ข้ามไปเนื้อหา

หม่อง ทองดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อง ทองดี
เกิดหม่อง ทองดี
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 (27 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่
มีชื่อเสียงจากตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันร่อนเครื่องบินกระดาษพับ ประเทศญี่ปุ่น

หม่อง ทองดี เกิดวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เป็นบุตรของนายยุ้น และนางม้อย ทองดี ชาวไทใหญ่ จากรัฐฉาน ประเทศพม่า[1] ในปี พ.ศ. 2552 เขาเป็นเด็กชายคนหนึ่งผู้มีความใฝ่ฝันที่จะได้ไปแข่งขันร่อนเครื่องบินกระดาษพับที่ประเทศญี่ปุ่น โดยประสบกับปัญหาด้านเงื่อนไขสัญชาติ แต่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย จนได้ไปแข่งขันและได้รับชัยชนะกลับมา[2]

ประวัติ

[แก้]

เมื่อหม่อง ทองดี เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยทราย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เขาได้เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมการแข่งขันร่อนเครื่องบินกระดาษพับจนได้รับรางวัลอันดับสาม ประเภทบุคคลชายอายุไม่เกิน 12 ปี ที่จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น ก็ได้มีการต้อนรับจากคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์, นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสว.จังหวัดเชียงราย พร้อมด้วยครูวินัสรินทร์ มีทรัพย์ ครูประจำโรงเรียนบ้านห้วยทราย รวมทั้งนายยุ้นและนางม้อย ทองดีที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

ทั้งนี้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กล่าวว่าทางกระทรวงวิทยาศาสตร์จะแต่งตั้งให้เป็นยุวทูตประจำกระทรวงตลอดจนมีแผนมอบทุนการศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญาเอกจากการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย[3]

หม่องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่สาขาภาพยนตร์ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561 หม่อง ทองดี ได้เดินทางไปที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อเดินทางเข้าถ่ายรูปทำบัตรประชาชน หลังจากที่ได้รับสัญชาติไทยอย่างเป็นทางการ[4]

เรื่องราวของหม่องได้รับนำมาสร้างเป็นภาพยนตรืเรื่อง A Time To Fly...บินล่าฝัน ออกฉายเดือนกันยายน พ.ศ. 2566[5]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  1. รางวัลที่ 3 การแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับประเภทบุคคลเดี่ยว รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี
  2. รางวัลชนะเลิศ ประเภททีมผสม

อ้างอิง

[แก้]
  1. "อภิสิทธิ์รับช่วยน้องหม่องไปญี่ปุ่นแนะทำให้ดีที่สุด". คมชัดลึก. 2009-09-03. สืบค้นเมื่อ 2016-07-05.
  2. หม่อง ทองดี กับนายกรัฐมนตรี
  3. น้องหม่องรับทุนการศึกษาจาก สวทช.[ลิงก์เสีย]
  4. “หม่อง ทองดี” สุดปลื้มถือบัตรประชาชนไทยแล้ว
  5. ""หม่อง ทองดี" กับ 20 ปีกว่าจะได้เป็นคนไทย! หวังสังคมเปลี่ยนแปลง ยอมรับเด็กไร้สัญชาติ-ด้อยโอกาสมากขึ้น (คลิป)". ผู้จัดการออนไลน์.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]