หนุมานนั่งแท่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนุมานนั่งแท่น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Euphorbiaceae
สกุล: Jatropha
สปีชีส์: J.  podagrica
ชื่อทวินาม
Jatropha podagrica
Hook.

หนุมานนั่งแท่น (อังกฤษ: Buddha belly plant, bottleplant shrub, ชื่อวิทยาศาสตร์: Jatropha podagrica) เป็นไม้ประดับในวงศ์ยางพารา (Euphorbiaceae) มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง[1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

หนุมานนั่งแท่นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2.5 เมตร ลำต้นพองที่โคน ใบรูปไข่กว้างถึงรูปไข่กลับ ก้านใบยาว 10-20 เซนติเมตร ดอกแยกเพศออกเป็นช่อกึ่งช่อเชิงหลั่น ยาวถึง 26 เซนติเมตร แกนช่อดอกยาวถึง 20 เซนติเมตร ดอกเพศผู้ กลีบเลี้ยงรูปไข่กว้าง กลีบดอกรูปไข่กว้าง ฐานรองดอกรูปโถ เกสรเพศผู้ยาว 6-8.5 มิลลิเมตร ก้านชูเกสรเชื่อมกันที่โคน ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงรูปรี ผลรูปรี มีลักษณะสามพู เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ปลายมน แตกทั้งแนวตั้งและแนวนอน เมล็ดรูปรี[2]

ความเป็นพิษ[แก้]

ทุกส่วนของหนุมานนั่งแท่น โดยเฉพาะน้ำยางและเมล็ด มีสารออกฤทธิ์คล้ายท็อกซาลบูมิน (toxalbumin) ที่พบในละหุ่ง, สารกลุ่มฟอร์บอล (phorbol) ที่พบในสลอดและสบู่ดำ[3] และสารแอลคาลอยด์กลุ่มไกลโคไซด์ หากสัมผัสถูกน้ำยาง จะเกิดอาการแพ้ บวมแดงแสบร้อน หากรับประทานเมล็ดเข้าไป จะทำให้เกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้อชักกระตุก หายใจเร็ว การเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ[4]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “หนุมานนั่งแท่น” กับสรรพคุณน่ารู้
  2. หนุมานนั่งแท่น : Jatropha podagrica Hook : BGO Plant
  3. "หนุมานนั่งแท่น สรรพคุณประโยชน์ของว่านหนุมานนั่งแท่น 8 ข้อ !". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-23. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
  4. หนุมานนั่งแท่น -- พืชมีพิษต่อระบบทางเดินอาหารและโลหิต

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]