สุมินทร์ อุปโยคิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุมินทร์ อุปโยคิน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดราว พ.ศ. 2453
เสียชีวิต18 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (อายุ 37 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสกาญจนา อุปโยคิน

สุมินทร์ อุปโยคิน เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่[1] และเป็นนักธุรกิจสัมปทานป่าไม้ในจังหวัดเชียงใหม่[2]

ประวัติ[แก้]

สุมินทร์ อุปโยคิน เกิดราวปี พ.ศ. 2453 ในครอบครัว "อุปะโยคิน" ซึ่งมีต้นตระกูลคือ รองอำมาตย์เอกหลวงโยนะการพิจิตร(ปันโหย่ อุปะโยคิน หรือพญาตะก่าพ่อค้าไม้ชาวพม่า) ท่านเป็น กรมการพิเศษในกองข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลพายัพ คนทั่วไปเรียกท่านว่า หลวงโยฯ แต่ราชการไทยเรียกท่านว่ามองปันโย[3][4] ท่านเป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่าที่ช่วยเจ้าหลวงสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์และบูรณะวัดมากมาย[5][6] จากการประกอบคุณความดีสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณสมบัติ อย่างต่อเนื่องและการช่วยเหลือทางราชการครั้งปราบกบฏเงี้ยว ที่เมืองแพร่ ส่งผลให้หม่องปันโยเป็นคนเชื้อสายพม่าคนแรก ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ไทย สามรัชกาลคือ รัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งให้เป็นหลวงโยนะการพิจิตรและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[7] รัชกาลที่ 6 พระราชทานนามสกุล[7] และรัชกาลที่ 7 พระราชทาน หีบเพลิงเมื่อถึงแก่กรรม[7] นอกจากนั้นยังได้รับความไว้วางใจจากเจ้าหลวงและเจ้านายฝ่ายเหนือ ให้ทำป่าไม้ในพื้นที่ป่าหลายแห่ง ท่านเป็นผู้นำคนในบังคับอังกฤษในเชียงใหม่[3] [4][5][6]  บ้านเดิมของท่านคือบ้านไม้สักในโรงแรมเพชรงามเชียงใหม่ ปัจจุบันคือ โรงแรมเพชรงาม ถนนเจริญประเทศ[2]

สุมินทร์ อุปโยคิน เป็นบุตรของนายอูบะส่วย อุปโยคิน (บุตรชายหลวงโยนการพิจิตร) กับนางบัวจี๋ อุปโยคิน นายสุมินทร์ เรียนหนังสือที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และต่อมาเข้าไปเรียนต่อที่ธรรมศาสตรบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[8] แล้วจึงกลับมาเชียงใหม่เพื่อทำสัมปทานป่าไม้ จนกระทั่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งเพิ่มเติมในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 4 นายสุมินทร์ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.เชียงใหม่ สมัยแรก[2]

แต่เมื่อทำงานได้ไม่นาน สุมินทร์ อุปโยคิน ก็เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ด้วยโรคมะเร็ง ในขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ รวมอายุได้ 37 ปี[2][9]

สุมินทร์ สมรสกับนางกาญจนา อุปโยคิน มีบุตร 6 คน[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. พัฒนาการกลุ่มทุนการเมืองในภาคเหนือของประเทศไทย: การเปลี่ยนทุนเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมให้เป็นทุนการเมือง
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
  3. 3.0 3.1 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระ และอุปถัมภ์วัด..(ตามรอย 1) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  4. 4.0 4.1 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระและอุปถัมภ์วัด(ตามรอย12..พระมหากรุณาธิคุณ) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  5. 5.0 5.1 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมป์พระเจดีย์ สร้างพระ และอุปถัมภ์วัด(ตามรอย 4 ...วัดสำคัญ) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  6. 6.0 6.1 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระและอุปถัมภ์วัด(ตามรอย11..ในราชกิจจานุเบกษา) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  7. 7.0 7.1 7.2 "หลวงโยนะการพิจิตร..พ่อค้าไม้ชาวพม่าผู้อุปถัมภ์พระเจดีย์ สร้างพระและอุปถัมภ์วัด(ตามรอย12..พระมหากรุณาธิคุณ) - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  8. ศราวุฒิ วิสาพรม. ราษฎรสามัญหลังวันปฏิวัติ ๒๔๗๕.
  9. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 21/วันที่ 28 กรกฎาคม 2490