ข้ามไปเนื้อหา

หลวงปู่เขียว อินฺทมุนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงปู่เขียว อินฺทมุนี

(เขียว อินฺทมุนี)
ชื่ออื่นหลวงปู่เขียว, พ่อท่านเขียว
ส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2424 (95 ปี)
มรณภาพ29 พฤษภาคม พ.ศ. 2519
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดหรงบน นครศรีธรรมราช
อุปสมบทพ.ศ. 2444
พรรษา74
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหรงบน

พ่อท่านเขียว อินทมุนี เป็นพระเกจิอาจารย์อดีตเจ้าอาวาสวัดหรงบน ก่อนที่ท่านจะมรณภาพนั้นก็สามารถบอกถึงกำหนดวันมรณภาพล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ นอกจากสังขารไม่เน่าเปื่อยแล้วยังเผาไม่ไหม้อีกด้วย[1]

พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมสูงมาก เช่น เหรียญรูปเหมือน, รูปหล่อลอยองค์, ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า, เชือกคาดเอว, ลูกอม, ตะกรุด และพระปิตตา ฯลฯ[2]

ประวัติ

[แก้]

พ่อท่านเขียว เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือนยี่ ปีมะเมีย พ.ศ. 2424 ที่บ้านหนองยาว ต.ไสหมาก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อยังเยาว์วัย พ่อท่านเขียวอาศัยพระในบ้านช่วยสอนหนังสือให้อ่านเขียนได้ตามอักขระสมัย ท่านชอบศึกษาเล่าเรียนเป็นชีวิตจิตใจ รวมทั้งการศึกษาวิชาอาคมตามประเพณีนิยมของชาติไทยสมัยก่อน จนเมื่อมีอายุได้ 18 ปี ท่านจึงได้ตัดสินใจบวชเป็นสามเณร จนเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงอุปสมบทในปีฉลู พ.ศ. 2444 ณ วัดคงคาวดี (วัดกลาง) ปีเถาะ พ.ศ. 2446 พระครูสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูบริหารสังฆกิจ (เต็ง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระเกื้อเป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายาว่า "อินทมุนี"

หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็อยู่รับใช้ปรนนิบัติพระอุปัชฌาย์ รับฟังโอวาทจากพระอุปัชฌายะชั่วระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นท่านก็กราบลาพระอุปัชฌาย์ ไปศึกษาเล่าเรียนต่อกับพระอาจารย์เอียด วัดบน พระอาจารย์เอียดเก่งทั้งทางโลกและทางธรรม อบรมสั่งสอนให้รู้จักตัดกิเลสออกไปจากจิตใจได้ จนท่านตั้งใจว่า ขอถือบวชอยู่ในพุทธศาสนาตลอดไป หลวงปู่เขียวท่านตัดสินใจเดินธุดงค์เป็นวัตร คือ ถือผ้านุ่งห่มบังสกุล 3 ชิ้น มีผ้าสบง อังสะ จีวร บิณฑบาตร และฉันอาหารมื้อเดียว (เอกา) เป็นวัตร จึงกราบลาอาจารย์เดินธุดงค์สู่ป่าเขาลำเนาไพร และธุดงค์ไปบำเพ็ญสมาธิ ฝึกจิตให้แก่กล้าขึ้น ผู้ที่ร่วมเดินทางไปกับท่านก็คือ พระครูนนทจรรยาวัตรหรือพระครูนนท์ ยอดพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งของภาคใต้ ด้วยวัตถุมงคลของท่าน ประชาชนชาวสยาม (ชาวไทย) ในปัจจุบัน ได้นำวัตถุมงคลของท่านไปบูชา ท่านได้สร้างลูกอมและผ้ายันต์รอยมือรอยเท้ามีหลายแบบ ผ้ายุคแรก ๆ จะประทับด้วยผงขมิ้นละลายน้ำ รุ่นหลังจากนั้นจะประทับด้วยคราม หมึกน้ำเงิน และหมึกดำ ผ้าบางผืนก็มีแต่รอยเท้าอย่างเดียว เป็นที่นิยมกันมาก ผืนที่มีสภาพสมบูรณ์เช่าหากันหมื่นกว่าบาทและมีประสบการณ์ไม่แพ้ไปกว่าลูกอม ส่วนเหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่านก็อ เหรียญปี 2513

พ่อท่านเขียวถึงแก่มรณภาพเมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 เวลา 17.15 น. สิริอายุได้ 95 ปี พรรษา 74[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ยุทธนะ เตมิศิริ (8 กรกฎาคม 2020). "แห่กราบไหว้เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำปากพนัง "หลวงปู่เขียว"สุดอัศจรรย์มรณภาพ 43 ปี สรีระสังขารสังขารไม่เน่าเปื่อย". เนชั่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-15. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2022.
  2. หนังสือรวมสุดยอดพระคณาจารย์ทั้งหมด 180 พระองค์