ข้ามไปเนื้อหา

สีน้ำเงินอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สีน้ำเงินอียิปต์
 
About these coordinates     Color coordinates
Hex triplet#1034A6
ระบบสี RGBB (r, g, b)(16, 52, 166)
HSV (h, s, v)(226°, 90%, 65%)
CIELChuv (h, s, v)(28, 82, 263°)
SourceInternet
B: อยู่ในช่วง [0–255] (ไบต์)
สีน้ำเงินอียิปต์

สีน้ำเงินอียิปต์ หรือ สีฟ้าอียิปต์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ แคลเซียมคอปเปอร์ซิลิเกต (CaCuSi4O10 or CaOCuO(SiO2)4 (calcium copper tetrasilicate)) หรือคูโปรรีไวต์ เป็นรงควัตถุที่ใช้ในอียิปต์โบราณเป็นเวลาหลายพันปี ซึ่งถือว่าเป็นเม็ดสีสังเคราะห์ชนิดแรก สีนี้เป็นที่รู้จักของชาวโรมันด้วยชื่อซีรูเลียม – ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเซรูเลียน ซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ หลังจากยุคโรมัน การใช้สีน้ำเงินอียิปต์ได้ลดลงและลักษณะของการสร้างสีดังกล่าวได้ถูกลืม

สำหรับ wꜣḏ ซึ่งเป็นศัพท์ภาษาอียิปต์โบราณหมายถึงสีน้ำเงิน, ฟ้าเขียว และสีเขียว

ส่วนการบันทึกครั้งแรกของ "Egyptian Blue" ในฐานะชื่อสีเป็นภาษาอังกฤษมีใน ค.ศ. 1809[1]

การนิยาม

[แก้]
พิกซิสที่ทำจาก"สีน้ำเงินอียิปต์": ที่นำเข้าสู่อิตาลีจากตอนเหนือของซีเรีย โดยผลิตขึ้นเมื่อ 750–700 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ซึ่งได้รับการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์อัลเทส ในกรุงเบอร์ลิน)

สีน้ำเงินอียิปต์ เป็นรงควัตถุสีน้ำเงินที่ประกอบด้วยซิลิกา, ปูนขาว, ทองแดง และแอลคาไลน์ สีของมันเป็นเพราะเตตระซิลิเกต แคลเซียม-ทองแดง CaCuSi4O10 ขององค์ประกอบเช่นเดียวกับแร่คูโปริไวต์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มันถูกสร้างขึ้นในอียิปต์ในช่วงสามพันปีก่อนคริสต์ศักราช และเป็นเม็ดสีสังเคราะห์ชนิดแรกที่ผลิตได้ที่นั่น ต่อเนื่องจนถึงสิ้นยุคกรีก-โรมัน (332 ปีก่อนคริสต์ศักราช–คริสต์ศักราช 395)[ต้องการอ้างอิง]

คำในภาษาอียิปต์คือ ḫsbḏ-ỉrjt ซึ่งหมายความว่าแลพิสแลซูลีเทียม (ḫsbḏ)[2] มันถูกใช้ในสมัยโบราณในฐานะรงควัตถุสีน้ำเงินเพื่อความหลากหลายของตัวกลางที่แตกต่างกัน เช่น หิน, ไม้, ปูนฉาบผนัง, ต้นปาปิรัส และผ้าใบ รวมทั้งในการผลิตของวัตถุจำนวนมาก ได้แก่ กระบอกตราประทับ, ลูกปัด, สัญลักษณ์แมลงสคารับ, งานฝังประดับ, กระถาง และรูปปั้น บางครั้งก็ได้รับการอ้างถึงในวรรณคดีอียิปต์ในฐานะฟริตสีน้ำเงิน บางคนแย้งว่านี่เป็นคำที่ผิดพลาดที่ควรสงวนไว้สำหรับใช้ในการอธิบายขั้นตอนเริ่มต้นของการผลิตหรือเคลือบแก้ว[3] ในขณะที่คนอื่น ๆ อ้างว่าสีน้ำเงินอียิปต์เป็นฟริตทั้งแบบละเอียดและหยาบเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาของสภาวะของแข็ง[4] มันมีลักษณะสีน้ำเงิน อันเป็นผลมาจากส่วนประกอบหลัก—ทองแดง—มีตั้งแต่สีอ่อนจนถึงสีเข้ม ขึ้นอยู่กับการแปรสภาพและองค์ประกอบที่ต่างกัน

