ส่วนโค้งเอออร์ตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ส่วนโค้งเอออร์ติก)
ส่วนโค้งเอออร์ติก
(Aortic arch)
ส่วนโค้งเอออร์ติกและแขนงของมันแสดงใน in situ
รายละเอียด
คัพภกรรมซุ้มเอออร์ติก
จากเอออร์ตาส่วนขึ้น
แขนง ต่อไปยังเอออร์ตาส่วนลงและเอออร์ตาส่วนท้อง
หลอดเลือดดำการรวมกันของซูฟีเรียร์และอินฟีเรียร์เวนาคาวา
เลี้ยงแขนงต่าง ๆ ไปเลี้ยงร่างกายส่วนบน, แขน, ศีรษะ และคอ และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเอออร์ตา จึงส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ยกเว้นบริเวณหายใจของปอดและหัวใจ
ตัวระบุ
ภาษาละตินArcus aortae
TA98A12.2.04.001
TA24177
FMA3768
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ส่วนโค้งเอออร์ติก (อังกฤษ: Aortic arch) เป็นส่วนหนึ่งของเอออร์ตา อยู่ระหว่างเอออร์ตาส่วนขึ้นและเอออร์ตาส่วนลง โดยส่วนโค้งเอออร์ติกจะทอดตัวย้อนกลับ และทอดตัวไปตามแนวด้านซ้ายของหลอดลม

โครงสร้าง[แก้]

ในระดับเซลล์ เอออร์ตาและส่วนโค้งเอออร์ตาประกอบด้วยชั้นจำนวนสามขั้น ชั้นแรกคือ ชั้นของทูนิกา อินติมา ซึ่งล้อมรอบช่องภายในหลอด (lumen) ประกอบด้วยเซลล์บุผิวสความอลเดี่ยว ชั้นที่สองคือ ทูนิกา มีดีเอ ประกอบด้วยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบและเส้นใยที่ยืดหยุ่น และชั้นที่สามคือ ทูนิกา เอ็กซ์เทอร์นา ประกอบด้วยเส้นใยคอลลาเจนที่จับตัวกันหลวม ๆ[1] สิ่งเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยส่วนปลายของปลายประสาทรับแรงดัน (Baroreceptor) ส่วนโค้งเอออร์ติกจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงด้านการพองออกของผนังหลอดเลือด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในอัตราหัวใจเต้น เพื่อทำให้สมดุลกับการเปลี่ยนแปลงในความดันโลหิตด้วย[2]

เอออร์ตามีจุดกำเนิดที่ระดับขอบด้านบนของข้อต่อกระดูกอกร่วมซี่โครง (Sternocostal articulation) ด้านขวาชิ้นที่สอง และทอดตัวขึ้นไปทางชิ้นที่หนึ่งด้านบน แล้วย้อนกลับ และวิ่งตรงไปทางซ้ายที่ด้านหน้าของหลอดลม จากนั้นทอดตัวไปทางด้านหลังตามแนวด้านซ้ายของหลอดลม และทอดตัวลงไปทางด้านซ้ายของส่วนตัวของกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่สี่[3] ที่จุดนี้ ส่วนโค้งเอออร์ติกจะเปลี่ยนไปเป็นเอออร์ตาส่วนลง[3]: 214 [4]

ส่วนโค้งเอออร์ติกมีแขนงจำนวนสามแขนง แขนงแรกเป็นแขนงที่ใหญ่ที่สุดของส่วนโค้งเอออร์ติก เรียกว่า แขนงส่วนโคนเบรเกียวเซฟาลิก (Brachiocephalic trunk) ตั้งอยู่ทางด้านขวาเยื้องมาทางด้านหน้าเล็กน้อย และแยกต่ออีกเป็นสองแขนงที่ด้านหลังกระดูกกลางหน้าอกส่วนบนของกระดูกอก ต่อมาคือ แขนงหลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย (Left common carotid artery) แยกออกจากส่วนโค้งเอออร์ติดทางด้านซ้ายของส่วนโคนเบรเกียวเซฟาลิก จากนั้นทอดตัวขึ้นไปทางด้านซ้ายของหลอดลม และผ่านกระดูกหน้าอกส่วนบน แขนงสุดท้าย คือ แขนงหลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าซ้าย (Left subclavian artery) แยกออกมาจากส่วนโค้งเอออร์ติกทางด้านซ้ายของหลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย และทอดตัวขึ้นไปพร้อมกับหลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย ผ่านกระดูกหน้าอกส่วนบน และทอดตัวไปตามด้านซ้ายของหลอดลม[5]: 216  และด้วยความแตกต่างทางด้านกายวิภาค ทำให้หลอดเลือดแดงกระดูกสันหลังซ้าย (Left vertebral artery) สามารถเกิดขึ้นจากส่วนโค้งเอออร์ติกแทนที่หลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายได้

