ข้ามไปเนื้อหา

สวนพุทธสมฤติ

พิกัด: 25°36′24″N 85°8′10″E / 25.60667°N 85.13611°E / 25.60667; 85.13611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวนสาธารณะพุทธสมฤติ (Buddha Smriti Park)
बुद्ध स्मृति पार्क
สวนพุทธรำลึก
ปาฏลีบุตรกรุณาสถูป (Patliputra Karuna Stupa) สถูปภายในสวน
สวนพุทธสมฤติตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
สวนพุทธสมฤติ
ประเภทสวนนคร
ที่ตั้งถนนเฟรเซอร์, ปัฏนา, ประเทศอินเดีย
พิกัดภูมิศาสตร์25°36′24″N 85°8′10″E / 25.60667°N 85.13611°E / 25.60667; 85.13611
พื้นที่22 เอเคอร์[1]
ผู้ดำเนินการBihar Urban Infrastructure Development Corporation[2]
เวลาให้บริการตลอดปี
สถานะเปิดให้บริการ
ค่าก่อสร้าง125 โคร (531.7 ร้อยล้านบาท)[3]
เว็บไซต์buddha-smriti-park.com

สวนพุทธสมฤติ (อังกฤษ: Buddha Smriti Park) หรือ สวนพุทธะเมโมเรียล (อังกฤษ: Buddha Memorial Park) เป็นสวนสาธารณะในเมืองตั้งอยู่บนถนนเฟรเซอร์ ใกล้กับแยกปัฏนาในเมืองปัฏนา ประเทศอินเดีย[1] สวนนี้ออกแบบโดยวิกรม ลัลล์ (Vikram Lall)[4] และพัฒนาโดยรัฐบาลรัฐพิหาร[5] สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2554 ปีแห่งพระโคตมพุทธเจ้า โดยมีทาไลลามะองค์ที่ 14 เป็นองค์ประธานเสด็จฯ เปิดสวนอย่างเป็นทางการ[6]

พื้นที่ที่สร้างสวนนั้นในอดีตเป็นที่ตั้งของคุกกลางบันกิปุระ (Bankipur Central Jail) ในสมัยสหราชอาณาจักร หลังคุกแห่งใหม่สร้างขึ้นที่ย่านเบอูร์ (Beur) ชานเมืองปัฏนา คุกนี้จึงหมดความจำเป็นลง[7] มุขยมนตรีประจำรัฐพิหาร นิติษ กุมาร (Nitish Kumar) เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดในการสวนนี้ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2010 ผู้นำจิตวิญญาณทิเบต องค์ทาไลลามะได้เสด็จมาเปิดสวนนี้อย่างเป็นทางการ[8] และทรงปลูกกล้าไม้ของต้นโพธิ์อันศักสิทธิ์สองต้น ต้นหนึ่งทรงนำมาจากโพธคยาและอีกต้นหนึ่งนำมาจากอนุราธปุระ ในประเทศศรีลังกา[8][9] สถูปใจกลางสวนนั้นมีชื่อว่าปาฏลีบุตรกรุณาสถูป (Patliputra Karuna Stupa) มีความสูง 200 ฟุต[10] ภายในประดิษฐานพระพุทธสรีรังคาร ซึ่งเคยจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ปัฏนา และขุดค้นพบมาจากเมืองไวสาลี นอกจากนี้ภายในสวนยังมีพิพิธภัณฑ์[11] ซึ่งจัดแสดงเรลิกในศาสนาพุทธที่มาจากประเทศญี่ปุ่น, ประเทศเมียนมาร์, ประเทศเกาหลีใต้, ประเทศศรีลังกา และ ประเทศไทย และภายในสวนยังมีหอนั่งสมาธิ[10] ซึ่งเก็บค่าเข้าที่ 20 รูปีอินเดีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Dalai Lama inaugurates Patna's Buddha Smriti Park". IANS. Deccen Herald. 27 May 2010. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  2. "Sobriety first for Buddhist conclave". telegraphindia.com. Yahoo News. 4 January 2013. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  3. AAROHI KESHAV (16 February 2011). "Odd timings keep monks away from Buddha park". The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  4. PTI (2017-05-09). "Art and culture reduced to a spectacle: Performing artistes". www.thehansindia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-03.
  5. Urban Development & Housing Dept BUDDHA SMRITI PARK เก็บถาวร 2016-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bihar Urban
  6. Dalai Lama inaugurates Buddha Smriti Park in Patna The Hindu. Retrieved May 27, 2010
  7. "'Patna has lost its charm'". B K Mishra, TNN. The Times of India. 6 May 2012. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  8. 8.0 8.1 "Dalai Lama Inaugurates Buddha Park". dalailama.com. 28 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-04. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  9. Sacred tree sapling planted at Patna s Buddha park เก็บถาวร 2013-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Times of India. Retrieved Nov 16, 2010
  10. 10.0 10.1 "High end star hotel behind Patna's Buddha memorial park mooted". Pranava Kumar Chaudhary, TNN. The Times of India. 6 March 2013. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  11. "Rs 25-cr Buddha museum opened". The Times of India. 14 September 2013. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.