สระพังทอง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
สระพังทอง เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ อยู่ด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองสกลนคร สร้างขึ้นตามคติของขอมในสมัยก่อน เพื่อใช้ในการชลประทานหน้าแล้ง การขุดบ่อน้ำที่อยู่ไม่ลึกจากผิวดิน ย่อมเหนื่อยน้อยกว่าการขุดบ่อที่มีระดับน้ำใต้ดินลึกบริเวณดังกล่าวซึ่งใกล้หนองหานมากจึงเหมาะแก่การสร้างเขื่อน ย่อย ๆ ไว้ใช้หน้าแล้ง
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สกลนครเป็นสวนสาธารณะที่ชาวสกลนคร ใช้พักผ่อนในยามว่าง และใช้จัดงานลอยกระทง แข่งขันเรือยาว และงานรื่นเริงต่าง ๆ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ บาราย (สระน้ำในอารยธรรมขอม) เพราะขอมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในระบบชลประทานมากในอดีต (คำว่าสระพังทอง มาจากคำว่า ตระพัง มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรว่า “ตรฺพำง” (อ่านว่า ตรอเปียง) แปลว่า บ่อหรือสระน้ำที่ขุดขึ้น)
จากประวัติที่เคยเล่ากันมาแต่ในอดีตนั้น จะมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกกันว่า "ภูน้ำรอด" ที่วัดพระธาตุเชิงชุมนั้น ข้อสันนิษฐานก็คือ เดิมนั้นวัดพระธาตุเชิงชุมก็คือ อโรคยาศาลา (ของขอมที่สร้างในยุคนสมัยพระเจ้าชัยวรมัน) นั่นเองเพราะแดนดินถิ่นนี้ (สกลนคร) คาดว่าอารยธรรมขอมรวมทั้งอิทธพลขอมเรืองอำนาจมาก ดังจะปรากฏจากสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เช่น พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุดุม สะพานขอม ปราสาทขอมบ้านพันนา (สว่างแดนดิน) ล้วนแล้วแต่เป็นอารยธรรมขอมทั้งสิ้น "ภูน้ำรอด" ก็คือบ่อน้ำที่มีอุโมงค์น้ำส่งน้ำมาจาก "สระพังทอง" นั่นเอง มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อประชาชนมาตักน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้หากว่า คุถังตกลงไปแล้วให้ไปเก็บที่ "สระพังทอง" นั่นน่าจะมีส่วนจริง เพราะระหว่างบ่อน้ำภูน้ำรอดนี้มีอุโมงค์ส่งน้ำมาจาก บาราย "สระพังทอง"
ระบบส่งน้ำแบบนี้มีทั่วไปที่อิสานใต้ บริเวณรอบ ๆ ปราสาทเมืองต่ำ (จังหวัดบุรีรัมย์) จะมีสระน้ำ (บาราย) ขนาดใกล้เคียงกันมากกับ "สระพังทอง" แห่งนี้ คลองส่งน้ำหรืออุโมงค์ส่งน้ำนี้ เขมรเรียกว่า "ละลม" ความจริงตัวปราสาทขอมในจังหวัดสกลนครนั้นมีมากมาย แต่ในอดีตไม่มีใครทราบว่าคืออะไร จึงมีการทำลายและรื้อไป เช่น คุ้มกลางพระศรีธงชัย มีหลักฐานชัดเจนว่าเคยเป็น อโรคยาศาลา หรือ ธรรมศาลามาก่อน โดยสังเกตจากก้อนหินศิลาแลง ที่ยังวางทิ้งระเกะระกะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง แต่สันนิษฐานว่าใช่อย่างแน่นอน รวมทั้งในวัดพระธาตุเชิงชุมเอง ในอดีตจะมีหินศิลาแลง วางรอบ ๆ ตัวองค์พระธาตุ ปัจจุบันได้ถูกรื้อไปวางและเก็บไว้หน้ากุฏิ พระอาจารย์สมศักดิ์ฯ ในวัดพระธาตุเชิงชุมนั่นเอง