นอกเหนือจากอียิปต์ มันก็ยังได้รับการพบในตะวันออกใกล้, ทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และวงจำกัดของจักรวรรดิโรมัน ซึ่งไม่ชัดเจนว่าการดำรงอยู่ของรงควัตถุที่อื่นเป็นผลมาจากการประดิษฐ์แบบคู่ขนาน หรือเค้าเงื่อนการแพร่กระจายของเทคโนโลยีจากอียิปต์ไปยังพื้นที่ดังกล่าว

ประวัติและภูมิหลัง

[แก้]

ชาวอียิปต์โบราณจัดสีน้ำเงินขึ้นในความเคารพอย่างสูง และมีความกระตือรือร้นที่จะนำเสนอในหลายสื่อรวมทั้งในรูปแบบต่าง ๆ พวกเขายังต้องการที่จะเลียนแบบหินสังเคราะห์เทอร์คอยส์และแลพิสแลซูลี ซึ่งมีคุณค่าสำหรับความหายากและสีน้ำเงินเข้มของพวกเขา การใช้แร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น อะซูไรต์ เพื่อให้ได้สีน้ำเงินนี้เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ เนื่องจากแร่เหล่านี้หายากและยากที่จะก่อผล[ต้องการอ้างอิง] ดังนั้น เพื่อให้สามารถเข้าถึงสีน้ำเงินจำนวนมากที่ต้องการได้ ชาวอียิปต์จำเป็นต้องผลิตรงควัตถุเอง

ชาวอียิปต์พัฒนารงควัตถุได้หลากหลาย รวมถึงสิ่งที่บัดนี้เป็นที่รู้จักในฐานะสีน้ำเงินอียิปต์ ซึ่งเป็นสีแรกในช่วงเวลาแห่งการพัฒนา ความสำเร็จนี้เกิดจากความก้าวหน้าของอียิปต์ในฐานะที่เป็นสังคมเกษตรกรรม อารยธรรมที่มั่นคงและเป็นที่ยอมรับนี้สนับสนุนการเติบโตของแรงงานนอกระบบ รวมทั้งนักบวชและเทวาธิปไตยอียิปต์ ฟาโรห์อียิปต์เป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะ และเป็นสิ่งกระตุ้นสำหรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรงควัตถุ[ต้องการอ้างอิง]

หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดสำหรับการใช้สีน้ำเงินอียิปต์ ที่ได้รับการระบุโดยนักอียิปต์วิทยา ลอร์เล เอช. คอร์โคราน แห่งมหาวิทยาลัยเมมฟิส ว่าอยู่บนชามเศวตศิลาลงวันที่ปลายสมัยก่อนราชวงศ์หรือนาคาดาที่สาม (ประมาณ 3,250 ปีก่อนคริสต์ศักราช) โดยได้รับการขุดพบที่เฮียราคอนโปลิส และตอนนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ บอสตัน[5] ในราชอาณาจักรกลาง (2,050–1,652 ปีก่อนคริสต์ศักราช) มันยังคงใช้เป็นสีในการตกแต่งของสุสาน, ภาพวาดฝาผนัง, เครื่องเรือน และรูปปั้น รวมทั้งโดยราชอาณาจักรใหม่ (1,570–1,070 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ที่เริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตของวัตถุจำนวนมาก มีการใช้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงปลายยุค รวมทั้งยุคกรีก-โรมัน สีดังกล่าวกำลังจะถึงจุดอวสานในคริสต์ศตวรรษที่สี่ เมื่อความลับในการผลิตได้หายไป[6]

