สนิท จันทรวงศ์
สนิท จันทรวงศ์ เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 3 สมัย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ดำรงตำแหน่งในขณะที่แยกจังหวัดอำนาจเจริญ
ประวัติ
[แก้]สนิท จันทรวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 จบการศึกษาคุรุศาสตรบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมศิลป์ จากวิทยาลัยครูอุบลราชธานี
การทำงาน
[แก้]สนิท จันทรวงศ์ เข้าสู่งานการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งยกทีม (สนิท จันทรวงศ์ ธีระชัย ศิริขันธ์ และธนา เมตตาริกานนท์) และได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ในสังกัดพรรคกิจสังคม เช่นเดิม
สนิท จันทรวงศ์ อยู่ในกลุ่มพระพาย ซึ่งย้ายไปร่วมงานกับพรรคความหวังใหม่[1] ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 ในนามพรรคความหวังใหม่ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอม่วงสามสิบ, อำเภอเขื่องใน, อำเภออำนาจเจริญ, อำเภอพนา, อำเภอหัวตะพาน และ กิ่งอำเภอลืออำนาจ ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญขึ้น ส่งผลให้นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายวิฑูรย์ นามบุตร และนายสนิท จันทรวงศ์ จึงเป็น ส.ส.ชุดแรกของจังหวัดอำนาจเจริญ
ในปี 2544 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการเลือกตั้งใหม่ตามมติ กกต.[2]
สนิท จันทรวงศ์ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาทิ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.77kaoded.com/news/tawee/226171
- ↑ https://www.ryt9.com/s/refg/246619
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