สเกนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สเกนต์

มงกุฎสเกนต์, มงกุฎคู่แห่งอียิปต์
รายละเอียด
สำหรับอียิปต์

สเกนต์ (/ˈskɛnt/; กรีก ψχέντ) เป็นมงกุฎคู่ที่ผู้ปกครองในอียิปต์โบราณทรงสวมใส่ ชาวอียิปต์โบราณเรียกโดยทั่วไปว่า เซเคมติ (sḫm.ty) ซึ่งแปลว่า ผู้ทรงอำนาจทั้งสอง[1] เป็นมงกุฎที่เป็นการรวมมงกุฎขาว (เฮดเจต) ของอียิปต์บนและมงกุฎแดง (เดชเรต) ของอียิปต์ล่าง

มงกุฎสเกนต์เป็นตัวแทนของพระราชอำนาจของฟาโรห์เหนืออียิปต์ที่เป็นปึกแผ่นทั้งหมด[2] ซึ่งมีสัญลักษณ์สัตว์สองตัว คือ งูเห่าอียิปต์หรือที่เรียกว่า อูเรอุส ที่พร้อมที่จะโจมตี โดยเป็นสัญลักษณ์ของเทพีวาดเจต ซึ่งเป็นเทพีแห่งอียิปต์ล่าง และอีแร้งอียิปต์ ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพีเนคเบต ผู้ที่ทรงปกครองอียิปต์บน ซึ่งสัญลักษณ์ทั้งสองก็จะติดอยู่ที่ด้านหน้าของมงกุฎสเกนต์ และเรียกสิ่งนั้นว่า สองสตรี

ประวัติ[แก้]

S5
 
S6
สเกนต์
"มงกุฎคู่"
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

การประดิษฐ์สร้างมงกุฎสเกนต์นั้น ซึ่งมีเกี่ยวข้องในช่วงสมัยราชวงศ์ที่หนึ่งของฟาโรห์เมเนส แต่ฟาโรห์พระองค์แรกที่ทรงเริ่มสวมมงกุฎคู่ คือ ฟาโรห์ดเจตจากราชวงศ์ที่หนึ่ง โดยปรากฏศิลาจารึกแสดงให้เห็นว่าเทพฮอรัสของพระองค์ทรงสวมมงกุฎดังกล่าว[3]

รายพระนามผู้ปกครองบนศิลาปาแลร์โมนั้น ซึ่งขึ้นต้นด้วยพระนามของฟาโรห์จากอียิปต์ล่าง (ปัจจุบันคิดว่าเป็นตำนานผู้ปกครองครึ่งคนครึ่งเทพ) ซึ่งทรงสวมมงกุฏแดง แสดงถึงการรวมประเทศด้วยการมอบมงกุฎสเกนต์ให้กับราชวงศ์ที่หนึ่งและฟาโรห์ในสมัยต่อมาทั้งหมด[4] ในทางกลับกัน ชิ้นส่วนของศิลาไคโรได้แสดงให้เห็นผู้ปกครองยุคก่อนประวัติศาสตร์ทรงสวมมงกุฎสเกนต์อยู่แล้ว[5]

ด้านโบราณคดี[แก้]

เช่นเดียวกับ กรณีของมงกุฎเดชเรต และมงกุฏเฮดเจต ไม่ปรากฏว่ามีมงกุฎสเกนต์ใดหลงเหลือมาถึงปัจจุบัน และเป็นที่ทราบมาจากเฉพาะจากรูปสลัก ภาพสลัก จารึก และนิทานโบราณเท่านั้น

ตำนานเทพปกรณัม[แก้]

ในบรรดาเทพเจ้าที่บางครั้งก็สวมมงกุฏคู่ ได้แก่ เทพฮอรัส[6] และเทพอาตุมหรือเทพรา ซึ่งทั้งสองเป็นทรงตัวแทนของฟาโรห์หรือทรงมีความสัมพันธ์พิเศษกับฟาโรห์[7]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Griffith, Francis Llewellyn, A Collection of Hieroglyphs: A Contribution to the History of Egyptian Writing, the Egypt Exploration Fund 1898, p.56
  2. Dunand, Françoise; Christiane Zivie-Coche, Gods and Men in Egypt: 3000 BCE to 395 CE, Cornell University Press 2004, pp.32f.
  3. Wilkinson, Toby A. H., Early Dynastic Egypt, Routledge 1999, p.196
  4. Trigger, B. G. (1982). "The rise of civilization in Egypt". ใน Clark, J. Desmond (บ.ก.). The Cambridge History of Africa. Volume 1, From the Earliest Times to c.500 BC. Cambridge: Cambridge University Press. p. 521. doi:10.1017/CHOL9780521222150.008. ISBN 9781139054553.
  5. Kemp, Barry John, Ancient Egypt: Anatomy Of A Civilization, Routledge 2006, p.92
  6. Zandee, Jan, Studies in Egyptian Religion: Dedicated to Professor Jan Zandee, Brill 1982, p.74
  7. The New Encyclopædia Britannica, Encyclopædia Britannica, Inc. 2005, p. 689