สาธารณรัฐตากาล็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาธารณรัฐตากาล็อก (ตากาล็อก: Republika ng Katagalugan) เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงรัฐบาลปฏิวัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติฟิลิปปินส์ต่อต้านสเปนและสงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐอเมริกา 2 รัฐบาล โดยรัฐบาลหนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับขบวนการกาตีปูนัน

ชื่อ[แก้]

คำว่าตากาล็อกเป็นคำที่อ้างถึงกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาในฟิลิปปินส์ กาตากูลากัน (Katagalugan) อาจจะอ้างถึงประวัติศาสตร์ของบริเวณตากาล็อกในเกาะลูซอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม สมาคมลับกาติปูนันได้อธิบายการใช้คำว่าตากาล็อกว่า “คำว่าตากาล็อกหมายถึงทุกคนที่เกิดในหมู่เกาะ ตลอดทั้งวิซายัน อีโลกาโน ปัมปาโง เป็นต้น ทั้งหมดเป็นตากาล็อก”[1][2] นักปฏิวัติคาร์ลอส รอนกีโญ เขียนในบันทึกความทรงจำของเขาว่า “คำว่าตากาล็อกหรือชื่อตากาล็อกไม่ได้มีความหมายอื่น แต่ตากาอิล็อกเป็นการติดตามจนถึงรากเหง้า อ้างถึงการจัดตั้งที่อยู่อาศัยตามแนวแม่น้ำ ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าทั้งหมดเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ทั้งในเกาะหรือในเมือง” โดยความคิดนี้ กาตากูลากันอาจจะแปลได้ว่าชาติตากาล็อก

อันเดรส โบนีฟาซีโอ สมาชิกก่อตั้งของกาติปูนันและต่อมากลายเป็นผู้นำสูงสุด สนับสนุนให้ใช้คำว่ากาตากูลากันสำหรับชาติฟิลิปปินส์ คำว่าฟิลิปิโนถูกกำหนดให้ใช้สำหรับชาวสเปนที่เกิดในหมู่เกาะ โดยฟิลิปิโนและฟิลิปินาสมีรากที่เกี่ยวข้องกับอาณานิคม[1]

รัฐอธิปไตยแห่งชาติตากาล็อกของโบนิฟาซิโอ[แก้]

รัฐอธิปไตยตากาล็อก

Haring Bayang Katagalugan
พ.ศ. 2439–พ.ศ. 2440
ธงชาติสาธารณรัฐตากาล็อก
ธงรูปแบบหนึ่งของ กาตีปูนัน
ตราใหญ่ของสาธารณรัฐตากาล็อก
ตราใหญ่
เพลงชาติมารางัล นา ดาลิต นัง คาตากาลูกัน
"Marangál na Dalit ng̃ Katagalugan"
"Honorable Hymn of the Tagalog Nation"
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
เมืองหลวงตอนโด (มะนิลา)
การปกครองสาธารณรัฐปฏิวัติ
ประธานาธิบดี 
ยุคประวัติศาสตร์การปฏิวัติฟิลิปปินส์
• ก่อตั้ง
24 สิงหาคม พ.ศ. 2439
• สิ้นสุด
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2440
สกุลเงินเปโซ
ก่อนหน้า
ถัดไป
สเปนอีสต์อินดีส
สเปนอีสต์อินดีส

ใน พ.ศ. 2439 การปฏิวัติฟิลิปปินส์ปะทุขึ้นหลังจากที่รัฐบาลอาณานิคมตรวจพบกาติปูนัน เมื่อการปฏิวัติเกิดขึ้น กาติปูนันกลายเป็นรัฐบาลปฏิวัติที่เปิดเผย นักประวัติศาสตร์ชาวสหรัฐ จอห์น อาร์ เอ็ม เทย์เลอร์ ได้เขียนไว้ว่า “กาติปูนันมาจากการออกแบบอย่างลับๆ มีจุดยืนที่เปิดเผยเกี่ยวกับเอกราชของฟิลิปปินส์” นักประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์หลายท่าน เช่น เกรโกริโอ ไซเด ได้กล่าวว่า “กาติปูนันเป็นมากกว่าสมาคมปฏิวัติลับ แต่เป็นรัฐบาล โบนาฟาซิโอมุ่งหมายให้กาติปูนันบริหารฟิลิปปินส์ทั้งหมดหลังจากล้มล้างการปกครองของสเปน” ในทำนองเดียวกัน เรนาโต คอนสแตนติโนได้เขียนไว้ว่ากาติปูนันเป็นรัฐบาลเงา