ไม่มีข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษรในข้อความอียิปต์โบราณเกี่ยวกับการผลิตสีน้ำเงินอียิปต์ในสมัยโบราณ และเป็นครั้งแรกที่กล่าวถึงในวรรณคดีโรมันโดยวิตรูวิอุสในช่วงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[7] เขาอ้างถึงมันในฐานะ ซีรูเลียม และอธิบายในหนังสือ เด อาร์กีเตกตูรา ของเขา ว่ามันได้รับการผลิตโดยการบดทราย, ทองแดง และเนทรอน รวมทั้งความร้อนผสม โดยทำให้มีรูปทรงเป็นลูกกลมเล็ก ๆ ในเตา มะนาวเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิต แต่อาจใช้ทรายที่อุดมไปด้วยมะนาวเช่นกัน ส่วนธีโอฟราสตัสให้คำศัพท์ต่อสีดังกล่าวเป็นภาษากรีกว่า κύανος (กีอานอส, สีน้ำเงิน)[8] ซึ่งเดิมอาจอ้างถึงแลพิสแลซูลี ในที่สุด เฉพาะที่จุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 19 ได้เกิดความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตเมื่อสีดังกล่าวได้รับการตรวจสอบโดยเซอร์ ฮัมฟรี เดวี ใน ค.ศ. 1815[9] และคนอื่น ๆ เช่น ดับเบิลยู. ที. รัสเซลล์ และเอฟ. โฟค

องค์ประกอบและการผลิต

[แก้]

การทดลองหลายครั้งได้ดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีที่สนใจในการวิเคราะห์องค์ประกอบของสีน้ำเงินอียิปต์รวมทั้งเทคนิคที่ใช้ในการผลิต ตอนนี้ถือว่าโดยทั่วไปแล้วเป็นวัสดุที่ผลิตหลายขั้นตอน โดยการให้ความร้อนทรายควอทซ์, สารประกอบทองแดง, แคลเซียมคาร์บอเนต และและมีด่างเล็กน้อยร่วมกัน (เถ้าจากพืชดินเค็มทนเกลือ หรือเนทรอน) ที่อุณหภูมิระหว่าง 800 ถึง 1,000 องศาเซลเซียส (1,470 ถึง 1,830 องศาฟาเรนไฮต์) (ขึ้นอยู่กับปริมาณของด่างที่ใช้) เป็นเวลาหลายชั่วโมง[10] ผลที่ได้คือคูโปรรีไวต์หรือสีน้ำเงินอียิปต์, คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ:

Cu2CO3(OH)2 + 8 SiO2 + 2 CaCO3 → 2 CaCuSi4O10 + 3 CO2 + H2O

ในสถานะสุดท้าย สีน้ำเงินอียิปต์ประกอบด้วยผลึกสีน้ำเงินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพร้อมกับควอตซ์ที่ยังไม่ผ่านการทำปฏิกิริยาและแก้วบางส่วน จากการวิเคราะห์ตัวอย่างจากประเทศอียิปต์และที่อื่น ๆ เปอร์เซ็นต์น้ำหนักของวัสดุที่ใช้ในการได้สีน้ำเงินอียิปต์ในสมัยโบราณได้รับการพิจารณาถึงช่วงปกติภายในปริมาณเหล่านี้:[10]

ซิลิกา (SiO2) 60–70 เปอร์เซ็นต์
แคลเซียมออกไซด์ (CaO) 7–15 เปอร์เซ็นต์
คอปเปอร์(II) ออกไซด์ (CuO) 10–20 เปอร์เซ็นต์

เพื่อให้ได้คูโปรรีไวต์ตามทฤษฎี ที่เกิดผลึกน้ำเงินเท่านั้น โดยไม่มีผลึกควอตซ์ที่ไม่ผ่านการทำปฏิกิริยาหรือการก่อตัวของแก้ว เปอร์เซ็นต์เหล่านี้จะต้องใช้:[10]

ซิลิกา 64 เปอร์เซ็นต์
แคลเซียมออกไซด์ 15 เปอร์เซ็นต์
คอปเปอร์ออกไซด์ 21 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม ไม่มีตัวอย่างที่วิเคราะห์มาจากสมัยโบราณทำจากองค์ประกอบที่ชัดเจนนี้ ในฐานะที่มีส่วนเกินของซิลิกา รวมไปถึงส่วนเกินของทั้งคอปเปอร์ออกไซด์และแคลเซียมออกไซด์[11] เรื่องนี้อาจเกิดขึ้นโดยเจตนา; การเพิ่มขึ้นของปริมาณแอลคาไลน์ในรงควัตถุมีผลึกควอตซ์ที่ไม่ได้ทำปฏิกิริยามากขึ้นในเมทริกซ์แก้ว ซึ่งส่งผลต่อพื้นผิวที่แข็งกว่า[10] ส่วนการลดปริมาณแอลคาไลน์ (น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์) จะทำให้แก้วไม่สามารถก่อตัวได้และสีน้ำเงินอียิปต์อ่อนนุ่มขึ้น โดยมีค่าความแข็ง 1–2 โมส[11]

