ข้ามไปเนื้อหา

ข่อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข่อย
Streblus asper Lour.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Utricales
วงศ์: Moraceae
สกุล: Streblus
สปีชีส์: S.  asper
ชื่อทวินาม
Streblus asper
Lour.

ข่อย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Streblus asper Lour.) มีชื่อทางการค้าคือ Siamese rough bush, Tooth brush tree ส่วนชื่อพื้นเมืองอื่นได้แก่ กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ข่อย (ทั่วไป), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี), ข่อย(ร้อยเอ็ด), สะนาย (เขมร)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ข่อยเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5–15 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้น ค่อนข้างคดงอ มีปุ่มปมอยู่รอบ ๆ ต้น หรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป อาจจะขึ้นเป็นต้นเดียว หรือเป็นกลุ่ม แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบาง ๆ มียางสีขาวเหนียวซึมออกมา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนาดเล็ก รูปใบรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2–3.5 เซนติเมตร ยาว 4–7 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อสีขาวเหลืองอ่อน ออกตามปลายกิ่ง ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน ผลสดกลม เมล็ดมีขนาดโตเท่าเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่จัดจะมีสีเหลือง ซึ่งมีรสหวาน นกจะชอบกินผลข่อย[1]

สรรพคุณทางยา

[แก้]
  • กิ่งข่อย ใช้ในการแปรง ฟันแทนแปรงสีฟันได้ แต่ต้องทุบให้นิ่มๆก่อน
  • เปลือก สามารถรักษาแผล แก้ท้องร่วง ดับพิษภายใน ทาริดสีดวงแก้พยาธิผิวหนัง และเมื่อต้มกับเกลือจะได้เป็นยาอมแก้รำมะนาด
  • ยาง มีน้ำย่อยชื่อ milk (lotting enzyme) ใช้ย่อยน้ำนม
  • ราก สามารถนำมารักษาแผลได้
  • แก่น / เนื้อ คนเชียงใหม่ใช้แก่นข่อยหั่นเป็นฝอยมวนเป็นบุหรี่สูบแก้ริดสีดวงจมูก
  • เมล็ด นำมารับประทานเป็นยาอายุวัฒนะได้ และทำให้เจริญอาหาร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ข่อย".