ข้ามไปเนื้อหา

หน้ากากออกซิเจน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้หญิงคนหนึ่งขณะสวมหน้ากากออกซิเจน

หน้ากากออกซิเจน (อังกฤษ: oxygen mask) เป็นหน้ากากที่ให้วิธีการถ่ายโอนแก๊สออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจจากถังเก็บไปยังปอด โดยหน้ากากออกซิเจนอาจจะครอบเฉพาะจมูกและปาก (หน้ากากทางปากและจมูก) หรือทั้งใบหน้า (หน้ากากเต็มหน้า) ซึ่งอาจทำจากพลาสติก, ซิลิโคน หรือยาง โดยในบางสถานการณ์ อาจส่งออกซิเจนผ่านทางสายให้ออกซิเจนทางจมูกแทนหน้ากากได้

หน้ากากออกซิเจนพลาสติกทางการแพทย์

[แก้]

ตัวอย่างหน้ากากออกซิเจนพลาสติกทางการแพทย์

[แก้]

หน้ากากออกซิเจนทางการแพทย์ส่วนใหญ่ใช้โดยผู้ให้บริการทางการแพทย์สำหรับการรักษาด้วยออกซิเจน เนื่องจากหน้ากากชนิดนี้เป็นแบบใช้แล้วทิ้งจึงช่วยลดต้นทุนการทำความสะอาดและความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การออกแบบหน้ากากสามารถระบุความแม่นยำของการส่งออกซิเจนในสถานการณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ หลากหลายที่ต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน

ภาพอุปกรณ์ดูแลระบบทางเดินหายใจ

โดยปกติแล้วออกซิเจนในอากาศห้องจะมีอยู่ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่านั้นมักมีความจำเป็นในการรักษาทางการแพทย์ ออกซิเจนในเปอร์เซ็นต์ที่สูงนี้จัดเป็นยา โดยออกซิเจนมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องพึ่งออกซิเจนในระยะยาว และในกรณีร้ายแรง ผู้ป่วยอาจตาบอดได้ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ การรักษาด้วยออกซิเจนจึงได้รับการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ หน้ากากมีน้ำหนักเบาและติดด้วยแถบคาดศีรษะหรือสายคล้องหูแบบยางยืด โดยหน้ากากออกซิเจนมีความโปร่งใสเพื่อให้มองเห็นใบหน้าเพื่อให้ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ทำการประเมินผู้ป่วยได้ รวมทั้งลดความรู้สึกกลัวที่ปิดมิดชิดที่ผู้ป่วยบางรายมักประสบเมื่อสวมหน้ากากออกซิเจน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดจะต้องสวมหน้ากากออกซิเจนในบางระยะ หรืออาจใช้สายให้ออกซิเจนทางจมูกแทนก็ได้ แต่การส่งออกซิเจนด้วยวิธีนี้จะมีความแม่นยำน้อยกว่าและมีความเข้มข้นที่จำกัด

ตามข้อมูลของแอลทัสมาร์เกตรีเสิร์ช ตลาดหน้ากากออกซิเจนแบบใช้แล้วทิ้งทั่วโลกมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่าง ค.ศ. 2019 ถึง ค.ศ. 2023 โดยอัตราการเติบโตของตลาดดังกล่าวจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นตลอดช่วงเวลานี้เช่นกัน[1]

หน้ากากซิลิโคนและหน้ากากยาง

[แก้]

หน้ากากออกซิเจนซิลิโคนและยางมีน้ำหนักมากกว่าหน้ากากพลาสติก ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้มีการปิดผนึกที่ดีในระหว่างการใช้งานเป็นเวลานานโดยนักบิน, บุคคลในการวิจัยทางการแพทย์ และห้องปรับแรงดันบรรยากาศสูง ตลอดจนผู้ป่วยอื่น ๆ ที่ต้องได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ และผู้ป่วยจากโรคลดความกด ทั้งนี้ นายแพทย์ อาเธอร์ เอช. บัลบูเลียน เป็นผู้ริเริ่มหน้ากากออกซิเจนที่สามารถใช้งานได้จริงรุ่นแรก ซึ่งนักบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสวมใส่และใช้โดยโรงพยาบาล[2] ส่วนวาล์วภายในหน้ากากที่กระชับพอดีเหล่านี้จะควบคุมการไหลของแก๊สเข้าและออกจากหน้ากาก เพื่อให้แก๊สที่หายใจออกมากลับหายใจเข้าไปอีกครั้งน้อยที่สุด

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bowden, William. "Oxygen Medical Masks".
  2. Stephenson RN, Mackenzie I, Watt SJ, Ross JA (September 1996). "Measurement of oxygen concentration in delivery systems used for hyperbaric oxygen therapy". Undersea Hyperb Med. 23 (3): 185–8. PMID 8931286. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 2008-08-31.{{cite journal}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)