นอกเหนือจากวิธีการที่องค์ประกอบต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อพื้นผิว วิธีการแปรรูปของสีน้ำเงินอียิปต์ยังมีผลต่อพื้นผิวในแง่ของความหยาบและความละเอียด หลังจากการทดลองหลายครั้ง ไทต์ และคณะ ได้สรุปว่าสำหรับสีน้ำเงินอียิปต์ที่มีเนื้อละเอียด มีความจำเป็นสองขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลึกสลับกัน ขั้นตอนแรก ส่วนผสมจะได้รับการให้ความร้อน และผลที่ได้คือผลิตผลพื้นผิวหยาบ แล้วนำไปบดเป็นผงละเอียดและเติมน้ำ จากนั้น สิ่งที่มีลักษณะเหนียวนี้จะได้รับการปรับโฉมใหม่และเผาอีกครั้งที่อุณหภูมิตั้งแต่ 850 ถึง 950 องศาเซลเซียสเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง ทั้งสองขั้นตอนนี้เป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดสิ่งที่มีลักษณะเหนียวดังกล่าวที่เหมาะสำหรับการผลิตวัตถุขนาดเล็ก สีน้ำเงินอียิปต์พื้นผิวหยาบ จะไม่ได้ผ่านขั้นตอนที่สอง เนื่องจากมักพบในรูปของแผ่น (ในยุคราชวงศ์) และลูกกลม (ในยุคกรีก-โรมัน) รูปแบบเหล่านี้อาจมีทั้งรอการแปรรูปผ่านขั้นตอนที่สอง ที่สีเหล่านั้นจะถูกบดและมีพื้นผิวประณีต หรือสีเหล่านั้นจะจะถูกบดเพื่อใช้ในฐานะรงควัตถุสีน้ำเงิน[10]

ลำดับชั้นของสีน้ำเงินที่เข้าถึงยังเกี่ยวข้องกับความหยาบและความละเอียดของสีน้ำเงินอียิปต์ ตามที่กำหนดโดยระดับของการรวมตัวของผลึกสีน้ำเงินอียิปต์ สีน้ำเงินอียิปต์แบบหยาบมีรูปแบบที่ค่อนข้างหนา เนื่องจากมีกลุ่มคริสตัลขนาดใหญ่ซึ่งเป็นไปตามผลึกที่ยังไม่ได้ทำปฏิกิริยา การจัดกลุ่มนี้ทำให้เกิดสีน้ำเงินเข้มที่มีลักษณะสีน้ำเงินอียิปต์แบบหยาบ ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ พื้นผิวน้ำเงินอียิปต์ประกอบด้วยกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีการกระจายตัวกันระหว่างอนุภาคผลึกที่ยังไม่ได้ทำปฏิกิริยา มีแนวโน้มที่จะเป็นน้ำเงินอ่อน[10] แม้ว่าสีน้ำเงินได้รับการปรับลดลง แต่มันก็ได้รับการนำมาใช้เป็นสีน้ำเงินอียิปต์ที่มีเนื้อละเอียด ซึ่งมีแก้วจำนวนมากที่สร้างขึ้นจากองค์ประกอบของมัน ที่ปกปิดด้วยสีน้ำเงิน และทำให้มีลักษณะเจือจาง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับของแอลคาไลน์ที่เพิ่มเข้ามาในส่วนผสม ดังนั้น ด้วยแอลคาไลน์ที่มากขึ้น แก้วก็จะยิ่งก่อตัวมากขึ้น และลักษณะเจือจางมากขึ้น[10] สีน้ำเงินอียิปต์ชนิดนี้เป็นที่ประจักษ์โดยเฉพาะในช่วงราชวงศ์ที่ 18 และหลังจากนั้น รวมทั้งอาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีแก้วในช่วงดังกล่าว[3]

หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการ สีน้ำเงินอียิปต์ก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างน่าพอใจ ตัวอย่างเช่น หากอุณหภูมิสูงกว่า 1,050 องศาเซลเซียส มันจะไม่เสถียร[12] หากมีการเติมปูนขาวมากเกินไป โวลลาสโทไนต์ (CaSiO3) จะเกิดเป็นรงควัตถุสีเขียว ส่วนผสมทองแดงที่มากเกินไปส่งผลให้มีส่วนเกินของคอปเปอร์ออกไซด์ของคูไปรท์และเทนอไรต์[12]

