สสารเสื่อม
สสารสถานะซ้อน (อังกฤษ: Degenerate matter) คือสสารที่มีความหนาแน่นสูงมากอย่างยิ่งยวดจนกระทั่งองค์ประกอบแรงดันส่วนใหญ่ทำให้เกิดหลักการกีดกันของเพาลี[1] แรงดันที่รักษาเอาไว้ภายในสสารเสื่อมนี้เรียกว่า "แรงดันสถานะซ้อน" (degeneracy pressure) และเพิ่มขึ้นเนื่องจากหลักของเพาลีทำให้อนุภาคที่เป็นองค์ประกอบไม่สามารถดำรงสถานะควอนตัมเดียวกันได้ การพยายามบีบให้อนุภาคเหล่านั้นเข้าใกล้กันมาก ๆ เสียจนไม่สามารถจะแยกสถานะของตัวเองออกจากกันทำให้อนุภาคเหล่านั้นต้องอยู่ในระดับพลังงานที่ต่างกัน ดังนั้นการลดปริมาตรลงจึงจำเป็นต้องทำให้อนุภาคทั้งหลายเข้าไปสู่สถานะควอนตัมที่มีระดับพลังงานที่สูงกว่า ซึ่งต้องอาศัยแรงบีบอัดเพิ่มขึ้น ทำให้มีแรงดันต่อต้านอย่างชัดเจน
สสารสถานะซ้อนแบบต่าง ๆ[แก้]
- สสารสถานะซ้อนอิเล็กตรอน
- สสารสถานะซ้อนโปรตอน
- สสารสถานะซ้อนนิวตรอน
- สสารสถานะซ้อนควาร์ก หรือ สสารควาร์ก
- สสารสถานะซ้อนพรีออนในสมมุติฐาน
- ซิงกูลาริตี้
ดูเพิ่ม[แก้]
- ดาวแคระขาว
- ดาวนิวตรอน
- ดาวควาร์ก—สสารควาร์ก
- ดาวพรีออน—พรีออน
- หลักการกีดกันของเพาลี
- หลักความไม่แน่นอน
- นิวโตรเนียม
- แรงดันสภาพซ้อนสถานะของอิเล็กตรอน
- สสารนิวเคลียร์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ An Introduction to Modern Astrophysics §16.3 "The Physics of Degenerate Matter- Carroll & Ostlie, 2007, Second edition. ISBN 0-8053-0402-9
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับฟิสิกส์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ฟิสิกส์ |