เอออร์ตาส่วนลง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอออร์ตาส่วนลง
(Descending aorta)
แผนภาพของเอออร์ตา
ภาพมุมมองจากทางด้านซ้ายของแขนงเอออร์ตาอกส่วนลง
รายละเอียด
คัพภกรรมเอออร์ตาส่วนหลัง
จากเอออร์ตาส่วนขึ้น
แขนง
ตัวระบุ
ภาษาละตินAorta descendens,
pars descendens aortae
TA98A12.2.10.001
TA24185
FMA3784
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เอออร์ตาส่วนลง (อังกฤษ: Descending aorta) เป็นส่วนหนึ่งของเอออร์ตา ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เอออร์ตาส่วนลงมีจุดเริ่มต้นต่อจากส่วนโค้งเอออร์ติก ทอดตัวลงไปตามอกและท้อง โดยลักษณะทางกายภาพของเอออร์ตาส่วนลงประกอบด้วยสองส่วน คือ เอออร์ตาอกส่วนลง (Descending thoracic aorta) และ เอออร์ตาส่วนท้อง (Abdominal aorta) ตามบริเวณโพรงขนาดใหญ่ที่หลอดเลือดนี้ทอดตัวผ่าน ภายในท้อง เอออร์ตาส่วนลงจะแยกออกเป็นแขนงสองแขนงเรียกว่า หลอดเลือดแดงร่วมตะโพก ซึ่งไปเลี้ยงเชิงกรานและส่วนขาทั้งสองข้าง

หลอดเลือดดักตัสอาร์เตอริโอซัส (Ductus arteriosus) จะเชื่อมขึ้นเป็นที่เชื่อมระหว่างส่วนโค้งเอออร์ติกและเอออร์ตาส่วนลงในช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์ โดยเมื่อหลอดเลือดนี้ฝ่อลงจะกลายเป็นเอ็นอาร์เตอริโอซุม[1][2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

บทความนี้รวมเอาข้อความซึ่งเป็นสาธารณสมบัติจากหน้าที่ 598 ของหนังสือเกรย์อนาโตมีฉบับพิมพ์ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1918 )

  1. Rubin, Raphael; Strayer, David S., บ.ก. (2008). Rubin's Pathology: Clinicopathologic Foundations of Medicine (5th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 442. ISBN 9780781795166.
  2. Naidich, David P.; Webb, W. Richard; และคณะ, บ.ก. (2007). Computed Tomography and Magnetic Resonance of the Thorax (4th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 100. ISBN 9780781757652.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]