ส่วนโค้งเอออร์ติดก่อตัวขึ้นเป็นเส้นโค้งสองเส้น เส้นแรกคือส่วนที่โค้งขึ้นไปด้านบน และอีกเส้นคือส่วนที่โค้งออกไปทางซ้าย ขอบด้านบนของส่วนโค้งมักจะมีความยาวประมาณ 2.5 ซม. ข้างใต้ขอบด้านบนไปยังกระดูกสันอก[3] โดยเลือดจะไหลจากส่วนโค้งด้านบน ไปยังส่วนบนของร่างกายในส่วนที่อยู่เหนือหัวใจ ได้แก่ แขน คอ และ ศรีษะ

ส่วนที่ออกมาจากหัวใจอย่างเอออร์ตาบริเวณอก จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุดได้ 40 มิลลิเมตรในส่วนที่เป็นรากของหลอดเลือด เมื่อเวลาผ่านไป มันจะกลายมาเป็นเอออร์ตาส่วนขึ้น และเส้นผ่านศูนย์กลางของมันควรอยู่ที่น้อยกว่า 35–38 มิลลิเมตร จากนั้นจึงลดลงเหลือ 30 มิลลิเมตรที่บริเวณส่วนโค้งเอออร์ติก และลดลงจนมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ควรเกิน 25 มิลลิเมตรที่เอออร์ตาส่วนลง[6][7]

ส่วนโค้งเอออร์ติกนั้นทอดตัวอยู่ในเมดิแอสตินัม

การพัฒนา[แก้]

ส่วนโค้งเอออร์ติก เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างเอออร์ตาส่วนขึ้นและเอออร์ตาส่วนลง และส่วนกลางของมันถูกสร้างขึ้นจากซุ้มเอออร์ติกฝั่งซ้ายลำดับที่ 4 ในช่วงของการพัฒนาระยะแรก[8]

หลอดเลือดดักตัสอาร์เตอริโอซัส (Ductus arteriosus) จะเชื่อมไปยังส่วนล่างของส่วนโค้งในช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์ โดยจะช่วยให้เลือดจากหัวใจห้องล่างขวาส่วนใหญ่ไหลอ้อมหลอดเลือดปอดในระหว่างการพัฒนา

ส่วนสุดท้ายของส่วนโค้งเอออร์ติกรู้จักในชื่อ คอคอดเอออร์ตา (isthmus of aorta) เหตุที่เรียกเช่นนี้มันเป็นส่วนที่ทำให้เอออร์ตาตีบแคบ (เหมือนคอคอด) ซึ่งเป็นผลมาจากการลดการไหลของเลือดเมื่อตอนที่เป็นทารกในครรภ์ โดยหัวใจห้องล่างซ้ายจะมีขนาดที่เพิ่มขึ้นแบบนั้นไปตลอดชีวิต และในที่สุดการตีบแคบนั้นก็จะขยายออกจนเป็นขนาดปกติ แต่ถ้าสิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น มันสามารถส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดเอออร์ตาคอดได้[9][10] ส่วนหลอดเลือดดักตัสอาร์เตอริโอซัสที่เชื่อมต่ออยู่กับส่วนสุดท้ายของส้วนโค้งของทารกในครรภ์ มันจะกลายเป็นเอ็นอาร์เตอริโอซุมเมื่อหลอดเลือดดังกล่าวนั้นฝ่อไป[9]

ความแตกต่าง[แก้]