แหล่งที่มา

[แก้]

องค์ประกอบหลักของสีน้ำเงินอียิปต์คือซิลิกา และทรายควอตซ์พบอยู่ติดกับสถานที่มีสีน้ำเงินอียิปต์อาจเป็นแหล่งที่มา[10] แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมรองรับสมมติฐานนี้ หลักฐานเดียวที่อ้างถึงคือโดยแจ็คช์และคณะ ผู้พบผลึกของไททาโนแมกนีไทต์ ซึ่งเป็นแร่ที่พบในทรายทะเลทราย ในตัวอย่างที่เก็บรวบรวมจากหลุมฝังศพของแซบนี (ราชวงศ์ที่หก) การปรากฏตัวเป็นสีน้ำเงินของอียิปต์บ่งชี้ว่ามีการใช้ทรายควอตซ์ แทนที่จะเป็นหินเหล็กไฟ หรือหินเชิร์ต ซึ่งถูกใช้ในฐานะแหล่งซิลิกา สิ่งนี้แตกต่างกับแหล่งที่มาของซิลิกาที่ใช้ในการทำแก้วที่กอนตีร (ที่ตั้งราชอาณาจักรใหม่ราเมสซิด) ซึ่งเป็นก้อนกรวดควอตซ์ไม่ใช่ทราย[13]

เชื่อกันว่าแคลเซียมออกไซด์ไม่ได้รับการเพิ่มโดยเจตนาด้วยตัวของมันเองในระหว่างการผลิตสีน้ำเงินอียิปต์ แต่ถูกนำมาใช้เป็นสิ่งเจือปนในทรายควอตซ์และแอลคาไล[10] ไม่ว่าช่างฝีมือที่เกี่ยวข้องกับการผลิตได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเติมปูนขาวลงในส่วนผสมสีน้ำเงินอียิปต์หรือไม่ ซึ่งยังไม่ชัดเจนจากสิ่งนี้

แหล่งที่มาของทองแดงอาจเป็นแร่ทองแดง (เช่น มาลาไคต์), ขี้ตะไบจากแท่งทองแดง หรือเศษสัมฤทธิ์ และโลหะผสมอื่น ๆ ก่อนราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์ มีหลักฐานน้อยมากว่าแหล่งทองแดงใดถูกใช้ แต่เชื่อกันว่าเป็นแร่ทองแดง โดยในช่วงราชอาณาจักรใหม่ดังกล่าว ได้มีการพบหลักฐานการใช้โลหะผสมทองแดง เช่น สัมฤทธิ์ เนื่องจากมีดีบุก, สารหนู หรือตะกั่วในปริมาณที่แตกต่างกันซึ่งพบในวัสดุสีน้ำเงินอียิปต์[12] การปรากฏตัวของทินออกไซด์อาจมาจากแร่ทองแดงที่มีทินออกไซด์ และไม่ได้มาจากการใช้สัมฤทธิ์ อย่างไรก็ตาม ไม่พบแร่ทองแดงที่มีปริมาณทินออกไซด์เหล่านี้[12] ส่วนเหตุใดการเปลี่ยนจากการใช้แร่ทองแดงในสมัยก่อน มาเป็นการใช้เศษสัมฤทธิ์ในปลายยุคสัมฤทธิ์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด

