ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีดรากาแห่งเซอร์เบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีดรากาแห่งเซอร์เบีย

ดรากีจา มิโครวิช ลุยจิเคีย

สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งเซอร์เบีย
สมเด็จพระราชินีแห่งเซอร์เบีย
ประสูติ11 กันยายน พ.ศ. 2407
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย
สวรรคต11 มิถุนายน พ.ศ. 2446 (38 พรรษา)
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย
พระราชสวามีเซโตเรส มาซิน
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย

สมเด็จพระราชินีมาเรียแห่งเซอร์เบีย
ราชวงศ์ราชวงศ์โอเบรโนวิก
พระราชบิดาเพนเตลิจา ลุยจิเคีย
พระราชมารดาอินจาโคโรวิช

สมเด็จพระราชินีดรากาแห่งเซอร์เบีย (อังกฤษ: Draga Mašin)

พระราชประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระราชินีดรากา ทรงมีพระนามเดิมว่า ดรากีจา มิโครวิช ลุยจิเคีย หรือพระนามลำลองว่า ดรากา เสด็จพระราชสมภพ ณ ราชอาณาจักรเซอร์เบีย เป็นธิดาใน เพนเตลิจา ลุยจิเคีย กับ อินจาโคโรวิช พระราชบิดาของพระองค์เป็นนายอำเภอเมืองแอนโดรวิช โดยพระองค์ทรงมีพระพี่น้อง 7 คน พระองค์เป็นคนที่ 6 โดยพระราชมารดาของพระองค์เสียชีวิตจากอาการติดสุรา

สมเด็จพระราชินีแห่งเซอร์เบีย

[แก้]

พระองค์ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งเซอร์เบีย โดยได้รับการสถนาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีดรากาแห่งเซอร์เบีย โดยก่อนที่ทั้ง 2 จะเสกสมรสกับ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ได้มีพระราชดำรัสต่อหน้าประชาชนเรื่องทรงหมั้นกับสามัญชนนคนนี้ แต่เป็นกระแสวิพากษ์เป็นอย่างมากด้วยเหตุความไม่เหมาะสม ซึ่ง สมเด็จพระราชินีนาตาลีแห่งเซอร์เบีย พระราชมารดาของพระราชสวามีคัดค้านเป็นอย่างมาก อันทรงพ้นถึงราชบัลลังก์ แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 2 สามารถพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้

เหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์

[แก้]

ผลโดยทั่วไปคือ วุฒิสภาได้รับการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีมากที่สุดและรัฐบาลก็ได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งทั่วไป พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ไม่ทรงลังเลอีกต่อไปโดยทรงประกาศให้พระเชษฐาของสมเด็จพระราชินีดรากาดำรงเป็นรัชทายาทโดยสมมติ ทั้งๆที่มีการตกลงกับรัฐบาลเซอร์เบียไว้แล้วว่า เจ้าชายมีร์โกแห่งมอนเตเนโกร ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงนาตาลียา ตอนสแตนติโนวิกที่เป็นพระนัดดาในเจ้าหญิงอันกา โอเบรโนวิก ผู้ทรงมีศักดิ์เป็นพระปิตุจฉาในพระเจ้ามิลาน ควรจะเป็นองค์รัชทายาทสืบต่อเมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์และสมเด็จพระราชินีดรากาทรงไร้รัชทายาท[1]

เห็นได้ชัดว่าเพื่อป้องกันไม่ให้พระเชษฐาของสมเด็จพระราชินีดรากาได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์รัชทายาท แต่ในความเป็นจริงเป็นการพยายามแทนที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ โอเบรโนวิกด้วยปีเตอร์ คาราดอร์เจวิก กลุ่มผู้ก่อการถูกจัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มทหารนำโดยดรากูทิน ดิมิทรีเจวิก ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามว่า "เอพิส" ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยจักรวรรดิรัสเซีย[2] และเอพิสเป็นหัวหน้าของสมาคมลับ แบล็กแฮนด์ องค์กรที่ต่อมาทำการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรียในปีค.ศ. 1914 นักการเมืองหลายคนก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อการและอดีตนายกรัฐมนตรีนิโกลา พาสิกก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดเช่นกัน[3] พระราชวังได้ถูกบุกรุก ทั้งสองพระองค์ทรงหลบซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้าในห้องบรรทมของสมเด็จพระราชินี และยังมีความเป็นไปได้อื่นอีกในละครโทรทัศน์ประวัติศาสตร์เซอร์เบีย เรื่อง "อวสานราชวงศ์โอเบรโนวิก" ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้หลบซ่อนในเซฟรูมที่ถูกซ่อนไว้หลังกระจกในห้องบรรทม ห้องได้มีทางเข้าลับที่จะนำออกนอกพระราชวังได้ แต่ทางเข้าไม่สามารถเข้าได้เนื่องจากตำแหน่งตู้เสื้อผ้าของสมเด็จพระราชินีได้ปิดทางไว้หลังงานพระราชพิธีอภิเษกสมรส

ผู้ก่อการได้ค้นหาทั่วพระราชวังและในที่สุดก็ค้นพบและปลงพระชนม์ทั้งสองพระองค์ในเช้าตรู่ของวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1903 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์และสมเด็จพระราชินีดรากาทรงถูกยิง พระศพถูกทำลายและถูกควักเอาเครื่องในออกมา ตามบันทึกของพยาน ร่างของทั้งสองพระองค์ได้ถูกโยนลงมาจากหน้าต่างชั้นสองลงสู่กองปุ๋ยคอกในสวนของพระราชวัง[3] ในคืนเดียวกัน พระเชษฐาของสมเด็จพระราชินีคือ นิโกดิเยและนิโกลา ลุนเยวิกาได้ถูกสังหาร นายกรัฐมนตรีนายพลดิมิทรีเย ซินซา-มาร์โกวิกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มิโลวาน ปาฟโลวิกถูกสังหารในที่พำนัก พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ขณะนั้นทางมีพระชนมายุ 26 พรรษา พระบรมศพของทั้งสองพระองค์ถูกฝังไว้ที่โบสถ์เซนต์มาร์ค กรุงเบลเกรด

เหรียญ

[แก้]
  1. Leroy, Pierre Olivier (2004). "Biography of Prince Mihajlo Petrovic Njegos". The Njegoskij Fund Public Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ September 28, 2007.
  2. C. L. Sulzberger, The Fall of Eagles, p.202, Crown Publishers, New York, 1977
  3. 3.0 3.1 Sulzberger, p.202
  4. Vhkcs