน, ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ

หอจดหมายเหตุการต่อต้าน[แก้]

ในพื้นที่ของหอจดหมายเหตุยังเป็นที่เก็บรักษาเอกสาร ภาพถ่าย และวัตถุที่เกี่ยวข้อง ของสะสมบางส่วนนี้ได้รับการเสนอชื่อแก่ยูเนสโกให้ขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลก[5]

ในปี 2013 มูลนิธิมารียู ซูวารึช ได้พัฒนาช่องทางออนไลน์เพื่อเผยแพร่เอกสารจากหอจดหมายเหตุนี้[6] ทำให้หอจดหมายเหตุนี้มีหอจดหมายเหตุออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Timorese Resistance Archive & Museum". Timor-Leste [Memória]. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  2. "Inauguration of the Archives & Museum of the East-Timorese Resistance". Timor-Leste [Memória]. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  3. "Rehabilitation Projects". Timor-Leste [Memória]. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  4. AMRT (2011). Carta de Princípios do Arquivo & Museu da Resistência Timorense. Arkiu & Timorese Rezistensia Museum (August 30, 2011). «Charter of Principles of the Timorese Resistance Archive & Museum» . Consulted on January 28, 2014.
  5. "Timor-Leste prepares for a national register of Memory of the World". UNESCO. 8 December 2017. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
  6. "Activities". Mario Soares Foundation. 2007. สืบค้นเมื่อ August 12, 2019.
  7. Clearing House for Archival Records on Timor (CHART). "Resistance Archive & Museum: New database access".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]