อ้างอิง

[แก้]
  1. Maerz and Paul A Dictionary of Color New York:1930 McGraw-Hill Page 194; Color Sample of Sunset: Page 93 Plate 35 Color Sample L8
  2. Pagès-Camagna S, (1998) "Bleu et vert égyptiens en question: vocabulaire et analyses" in La couleur dans la peinture et l’émaillage de l’Egypte Ancienne, CUEBC, Ravello, 20–22 mars 1997 (Colinart S, Menu M, eds), Ed. Edipuglia, Bari, 51–59.
  3. 3.0 3.1 Lee, L.; Quirke, S. (2000). "Painting materials". Ancient Egyptian materials and technology. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-45257-1. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  4. Nicholson, P.T. & Henderson, J. 2000, Glass. In: In: P. Nicholson and I. Shaw (eds.), Ancient Egyptian materials and technology. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-45257-0
  5. Lorelei H. Corcoran, “The Color Blue as an ‘Animator’ in Ancient Egyptian Art,” in Rachael B.Goldman, (Ed.), Essays in Global Color History, Interpreting the Ancient Spectrum (NJ, Gorgias Press, 2016), pp. 59-82.
  6. Chase, W.T. 1971, Egyptian blue as a pigment and ceramic material. In: R. Brill (ed.) Science and Archaeology. Cambridge, Mass: MIT Press. ISBN 0-262-02061-0
  7. Vitruvius, De Architectura, Book VII, Chapter 11.
  8. Theophrastus, de Lapidibus (On Stones), section 55.
  9. Sir Humphry Davy (1815) "Some experiments and observations on the colours used in painting by the ancients," Philosophical Transactions of the Royal Society of London, vol. 105, pages 97–124. Reprinted in: The Collected Works of Sir Humphry Davy,... (London, England: Smith, Elder, and Co., 1840), vol. VI, pages 131–159.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 10.8 Tite, M.S., Bimson, M. & Cowell, M.R. (1987). "The technology of Egyptian blue". ใน M. Bimson; I.C. Freestone (บ.ก.). Early Vitreous materials. British Museum occasional paper 56. London: British Museum. ISBN 978-0-86159-056-8.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Tite, M.S., Bimson, M. & Cowell, M.R. (1984). "Technological examination of Egyptian blue". ใน J.B. Lambert (บ.ก.). Archaeological Chemistry III. Advances in chemistry series 205. Washington, DC: American Chemical Society. ISBN 978-0-8412-0767-7.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Jaksch, H., Seipel, W., Weiner, K.L. & El Goresy, A. (1983). "Egyptian Blue- Cuprorivaite, a window to Ancient Egyptian technology". Die Naturwissenschaften. 70 (11): 525–535. Bibcode:1983NW.....70..525J. doi:10.1007/BF00376668. S2CID 2457936.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Rehren, Th.; Pusch, E.B. (2005). "Late Bronze Age glass production at Qantir-Piramesses, Egypt". Science. 308 (5729): 1756–1758. Bibcode:2005Sci...308.1756R. doi:10.1126/science.1110466. PMID 15961663.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Dayton, J. 1978, Minerals, metals, glazing & man, or, Who was Sesostris I? London: Harrap. ISBN 0-245-52807-5.
  • Lucas, A. & Harris. J.R. [1948] 1999, Ancient Egyptian materials and industries. Dover books on Egypt. Mineola, N.Y. : Dover. ISBN 0-486-40446-3.
  • Noll, W. 1981, Mineralogy and technology of the painted ceramics of ancient Egypt. In: M.J. Huges (ed.) Scientific studies in ancient ceramics. Occasional paper 19. London : British Museum, ISBN 0-86159-018-X.
  • Rehren, Th. & Pusch, E.B. & Herold, A. 1998, Glass coloring works within a copper-centered industrial complex in Late Bronze Age Egypt. In: McCray, P (ed), The prehistory and history of glassmaking technology. Ceramics and Civilization 8. Westerville, OH: American Ceramic Society. ISBN 1-57498-041-6
  • Riederer, J. 1997, Egyptian Blue. In: E.W. Fitzhugh, (ed.), Artists’ pigments 3: 23–45. Oxford university Press. ISBN 0-89468-256-3
  • Tite, M.S. 1985, Egyptian blue, faience and related materials: technological investigations. In: R.E. Jones & H.W. Catling (eds.) Science in Archaeology : proceedings of a meeting held at the British School at Athens, January 1985. London : Leopard's Head. ISBN 0-904887-02-2.
  • Warner, T.E. 2011, Artificial Cuprorivaite CaCuSi4O10 (Egyptian Blue) by a Salt-Flux Method. In: Terence E. Warner, Synthesis, Properties and Mineralogy of Important Inorganic Materials, 26–49. Chichester: Wiley. ISBN 978-0-470-74611-0.
  • Wiedemann, H.G., Bayer, G. & Reller, A. 1998, Egyptian blue and Chinese blue. Production technologies and applications of two historically important blue pigments. In: S. Colinart & M. Menu (eds.), La couleur dans la peinture et lémaillage de l’Egypte Ancienne. Scienze e materiali del patrimonio culturale 4. Bari: Edipuglia. ISBN 88-7228-201-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]