สถานีไชนาทาวน์ (สิงคโปร์)

พิกัด: 1°17′06″N 103°50′38″E / 1.2849°N 103.84396°E / 1.2849; 103.84396
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 NE4  DT19 
สถานีไชนาทาวน์
牛车水
சைனாடவுன்
Chinatown
สถานีรถไฟฟ้า
ทางออกสถานีไชนาทาวน์ สายดาวน์ทาวน์
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งเลขที่ 151 ถนนสะพานใหม่
เลขที่ 91 ถนนอัปเปอร์ครอส
สิงคโปร์
พิกัด1°17′06″N 103°50′38″E / 1.2849°N 103.84396°E / 1.2849; 103.84396
ผู้ให้บริการเอสบีเอสแทรนสิต
สาย
ชานชาลาชานชาลาเกาะกลาง (สายเหนือ-ตะวันออก)
ชานชาลาด้านข้าง (สายดาวน์ทาวน์)
ราง4
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทาง, รถแท็กซี่
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ระดับชานชาลา3
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี NE4  DT19 
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ20 มิถุนายน ค.ศ. 2003 (สายเหนือ-ตะวันออก)
22 ธันวาคม ค.ศ. 2013 (สายดาวน์ทาวน์)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถานีต่อไป
ออตรัมปาร์ก สายตะวันออกเฉียงเหนือ คลาร์กคีย์
มุ่งหน้า ปังกอล
ทีล็อก อาเยอร์
มุ่งหน้า บูกิตปันจัง
สายดาวน์ทาวน์ ฟอร์ดแคนนิง
มุ่งหน้า เอ็กซ์โป
ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร
ชานชาลาสายเหนือ-ตะวันออก

สถานีไชนาทาวน์ (NE4/DT19) (อังกฤษ: Chinatown MRT Station) เป็นสถานีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสิงคโปร์ บนสายเหนือ-ตะวันออก ระหว่างสถานีอูทรัม-สถานีคลาร์กคีย์ และสายดาวน์ทาวน์ ระหว่างสถานีเตอลกอาเยร์-สถานีฟอร์ตแคนนิง (ทางตอนที่สั้นที่สุดของสาย) ตัวสถานีตั้งอยู่ในเขตชุมชนจีนหนาแน่น การก่อสร้างจึงเต็มไปด้วยความยากลำบาก

สถานีไชนาทาวน์ เป็นสถานีปลายทางของสายดาวน์ทาวน์ ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2013 จนถึงปี ค.ศ. 2017 ซึ่งจะเปลี่ยนสถานีปลายทางไปเป็นสถานีเอ็กซ์โป

งานศิลปะในตัวสถานี[แก้]

สายเหนือ–ตะวันออก[แก้]

มีภาพตัวอักษรจีนในสถานี เขียนว่า "ดวงตาของฟีนิกซ์" เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับชุมชนชาวจีนบริเวณนั้น ภาพนี้วาดโดยศิลปินชาวสิงคโปร์ ตัน สเวีย เฮียน[1]

สายดาวน์ทาวน์[แก้]

มีภาพชื่อว่า "สีบินได้" วาดโดย โช ชัย เฮียง บอกเล่าเกี่ยวกับการเข้ามาทำงานในเมืองของผู้คนต่าง ๆ[2]

ประวัติ[แก้]

สถานีในส่วนของสายเหนือ-ตะวันออก เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2003 ตั้งอยู่ใต้ถนนอู ตง เซง และถนนสะพานใหม่ ส่วนสถานีของสายดาวน์ทาวน์ เริ่มก่อสร้างเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2013 เป็น 1 ใน 6 สถานีเริ่มแรกของสายดาวน์ทาวน์ ตั้งอยู่ใต้ถนนตัด ชานชาลาและทางรถไฟอยู่เหนือและตั้งฉากกับชานชาลาและทางรถไฟของสายเหนือ-ตะวันออกพอดี มีทางเข้าสถานีแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้กับฮงลิมคอมเพล็กซ์[3]

การก่อสร้าง[แก้]

สถานีไชนาทาวน์ เป็นหนึ่งในสถานีที่ก่อสร้างยากที่สุดในสายเหนือ-ตะวันออก เนื่องจากมีสิ่งก่อสร้างในบริเวณนั้นเป็นจำนวนมาก[4] อีกทั้งยังจำเป็นต้องอนุรักษ์สะพานการ์เด้นอันเก่าแก่อีกด้วย

แผนผังสถานี[แก้]

L1 ระดับถนน
B1
ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร เครื่องตรวจบัตรโดยสาร, ศูนย์ให้บริการผู้โดยสาร
B2
ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร เครื่องตรวจบัตรโดยสาร, ศูนย์ให้บริการผู้โดยสาร
ชานชาลาด้านข้าง ไม่เปิดใช้งาน
ชานชาลา บี สายดาวน์ทาวน์ (กำลังก่อสร้าง)มุ่งหน้า  DT35  CG1  เอ็กซ์โป สถานีถัดไป  DT20  ฟอร์ดแคนนิง (→)
ชานชาลา เอ สายดาวน์ทาวน์ มุ่งหน้า  DT14  EW12  บูกิส สถานีถัดไป  DT18  เตอลอกเอเยอร์ (←)
สายดาวน์ทาวน์ (กำลังก่อสร้าง) มุ่งหน้า  DT1  BP6  บูกิตปันจัง สถานีถัดไป  DT18  เตอลอกเอเยอร์ (←)
ชานชาลาด้านข้าง ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
B3 ชานชาลา เอ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า  NE1  CC29  ฮาร์เบอร์ฟรอนต์ สถานีถัดไป  NE3  EW16  ออตรัมปาร์ก (→)
ชานชาลาเกาะกลาง ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา บี สายตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้า  NE17  PTC  ปุงกล สถานีถัดไป  NE5  คลาร์กคีย์ (←)
ทางเดินเชื่อม ไปยังชานชาลา เอ ของสายดาวน์ทาวน์

ทางออก[แก้]

  • A: ย่านชุมชนชาวจีน
  • C: สะพานการ์เด้น
  • D: สวนประชาชน
  • E: ตลาดฮงลิม, ไชนาทาวน์พอยต์

เวลาที่ให้บริการ[แก้]

สถานีปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
จันทร์ – ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
และวันหยุดราชการ
ทุกวัน
สายตะวันออกเฉียงเหนือ
NE1 ฮาร์เบอร์ฟรอนต์ 6.10 6.09 6.30 23.55
NE17 ปุงกล 6.03 6.05 6.25 0.00
สายดาวน์ทาวน์
DT14 บูกิส 6.15 6.15 6.35 0.00

สมุดภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "NE4 - Chinatown". SBS Transit. สืบค้นเมื่อ 16 October 2013.
  2. "Downtown Line 1: Art-In-Transit" (PDF). Land Transport Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-23. สืบค้นเมื่อ 16 October 2013.
  3. "Chinatown Station". Land Transport Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07.
  4. Other Rail Projects - North East Line, Land Transport Authority

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]