สถาบันอายุรเวทแห่งชาติ (อินเดีย)
ประเภท | มหาวิทยาลัยอายุรเวทที่ได้รับการรับรอง |
---|---|
สถาปนา | 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 |
อธิบดี | ศาสตราจารย์ สันชีพ ศรมา (प्रो संजीव शर्मा |
ผู้ศึกษา | 705 (พ.ศ. 2563)[1] |
ปริญญาตรี | 349[1] |
บัณฑิตศึกษา | 307[1] |
49[1] | |
ที่ตั้ง | |
วิทยาเขต | ในเมือง |
เว็บไซต์ | www |
สถาบันอายุรเวทแห่งชาติ (ฮินดี: राष्ट्रीय आयुर्वेद संस्थान; อังกฤษ: National Institute of Ayurveda; คำย่อ: NIA) เป็นสถาบันวิจัยการแพทย์ทางเลือกแบบอายุรเวท ตั้งอยู่ที่เมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย
ประวัติ
[แก้]สถาบันก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 โดยยุคแรกเป็นวิทยาลัยเฉพาะทางด้านอายุรเวทในสังกัดรัฐบาลของรัฐราชสถาน ต่อมารัฐบาลอินเดียได้ยกระดับเป็นสถาบันอายุรเวทแห่งชาติ[2] ซึ่งสถาปนาขึ้นในเมืองชัยปุระเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ในฐานะสถาบันอิสระ และเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 รัฐบาลอินเดียประกาศว่า NIA ถือเป็นมหาวิทยาลัยในหมวดริเริ่มใหม่ (de-novo) ซึ่งให้บริการการสอน การฝึกอบรมทางคลินิก การทำวิจัย และการให้บริการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพในสาขาการแพทย์ทางเลือกแบบอายุรเวทในประเทศอินเดีย[3][4]
สถาบันนี้ถูกกำหนดโดยกระทรวงอายุษ (ฮินดี: आयुष मंत्रालय; อังกฤษ: Ministry of AYUSH) ให้เป็นหนึ่งในเก้าสถาบันระดับชาติที่จัดตั้งขึ้นในอินเดีย สำหรับการฝึกอบรมและการวิจัยเกี่ยวกับระบบการแพทย์อายุษ[a] (ฮินดี: आयुष; อังกฤษ: AYUSH)[5] สถาบันเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีการแพทย์แบบอายุรเวทและศัลยศาสตร์ (BAMS), ประกาศนียบัตรบัณฑิตแพทยศาสตร์ (อายุรเวท) และประกาศนียบัตรหลังปริญญาเอก (อายุรเวท) ใน 14 สาขา
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ประกอบด้วย อายุรเวท, โยคะและธรรมชาติบำบัด, ยูนอนี, สิทธะ, โฮมีโอพาธี (Ayurveda, Yoga & Naturopathy, Unani, Siddha, Homeopathy)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "NIRF 2020" (PDF). National Institute of Ayurveda.
- ↑ "History, Aims and Objectives". NIA website.
- ↑ "National Institute of Ayurveda (NIA) Jaipur". Department of AYUSH, Govt. of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ธันวาคม 2012.
- ↑ "NATIONAL INSTITUTE OF AYURVEDA". nia.nic.in. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2021.
- ↑ "AYUSH: National Institutes". Government of India portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012.