ความแตกต่างมีอยู่สามประการทั่วไปในการเกิดของแขนงของส่วนโค้งเอออร์ติก ประมาณ 75% ของมนุษย์ จะมีแขนงแบบ "ปกติ" ดังเช่นที่อธิบายไปในข้างต้น แต่ในบางบุคคลนั้น หลอดเลือดแดงร่วมคอซ้ายอาจแยกออกมาจากหลอดเลือดแดงเบรเกียวเซฟาลิก แทนที่จะเป็นส่วนโค้งเอออร์ติกได้ ส่วนในกรณีอื่น ๆ นั้น หลอดเลือดแดงเบรเกียวเซฟาลิกและหลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย อาจมีการแบ่งปันจุดเริ่มต้นร่วมกันก็ได้[11] ความแตกต่างนี้พบในประชากรประมาณ 20% ส่วนแบบที่สามคือ หลอดเลือดแดงเบรเกียวเซฟาลิก จะแยกออกเป็นสามหลอดเลือดแดง นั้นคือ หลอดเลือดแดงร่วมคอซ้าย หลอดเลือดแดงร่วมคอขวา และหลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าขวา ลักษณะนี้จะพบในประชากรประมาณ 7%[11]

ความสำคัญทางคลินิค[แก้]

ปุ่มเอออร์ติก (aortic knob) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาอย่างน่าสงสัยของส่วนโค้งเอออร์ติกบนการถ่ายภาพรังสีทรวงอกด้านหน้า[12]

การตรึงเอออร์ตา (Aortopexy) เป็นขั้นตอนในการผ่าตัดที่ส่วนโค้งเอออร์ติก โดยการตรึงหลอดเลือดเข้ากับกระดูกสันอก เพื่อให้หลอดลมนั้นเปิดออกได้

ภาพเพิ่มเติม[แก้]

ส่วนโค้งเออร์ติกและแขนงของหนูในสปีชีส์ Rattus rattus

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 547 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )

  1. "The Cardiovascular System (Blood Vessels)". www2.highlands.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-03. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
  2. webmaster@studentconsult.com. "Printed from STUDENT CONSULT: Berne and Levy Physiology 6E - The Online Medical Library for Students plus USMLE Steps 123 (ver. 2.9)". users.atw.hu. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
  3. 3.0 3.1 3.2 Kulkarni, Neeta V. (2006). Clinical anatomy for students : problem solving approach. New Delhi: Jaypee Bros. Medical Publishers. p. 211. ISBN 978-8180617348.
  4. Singh, Inderbir (2011). Textbook of anatomy (5th ed.). New Delhi: Jaypee Brothers Medical Publishers. p. 465. ISBN 978-9350253823.
  5. Drake, Richard L.; Vogl, Wayne; Tibbitts, Adam W.M. Mitchell; illustrations by Richard; Richardson, Paul (2005). Gray's anatomy for students. Philadelphia: Elsevier/Churchill Livingstone. ISBN 978-0-8089-2306-0.
  6. Acad Radiol. 2008 Jul;15(7):827-34 doi:10.1016/j.acra.2008.02.001. PMID 18572117. PMC 2577848.
  7. JACC Cardiovasc Imaging. 2008 Mar;1(2):200-9. doi:10.1016/j.jcmg.2007.11.005. Wolak A, Gransar H, Thomson LE, Friedman JD, Hachamovitch R, Gutstein A, Shaw LJ, Polk D, Wong ND, Saouaf R, Hayes SW, Rozanski A, Slomka PJ, Germano G, Berman DS. PMID 19356429
  8. Bamforth, Simon D.; Chaudhry, Bill; Bennett, Michael; Wilson, Robert; Mohun, Timothy J.; Van Mierop, Lodewyk H.S.; Henderson, Deborah J.; Anderson, Robert H. (2013-03-01). "Clarification of the identity of the mammalian fifth pharyngeal arch artery". Clinical Anatomy (ภาษาอังกฤษ). 26 (2): 173–182. doi:10.1002/ca.22101. ISSN 1098-2353. PMID 22623372.
  9. 9.0 9.1 Rubin, Raphael; Strayer, David S., บ.ก. (2008). Rubin's Pathology: clinicopathologic foundations of medicine (5th ed.). Philadelphia [u.a.]: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. p. 442. ISBN 978-0-7817-9516-6.
  10. David P. Naidich; W. Richard Webb; Nester L. Muller; Ioannis Vlahos; Glenn A. Krinsky, บ.ก. (2007). Computed tomography and magnetic resonance of the thorax (4th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. p. 100. ISBN 978-0-7817-5765-2.
  11. 11.0 11.1 Spacek, Miloslav; Veselka, Josef (2012). "Letters to Editor Bovine arch". Archives of Medical Science. 1 (1): 166–167. doi:10.5114/aoms.2012.27297. ISSN 1734-1922. PMC 3309453. PMID 22457691.
  12. wrongdiagnosis.com > Aortic knob Citing: Stedman's Medical Spellchecker, 2006 Lippincott Williams & Wilkins.