ในวันสิ้นเดือนสิงหาคม สมาชิกกาติปูนันประชุมที่กาโลโอกันและตัดสินใจเริ่มการปฏิวัติ แต่สถานที่ในการประชุมจริงๆยังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่ การต่อสู้โดยใช้กำลังเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2440 ที่กาวิเต นำโดยเอมีลีโอ อากีนัลโด นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น โบนิฟาซิโอถูกประหารชีวิตเมื่อเขาไม่ยอมรับรัฐบาลใหม่ สาธารณรัฐฟิลิปินส์ภายใต้การนำของอากีนัลโดถือเป็น สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ถือว่าก่อตั้งอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2442 รัฐบาลที่ตามมาต่อจากนี้ทั้งรัฐบาลเตเยเรสและสาธารณรัฐเบียกนาบาโตมีอากีนัลโดเป็นผู้นำเช่นกัน

สาธารณรัฐกาตากูลากันของซากาย[แก้]

สาธารณรัฐกาตากูลากัน

Repúbliká ng̃ Katagalugan
พ.ศ. 2445–พ.ศ. 2449
ธงชาติสาธารณรัฐกาตากูลากัน
ธง
ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐกาตากูลากัน
ตราแผ่นดิน
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
การปกครองสาธารณรัฐ
ประธานาธิบดี 
รองประธานาธิบดี 
ยุคประวัติศาสตร์สงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐอเมริกา
• ประกาศเอกราช
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2445
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2449
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐบาลทหารสหรัฐอเมริกาแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์
รัฐบาลภายในหมู่เกาะฟิลิปปินส์

ใน พ.ศ. 2445 นายพลมาการิโอ ซากาย สมาชิกของกาตีปูนันได้จัดตั้งสาธารณรัฐกาตากูลากัน (ตากาล็อก: Repúbliká ng̃ Katagalugan) ที่ภูเขาดีมาซาลัง ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดริซัล และมีฟรานซิสโก การ์เรออนเป็นรองประธานาธิบดี[3] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2447 ซากายได้ประกาศสิทธิปกครองตนเองของฟิลิปปินส์ ซึ่งในเวลานั้น การเรียกร้องเอกราชถือเป็นอาชญากรรมสำหรับรัฐบาลอาณานิคมสหรัฐอเมริกา[4]

สาธารณรัฐนี้สิ้นสุดใน พ.ศ. 2449 เมื่อซากายและผู้นำของรัฐถูกสหรัฐจับกุมและประหารชีวิต ผู้รอดชีวิตบางส่วนหนีไปญี่ปุ่นเข้าร่วมกับอาร์เตมีโอ รีการ์เต สมาชิกกาตีปูนันที่ลี้ภัยออกไป และต่อมา ได้ร่วมสนับสนุนสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 ที่ญี่ปุ่นสนับสนุนระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Guerrero, Milagros; Encarnacion, Emmanuel; Villegas, Ramon (2003), "Andrés Bonifacio and the 1896 Revolution", Sulyap Kultura, National Commission for Culture and the Arts, 1 (2): 3–12, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-11, สืบค้นเมื่อ 2017-01-08
  2. Guerrero, Milagros; Schumacher, S.J., John (1998), Reform and Revolution, Kasaysayan: The History of the Filipino People, vol. 5, Asia Publishing Company Limited, ISBN 962-258-228-1
  3. Kabigting Abad, Antonio (1955). General Macario L. Sakay: Was He a Bandit or a Patriot?. J. B. Feliciano and Sons Printers-Publishers.
  4. Flores, Paul (August 12, 1995). "Macario Sakay: Tulisán or Patriot?". Philippine History Group of Los Angeles. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08.